ออกมาตรการป้องกัน “โคโรนา” จากการบริจาคโลหิต

ปทุมวัน 5 ก.พ.-ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย กำหนดมาตรการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ทางโลหิต โดยให้ผู้บริจาคโลหิตคัดกรองตนเองก่อนบริจาคโลหิต เพื่อป้องกันจากความเสี่ยงการได้รับเชื้อจากผู้บริจาคโลหิตไปสู่ผู้ป่วยรับโลหิต


รศ.พญ.ดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การระบาดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 พบผู้ป่วยยืนยันการได้รับเชื้อจากต่างประเทศ พักรักษาอาการที่โรงพยาบาลในประเทศไทย อีกทั้งมีการยืนยันแล้วว่าการแพร่เชื้อสามารถติดต่อจากมนุษย์สู่มนุษย์ได้จากการสัมผัสผู้ติดเชื้อ เช่น ละอองจากการไอ จาม แตะที่ปาก จมูก หรือตา หากได้รับเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการออกมาภายใน 1 วัน ถึง 2 สัปดาห์หลังจากได้รับเชื้อ โดยอาการเริ่มแรกของผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อส่วนใหญ่จะเริ่มจากการมีไข้ ไอ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หายใจหอบเหนื่อยถ่ายเหลวท้องเสีย หากผู้ป่วยมีร่างกายไม่แข็งแรงหรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ ก่อให้เกิดความรุนแรงขั้นวิกฤตและเสียชีวิตได้

ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้รับบริจาคโลหิตจากผู้ที่มีความเสี่ยงการได้รับเชื้อไป สู่ผู้ป่วย ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย จึงกำหนดมาตรการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ทางโลหิต โดยให้ผู้บริจาคโลหิตรายเก่า หรือผู้บริจาคโลหิตรายใหม่ได้คัดกรองตนเองก่อนบริจาคโลหิต ดังนี้ 


1.ผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019 งดรับบริจาคโลหิต 14 วัน

2.ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019 หลังจากได้รับการรักษาจนหายดีให้งดบริจาคโลหิตเป็นเวลา 4 สัปดาห์

3.ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019 งดบริจาคโลหิตเป็นเวลา 4 สัปดาห์ 


4.ภายใน 14 วันหลังบริจาคโลหิต หากผู้บริจาคโลหิตได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ให้รีบแจ้งหน่วยงานที่รับบริจาคโลหิตทราบทันที

5.ผู้บริจาคโลหิตจะต้องตอบคำถามเกี่ยวกับสุขภาพตัวเอง โดยให้ข้อมูลตรงตามความเป็นจริง เพื่อให้งานบริการโลหิตของประเทศไทย มีคุณภาพปลอดภัยตามมาตรฐาน ถึงแม้ว่าโลหิตที่ได้รับจากการบริจาคทุกยูนิต จะต้องผ่านกระบวนการตรวจคัดกรองในห้องปฏิบัติการ และนำไปปั่นแยกเป็นส่วนประกอบโลหิต ได้แก่ เกล็ดเลือด เม็ดเลือดแดง และพลาสมา ตามประเภทความต้องการใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย 

ในส่วนกลางกรุงเทพมหานคร บริจาคโลหิตได้ที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ถนนอังรีดูนังต์ และศูนย์รับบริจาคโลหิตและพลาสมา สถานีกาชาด 11 วิเศษนิยม (บางแค) 

ในส่วนภูมิภาค บริจาคโลหิตได้ที่ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ และงานบริการโลหิต รวม 13 แห่ง  ได้แก่ ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ จังหวัดลพบุรี ชลบุรี ราชบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี นครสวรรค์ พิษณุโลก เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช (ทุ่งสง) สงขลา ภูเก็ต และงานบริการโลหิต สถานีกาชาดหัวหินเฉลิมพระเกียรติ จ.ประจวบคีรีขันธ์.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง