เปิดตัวกล้วยน้ำว้าพันธุ์ใหม่ “สุโขทัย 1”

กรุงเทพฯ 27 ม.ค. – กรมวิชาการเกษตรพัฒนากล้วยน้ำว้าสายพันธุ์ใหม่ “สุโขทัย 1” ให้ผลผลิตสูง เนื้อละเอียดเหนียว รสชาติหวานไม่อมเปรี้ยว คุณค่าทางโภชนาการเป็นเลิศ


นางสาวเสริมสุข  สลักเพ็ชร์  อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย  กรมวิชาการเกษตรศึกษาหาสายต้นหรือพันธุ์กล้วยน้ำว้าที่ดีมีคุณภาพ เพื่อปรับปรุงพันธุ์ให้ได้สายพันธุ์ใหม่มีลักษณะดีเด่นให้ผลผลิตสูงมีคุณภาพ และมีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าพันธุ์การค้า  เป็นที่ยอมรับของเกษตรกรและผู้บริโภค เพื่อเป็นพันธุ์ทางเลือกสร้างรายได้เพิ่มให้แก่เกษตรกร 


ทั้งนี้ ระหว่างปี 2547 -2554 ได้คัดเลือกสายต้นหรือพันธุ์กล้วยน้ำว้าจากแปลงรวบรวมและอนุรักษ์พันธุกรรมกล้วยของศูนย์ฯ ใช้เกณฑ์การคัดเลือกคือ มีจำนวนหวีต่อเครือไม่ต่ำกว่า 7 หวี เนื้อแน่น สีเนื้อขาวนวลถึงเหลือง รสชาติหวาน คุณภาพการบริโภคดี ผู้บริโภคยอมรับสูง ซึ่งสามารถคัดเลือกไว้ 7 สายต้น นำไปปลูกเปรียบเทียบสายต้น และคัดเลือกสายต้นดีเด่น 2 สายต้น ต่อมาปี 2558-2560 นำไปปลูกทดสอบที่ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเลย และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่มีสภาพภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกัน พบว่ากล้วยน้ำว้าสายต้น สท.55-4 เจริญเติบโตได้เร็ว ต้นแข็งแรง ผลผลิตเฉลี่ยน้ำหนักเครือและจำนวนหวีต่อเครือสูงสุดทั้ง 3 สถานที่ผลิต ที่สำคัญมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ได้แก่ วิตามินบี 3 และโพแทสเซียมากกว่าพันธุ์การค้า ซึ่งคุณสมบัติทั้งหมดตรงกับวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงพันธุ์

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวต่อว่า  ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัยตั้งชื่อกล้วยน้ำว้าพันธุ์ใหม่ ว่า  “กล้วยน้ำว้าสุโขทัย 1”  ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ ให้ผลผลิตสูง น้ำหนักเครือ 16.1 กิโลกรัม สูงกว่ากล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง ซึ่งเป็นพันธุ์การค้าให้ผลผลิต 13.7 กิโลกรัม จำนวน 9 หวี/เครือ  สูงกว่ากล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง ซึ่งให้จำนวน 8 หวี/เครือ ลักษณะผลค่อนข้างป้อมกลมและใหญ่กว้าง 3.8 เซนติเมตร และยาว 14 เซนติเมตร ใหญ่กว่าพันธุ์การค้า เนื้อผลทั้งดิบและสุกมีสีครีมอ่อน เนื้อละเอียดเหนียว และมีรสชาติหวานไม่อมเปรี้ยว 


จากการสำรวจพื้นที่ปลูกกล้วยของไทยมีประมาณ 481,639 ไร่  ในจำนวนนี้มีพื้นที่ปลูกกล้วยน้ำว้ามากที่สุด 328,456 ไร่ กล้วยไข่ 63,233 ไร่ กล้วยหอม 62,525 ไร่  และกล้วยอื่น ๆ ประมาณ 27,425 โดยพื้นที่ปลูกกล้วยน้ำว้าจะปลูกมากที่สุดในเขตภาคเหนือ แม้พื้นที่ปลูกกล้วยน้ำว้าจะมากที่สุด แต่ขาดพันธุ์ดี การพัฒนาสายพันธุ์ “สุโขทัย 1” จะเพิ่มมูลค่าของผลผลิตและเพิ่มรายได้แก่เกษตรกร

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัยมีแปลงแม่พันธุ์กล้วยน้ำว้าพันธุ์สุโขทัย 1 พร้อมขุดแยกหน่อได้ปีละ 2,000 – 3,000 หน่อ ใช้ปลูกในพื้นที่ประมาณ 20-30 ไร่  โดยปี 2562 สามารถขุดแยกหน่อได้ประมาณ 2,000 หน่อ ใช้ปลูกในพื้นที่ 20 ไร่ เกษตรกรที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย  กรมวิชาการเกษตร  โทรศัพท์ 0-5567-9085-6. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง