กรมวิชาการเกษตรเข้มมาตรการนำเข้าวัตถุอันตรายผ่านด่านตรวจพืชท่าเรือกรุงเทพ

กรุงเทพฯ 27 ก.ค.- อธิบดีกรมวิชาการเกษตร สั่งเข้มงวดมาตรการนำเข้าวัตถุอันตรายผ่านด่านตรวจพืชท่าเรือกรุงเทพ สั่งพักใบอนุญาต-ดำเนินคดีผู้ประกอบการ 2 ราย ลักลอบนำเข้าไกลโฟเซต รวม 2 แสนลิตร มูลค่าเสียหาย 25 ล้านบาท สั่งขยายเวลาตรวจเข้มวัตถุอันตรายอีก 60 วัน ถึง 15 ก.ย.66


นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ลงพื้นที่ด่านตรวจพืชท่าเรือกรุงเทพ พร้อมด้วย ดร.ภัสชญภณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ผู้อำนวยการกลุ่มสารวัตรเกษตร หัวหน้าด่านตรวจพืชท่าเรือแหลมฉบัง หัวหน้าด่านตรวจพืชลาดกระบัง สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร เพื่อติดตามผลการปฏิบัติงาน ควบคุม ตรวจสอบการนำเข้า ส่งออก สินค้าพืชและวัสดุการเกษตร ตามนโยบายของนางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ที่สั่งการให้กรมวิชาการเกษตร มีมาตรการเข้มงวดการนำเข้าวัตถุอันตรายผ่านด่านตรวจพืช

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่าได้สั่งพักใช้ใบอนุญาตนำเข้าวัตถุอันตราย ของบริษัทหนึ่งย่านปทุมธานี ที่ด่านตรวจพืชท่าเรือกรุงเทพ ตรวจพบการนำเข้าสินค้าวัตถุอันตรายสารไกลโฟเซต ที่เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งมีความผิดตามมาตรา 23 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ ยังมีความผิดตามมาตรา 45 (1) ประกอบ มาตรา 47 (1) (5) นำเข้าและครอบครองวัตถุอันตรายปลอม ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 7 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งกรณีนี้พบว่ามูลค่าการกระทำความผิดมีมูลค่ามากกว่า 10 ล้านบาท เข้าลักษณะคดีพิเศษ กรมวิชาการเกษตร จึงประสานกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เข้าร่วมการสืบสวน ซึ่งจากการตรวจสอบพบของเหลวสีเหลือง ที่ผลตรวจพบว่าเป็นสารไกลโฟเซต จำนวน 721 ถัง ถังละ 200 ลิตร ปริมาณรวมทั้งสิ้น 144,200 ลิตร จึงสั่งอายัดไว้ เพื่อเป็นพยานหลักฐานในการร้องทุกข์ต่อDSI ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด และขอให้ริบของไว้เพื่อดำเนินการทำลายต่อไป นอกจากมีความผิดทางอาญาแล้ว ผู้ประกอบการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งกรมวิชาการเกษตรจะเชิญ DSI มาบรรยายให้ความรู้ ในแนวทางและกรรมวิธี ในการสอบสวนที่เข้มข้น แก่เจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร


นอกจากนี้ ยังสั่งอายัด และขยายมาตรการเข้มงวดในการนำเข้าวัตถุอันตราย ผ่านด่านตรวจพืช เพื่อป้องกันการลักลอบนำเข้าวัตถุอันตราย อีก 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ 18 ก.ค. 66 – 15 ก.ย. 66 สืบเนื่องจาก การที่กรมวิชาการเกษตรมีมาตรการดังกล่าว มาแล้ว 60 วัน และด่านตรวจพืชท่าเรือกรุงเทพ ได้ตรวจพบว่า  บริษัทแห่งหนึ่งย่านสมุทรปราการ ได้ยื่นใบแจ้ง (การนำเข้าราชอาณาจักร/ส่งออกนอกราชอาณาจักร และนำเข้าออกจากด่านศุลกากร) แจ้งนำเข้าวัตถุอันตรายสาร Validamycin 3 % W/V SL ปริมาณการนำเข้า 48,000 ลิตร ว่ามีลักษณะของภาชนะบรรจุ 2 ลักษณะ เมื่อเปิดตรวจสอบพบสารที่เป็นของเหลวที่บรรจุในภาชนะถังพลาสติก 200 ลิตรมีสีแตกต่างกัน คือ ตรวจพบสารของเหลวสีเหลืองจำนวน 49 ถัง และ ของเหลวสีเขียวจำนวน 191 ถัง  ผลการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า สารสีเหลืองเป็นสารไกลโฟเซต เป็นการลักลอบนำเข้าไกลโฟเซต โดยการสำแดงเท็จ ในเอกสารประกอบการนำเข้า เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ตามมาตรการจำกัดการใช้ไกลโฟเซต ซึ่งหากพบว่ามีการกระทำความผิดจริง กรมวิชาการเกษตรจะดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด เช่น พักใช้ใบอนุญาตนำเข้า ดำเนินคดีอาญาตาม พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แจ้งศุลกากรดำเนินคดีตาม พ.ร.บ. ศุลกากร และ แจ้งความคดีอาญาในการสำแดงเอกสารเท็จต่อเจ้าหน้าที่

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่าขณะนี้มีเพจปลอมแอบอ้างใช้ชื่อ “กระทรวงเกษตรและสหกรณ์” เพื่อจำหน่ายสินค้ากรณีดังกล่าว จึงมอบหมายให้สารวัตรเกษตร ร่วมกับ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) เข้าดำเนินการตรวจสอบทันที โดยซื้อสินค้าเพื่อส่งห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ หากพบว่าเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 จะขยายผลการจับกุมและดำเนินคดีต่อไป หากเกษตรกรซื้อสินค้ามาแล้ว สามารถประสาน สารวัตรเกษตรไซเบอร์ ของกรมวิชาการเกษตร ที่เบอร์ 063-2106252  เพื่อให้ข้อมูลดำเนินการทางกฎหมายต่อไป

ทั้งนี้ ยังกำชับนายตรวจพืชต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามเงื่อนไขการนำเข้า ในคู่มือการปฏิบัติงานของพระราชบัญญัติกักพืชฯ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะสินค้าที่มีผลกระทบต่อผู้บริโภค และที่เป็นวัตถุดิบในโรงงานผลิต  เช่น  มะพร้าวแก่ปอกเปลือก  และ กระเทียม รวมถึง การเฝ้าระวังโรคและศัตรูพืชที่อาจติดมากับสินค้าจนนำมาสู่การแพร่ระบาดของศัตรูพืชต่างถิ่นที่เข้ามาระบาด จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่เกษตรกร สภาพเศรษฐกิจ รวมถึงระบบการผลิตพืชภายในประเทศไทย


พร้อมสั่งการให้เจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร เข้มงวดในการควบคุมการนำเข้า และส่งออกสินค้า ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรและผู้บริโภคภายในประเทศ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ผู้บริโภคต้องได้รับความปลอดภัยทางอาหาร บริโภคสินค้าที่มีคุณภาพ ปราศจากสารพิษตกค้าง และปลอดภัยจากศัตรูพืช เกษตรกรได้ใช้ปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร ในกลุ่มสารกำจัดโรค แมลงศัตรูพืช และสารกำจัดวัชพืช นอกจากนี้ กรมวิชาการเกษตร ได้หารือ กับ หอการค้า ไทย – อิสราเอล และ บริษัท Seetrue ประเทศอิสราเอล ในความเป็นไปได้ที่จะนำเทคโนโลยีระดับสูง (AI) มาใช้ X-Ray ตรวจสอบสินค้าพืช ณ ด่านตรวจพืช

ในโอกาสนี้ อธิบดรมวิชาการเกษตรยังได้ร่วมปลูกต้นมะกอกโอลีฟบริเวณหน้าอาคารด่านตรวจพืชกรุงเทพอีกด้วย.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร

เชิญชวนร่วมงาน “มหานคร คัลเลอร์ฟูล ปาร์ตี้ 2025”

“กำภู-รัชนีย์” พาทัวร์งาน “มหานคร คัลเลอร์ฟูล ปาร์ตี้ 2025” ณ ลานจอดรถ บมจ.อสมท พบปะผู้ประกาศ ดีเจ และอินฟลูเอนเซอร์ รวมไปถึงศิลปินที่จะมาร่วมสนุกในงาน “มหานคร คัลเลอร์ฟู ปาร์ตี้ 2025”