ศาลเผยสถิติคดีผู้กระทำผิดฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ในสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19

กรุงเทพฯ 10 เม.ย.- เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม เผยสถิติคดีผู้กระทำผิดฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ในสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 พร้อมบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด แต่ไม่ละเลยสิทธิและเสรีภาพของจำเลย 


นายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม เปิดเผยข้อมูลสถิติคดีความผิดตามพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ที่เข้าสู่การพิจารณาของศาลชั้นต้นทั่วประเทศ ซึ่งศูนย์ข้อมูลคดี สำนักแผนงานและงบประมาณ สำนักงานศาลยุติธรรม ได้รวบรวมสถิติคดีดังกล่าวภายหลังรัฐบาลประกาศเคอร์ฟิว ห้ามบุคคลใดออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา 22.00 น. ถึงเวลา 04.00 น. โดยไม่มีความจำเป็น ตั้งแต่เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา เพื่อลดการสัญจรของพี่น้องประชาชนและเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่หรือโควิด-19  โดยพบว่าในวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๖๓ มีสถิติคดีผู้กระทำความผิด ดังนี้

กลุ่มศาลอาญา ศาลจังหวัด และศาลแขวง  จำนวนคดีที่ขึ้นสู่การพิจารณา ทั้งหมด 1,213 คดี จำนวนคดีที่พิพากษาแล้วเสร็จ ทั้งหมด 1,113 คดี (คิดเป็นร้อยละ 91.76) ข้อหาที่มีการกระทำความผิด 3.1) พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 จำนวน 1,312 คน  (สัญชาติไทย 1,245 คน / สัญชาติอื่น 67 คน) 3.2) พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 จำนวน 27 คน  (สัญชาติไทย 22 คน / สัญชาติอื่น 5 คน) 


จังหวัดที่มีผู้กระทำความผิด สูงสุด 3 อันดับ ในแต่ละข้อหา

 4.1) พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 อันดับ 1 จังหวัด กรุงเทพมหานคร จำนวน 111 คน อันดับ 2 จังหวัดนนทบุรี จำนวน   87 คน อันดับ 3 จังหวัด นครราชสีมา  จำนวน   65 คน

4.2) พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 อันดับ 1 จังหวัด ชลบุรี จำนวน  16 คน อันดับ 2 จังหวัด สมุทรสาคร จำนวน  5 คน อันดับ 3 จังหวัด สระแก้ว  จำนวน    2 คน


กลุ่มศาลเยาวชนและครอบครัว    1. จำนวนคำร้องที่ขอตรวจสอบการจับ รวมทั้งสิ้น 76 คำร้อง   2. ข้อหาที่เข้าสู่การตรวจสอบจับกุม ได้แก่ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 จำนวน 80 คน (สัญชาติไทย 75 คน / สัญชาติอื่น 5 คน) 3. ผลการตรวจสอบการจับ ชอบด้วยกฎหมาย จำนวน 80 คน

ในส่วนของภาพรวมสถิติคดีสะสมภายหลังประกาศเคอร์ฟิว 7 วัน (3 – 9 เมษายน 2563) มีดังนี้

กลุ่มศาลอาญา ศาลจังหวัด และศาลแขวง  

1.  จำนวนคดีที่ขึ้นสู่การพิจารณา ทั้งหมด 5,071 คดี

2.  จำนวนคดีที่พิพากษาแล้วเสร็จ ทั้งหมด 4,830 คดี (คิดเป็นร้อยละ 95.19)

3.  ข้อหาที่มีการกระทำความผิด

3.1) พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 จำนวน 5,504 คน  (สัญชาติไทย 5,197 คน / สัญชาติอื่น 307 คน)

3.2) พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558  จำนวน 40 คน  (สัญชาติไทย 35 คน / สัญชาติอื่น 5 คน)

3.3) พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 จำนวน 1 คน  (สัญชาติไทย 1 คน / สัญชาติอื่น  –  คน)

4.  จังหวัดที่มีผู้กระทำความผิด สูงสุด 3 อันดับ ในแต่ละข้อหา

4.1) พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548  อันดับ 1 จังหวัด กรุงเทพมหานคร จำนวน  334 คน อันดับ 2 จังหวัด ปทุมธานี จำนวน  303 คน อันดับ 3 จังหวัด ภูเก็ต จำนวน  255 คน

4.2) พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 อันดับ 1 จังหวัด ชลบุรี จำนวน    19 คน อันดับ 2 จังหวัด สมุทรสาคร จำนวน    11 คน อันดับ 3 จังหวัด บุรีรัมย์ จำนวน      3 คน

4.3) พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ได้แก่ จังหวัด นราธิวาส จำนวน 1  คน

กลุ่มศาลเยาวชนและครอบครัว

1. จำนวนคำร้องที่ขอตรวจสอบการจับ รวมทั้งสิ้น 322 คำร้อง

2. ข้อหาที่เข้าสู่การตรวจสอบจับกุม

2.1) พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548  จำนวน 326 คน (สัญชาติไทย 315 คน / สัญชาติอื่น 11 คน)

2.2) พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 จำนวน 3 คน (สัญชาติไทย 3 คน / สัญชาติอื่น  –  คน)

3. ผลการตรวจสอบการจับ จำนวน 331 คน

3.1) ชอบด้วยกฎหมาย จำนวน 329 คน

3.2) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำนวน 2 คน

เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยผู้ฝ่าฝืน พรก. ฉุกเฉิน นั้น แม้ว่าศาลจะคำนึงถึงสถานการณ์ความปลอดภัยสาธารณะในช่วงนี้ แต่ก็ไม่ละเลยสิทธิและเสรีภาพของจำเลย ศาลจะบังคับใช้กฎหมายอย่างถึงที่สุดหรืออาจจะกักขังในเคหะสถานโดยติดกำไลข้อเท้าอิเล็กทรอนิกส์ (EM) เพื่อกำกับและติดตามความประพฤติตามคำสั่งศาล ซึ่งที่ผ่านมา ส่วนควบคุมการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทางของบุคคลผู้ได้รับการปล่อยชั่วคราวโดยศาล หรือ “ศูนย์ EM” ได้มีการจัดเวรผู้ปฏิบัติงานในศูนย์ช่วงเวลากลางคืนทำการตรวจสอบผู้สวมใส่กำไลข้อเท้าอิเล็กทรอนิกส์ (EM) และได้ตรวจสอบพบว่า ในช่วงระหว่างวันที่ 5 – 9 เมษายน 2563 เวลา 22.00 – 4.00 น. มีผู้สวมใส่กำไลข้อเท้าอิเล็กทรอนิกส์ (EM) ใช้ความเร็วในการเคลื่อนไหวเกิน 40 กิโลเมตร/ชั่วโมง จำนวนทั้งสิ้น 143 คน ซึ่งถือเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของศาล ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงอยากย้ำเตือนให้พี่น้องประชาชนเคารพกฎหมายอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะช่วงที่มีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งทุกคนต้องร่วมมือกันในการช่วยลดเชื้อเพื่อหยุดโรค.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ทหารทำร้าย

ทบ.ตั้ง กก.สอบปมกรมยุทธศึกษาทหารบก ทำร้ายผู้ใต้บังคับบัญชา

“ธนเดช” เผย กมธ.ทหาร รับเรื่องร้องเรียนเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา ขณะ ทบ. ตั้งกรรมการสอบแล้ว หวังเป็นตัวอย่างการลงโทษผู้บังคับบัญชาระดับสูงหากพบผิดจริง

“บิ๊กแจ๊ส” ลั่นพร้อมดูแลสนามกอล์ฟธูปะเตมีย์ ให้เป็นปอดประชาชน

“บิ๊กแจ๊ส” ลั่นหากได้รับถ่ายโอน อบจ.ปทุมฯ พร้อมจัดงบดูแลสนามกอล์ฟธูปะเตมีย์ ให้เป็นปอดประชาชน หลังขาดพื้นที่ออกกำลังกาย แต่จะกระทบความมั่นคงหรือไม่เป็นเรื่องละเอียดอ่อนต้องคุยกันต่อ

ข่าวแนะนำ

ประหารชีวิตแอมไซยาไนด์

ศาลอาญาพิพากษาประหารชีวิต “แอม ไซยาไนด์”

ศาลอาญาพิพากษาประหารชีวิต “แอม ไซยาไนด์” ส่วนอดีตสามี คุก 1 ปี 4 เดือน “ทนายพัช” คุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา ชดใช้ ให้ผู้เสียหายกว่า 2 ล้านบาท

ยิ่งลักษณ์ขอกลับไทย

“มาริษ” แจง “ยิ่งลักษณ์” ไม่ได้ประสาน กต. ขอกลับไทย

“มาริษ” รมว.ต่างประเทศ เผยยังอยู่ระหว่างพิจารณาบุคคลเป็นคณะกรรมการ JTC ย้ำจะทำให้เร็วที่สุด แจง “ยิ่งลักษณ์” ไม่ได้ประสาน กต. ขอกลับไทย ไม่รู้ “ทักษิณ” ถือกี่สัญชาติ

ตั้งตั้งนายพลสีกากี

จับตา! วันนี้ นายกฯ ประชุม ก.ตร.แต่งตั้งนายพลสีกากี

จับตาวันนี้ (20 พ.ย.) นายกรัฐมนตรีนั่งหัวโต๊ะประชุม ก.ตร. วาระแต่งตั้ง “นายพลสีกากี” ระดับ “รอง ผบ.ตร.-ผู้ช่วย ผบ.ตร.-ผู้บัญชาการ” รวม 25 ตำแหน่ง