สศช.เคาะโครงการฟื้นฟูลอตแรก 8 หมื่นล้าน เสนอ ครม. 8 ก.ค.นี้

กรุงเทพฯ 26 มิ.ย.-สศช.เผยโครงการขอใช้เงินตาม พ.ร.ก.กู้เงิน 400,000 ล้านบาท ลอตแรกจะเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. 8 ก.ค.นี้ คาดจะปรับลดวงเงินจากที่ขอเข้ามา 110,000 ล้านบาท เหลือประมาณ 70,000-80,000 ล้านบาท ส่วนลอต 2-3 จะนำเสนอ ครม.เดือน ส.ค.และ ก.ย.ตามลำดับ


นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงความก้าวหน้าการดำเนินการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากผลกระทบของโควิด-19 กรอบวงเงิน 400,000 ล้านบาท ภายใต้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563 ว่า จากจำนวนข้อเสนอโครงการแผนงาน รวมทั้งสิ้นกว่า 46,429 โครงการ เป็นเงินกว่า 1.456 ล้านล้านบาท ข้อมูล ณ วันที่ 24 มิถุนายน 2563  นั้น

นายทศพร กล่าวว่า สศช.พิจารณารอบแรกเสร็จเมื่อเวลา 02.00 น.เช้าวันนี้ (26 มิ.ย.) มีข้อเสนอโครงการที่ผ่านการพิจารณา 213 โครงการ รวมวงเงินประมาณ 101,482.28 ล้านบาท แบ่งเป็น 3 แผนงาน คือ แผนงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานราก 58,069.70  ล้านบาท และแผนงานสร้างความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน 20,989.81 ล้านบาท และแผนงานกระตุ้นอุปโภค บริโภค และการกระตุ้นการท่องเที่ยว วงเงิน 22,422.77 ล้านบาท  อย่างไรก็ตาม ทาง สศช.และคณะอนุกรรมการจะพิจารณารกลั่นกรองพิจารณาอีกครั้ง คาดว่าวงเงินจะลดลงเหลือประมาณ 70,000-80,000  ล้านบาท จากนั้นจะเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 8 กรกฎาคมนี้ ส่วนโครงการชุดที่ 2-3 จะดำเนินการนำเสนอ ครม.เดือนสิงหาคมและกันยายนต่อไปตามลำดับ โครงการที่ผ่านมาการพิจารณาชุดแรกนี้ คาดว่าจะก่อให้เกิดผลต่อระบบเศรษฐกิจเกิดมูลค่าผลผลิตใหม่อย่างน้อยเกือบ ๆ  2  เท่า จ้างงานประมาณ 410,415 คน สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน/ตำบล 79,604  หมู่บ้าน 3,000 ตำบล


นายดนุชา พิชยนันท์ รองเลขาธิการ สศช. กล่าวถึงโครงการที่ไม่ผ่านการพิจารณาของ สศช.ว่า คณะอนุกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่าโครงการที่เสนอมาบางอันแม้ชื่อโครงการดูดี แต่รายละเอียดเมื่อพิจารณากลับพบว่าไม่ก่อให้เกิดการจ้างงานหรือสร้างอาชีพ และบางโครงการเงินที่จ่ายออกไปผู้ได้รับเงินคือ กิจการเอกชน 

สำหรับโครงการอนุมัติรอบแรกจะเริ่มดำเนินการเดือนกรกฎาคม 2563 มีโครงการสำคัญตามเป้าหมาย 3 ประการ ได้แก่ เป้าหมายที่ 1 การสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานรากและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ 1. เพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานราก อาทิ โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” (แผนงาน 3.2) มูลค่า 4,953.79 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะจ้างงานเกษตรกรราว 9,188 คน โครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการ (แผนงาน 3.2) ซึ่งเป็นการใช้ Big Data เพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำและความยากจน มูลค่า 2,701.88 ล้านบาท โดยคาดว่าจะจ้างงานประชาชนในพื้นที่ประมาณ 14,510 คน  โครงการอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (แผนงาน 3.2)  มูลค่า 1,080.59 ล้านบาท จ้างงานประชาชนประมาณ 15,548 คน ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงจำนวน 710,518 คน 

2. เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (แผนงาน 3.4) ซึ่งจะมุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งส่วนที่เป็นปัจจัยการผลิตและการดำรงชีพของประชาชน รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางดิจิทัล ประยุกต์ใช้ในการสนับสนุนและรองรับการพัฒนาฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานราก เพิ่มศักยภาพและยกระดับสาขาเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ โดยเฉพาะการสนับสนุนให้เกษตรกรทุกพื้นที่สามารถจำหน่ายสินค้าเกษตรให้กับผู้บริโภคได้โดยตรง และผู้บริโภคก็ซื้อสินค้าเกษตรได้โดยตรงเช่นกัน โดยรอบแรกจะบูรณาการแผนงาน/โครงการของหน่วยงานทั้งในส่วนจังหวัดและส่วนราชการ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่ทำหน้าที่ส่งเสริมกิจการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์ม เช่น สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น รวมทั้งประสานหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับระบบโลจิสติกส์ อาทิ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และการรถไฟแห่งประเทศไทย  


เป้าหมายที่ 2 การลงทุนเพื่อสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนในอนาคต อาทิ โครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด (แผนงาน 3.1) มูลค่า 13,904.50 ล้านบาท คาดว่าจะสร้างรายได้ให้เกษตรกรประมาณ 8,293.43 ล้านบาท โครงการสร้างความเข้มแข็งศูนย์ข้าวชุมชน มูลค่า 900.00 ล้านบาท คาดว่าจะสร้างงานให้เกษตรกรประมาณ 600 คน  ศูนย์นวัตกรรมการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรมการเกษตร อาหารและการแพทย์ (แผนงาน 3.1) มูลค่า 1,264.40 ล้านบาท คาดว่าจะทำให้เกิดการจ้างงานประมาณ 2,500 คน และโครงการยกระดับนวัตกรรมแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์สู่ตลาด ท่องเที่ยวคุณภาพตามวิถีนิวนอมอล (Innovative CBT for New Normal) (แผนงาน 3.1) มูลค่า 460 ล้านบาท โดยคาดว่าจะกระจายรายได้สู่ชุมชน นักศึกษา/บัณฑิตตกงานและผู้ประกอบการประมาณ 65 ล้านบาท 

เป้าหมายที่ 3 กระตุ้นการอุปโภคบริโภค การท่องเที่ยวในประเทศ (แผนงาน 3.3) ประกอบด้วย  โครงการ “เราไปเที่ยวกัน” โครงการ “เที่ยวปันสุข” และโครงการ “กำลังใจ”  รวมมูลค่า 22,400 ล้านบาท โดยคาดว่าจะสามารถเพิ่มรายได้ให้กับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้ประมาณ 52,400 ล้านบาท.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ตึกถล่มพบเสียชีวิตเพิ่ม

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่าง

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ในพื้นที่โซน B และโซน C มีซากอาคารถล่มทับร่างอยู่ ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่างและค้นหาผู้สูญหายใต้ซากอาคารต่อเนื่อง

ชายวัย 50 ไหว้ขอโทษ ไม่มีเจตนากุเรื่องเมียท้อง 4 เดือน ติดใต้ซากตึก สตง.

ชายวัย 50 ปี ยกมือไหว้ขอโทษ ไม่มีเจตนากุเรื่องภรรยาท้อง 4 เดือน ติดใต้ซากอาคาร สตง.ถล่ม ด้านรอง ผบช.น. เตือนอย่าใช้โอกาสที่มีผู้ประสบเหตุสร้างความสงสารหลอกเอาทรัพย์สิน มีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน

ออกแล้ว! ผลตรวจเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่ม พบไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น

ผลตรวจตัวอย่างเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่มจากแผ่นดินไหว พบได้มาตรฐาน 15 ชิ้น ไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น ยังไม่สรุปเป็นสาเหตุตึกถล่ม ชี้ต้องดูหลายองค์ประกอบ

ข่าวแนะนำ

พ่อขอของขวัญวันเกิดให้ลูกชายรอดชีวิตจากตึก สตง.ถล่ม

พ่อของหนุ่มขอนแก่น วัย 35 ปี หนึ่งในผู้สูญหายจากอาคาร สตง.ถล่ม ขอของขวัญวันเกิดให้ลูกชายรอดชีวิต ส่วนหนุ่มช่างประปา วัย 32 ปี เหยื่อตึก สตง.ถล่ม เผาแล้ว แม่ยังทำใจไม่ได้ สะอื้นไห้หน้าเมรุ

“ชัชชาติ” เผยเตรียมกู้ 5 ร่างที่พบ-ขนย้ายชิ้นส่วนอาคารแล้ว 100 ตัน

ผู้ว่าฯ กทม. เผยเตรียมกู้ 5 ร่าง จาก 14 ร่างที่พบ ขนย้ายชิ้นส่วนอาคารแล้ว 100 ตัน ยันไม่ขีดเส้นตายหยุดช่วยเหลือ ปรับแผนเพิ่มการรื้อถอนด้วยเครื่องจักรหนักควบคู่ไปมากขึ้น