“สุริยะ” ระบุยึดข้อมูลกรมวิชาการเกษตรแบน 3 สารเคมี

กรุงเทพฯ 26 พ.ย. – “สุริยะ” ถกคณะกรรมการวัตถุอันตรายนัดแรกพรุ่งนี้ (27 พ.ย.) ยึดข้อมูลกรมวิชาการเกษตรเป็นหลักแบน 3 สารเคมีทางการเกษตร 


นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการวัตถุอันตราย กล่าวในช่วงรับหนังสือร้องเรียนจากตัวแทนเกษตรกรที่ขอให้ทบทวนมติคณะกรรมการวัตถุอันตรายเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2562 ที่มีมติให้แบน 3 สารเคมีทางการเกษตร คือ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต ว่า ได้อ่านข้อมูลที่ทางเกษตรกรยื่นมาให้แล้ว

นายสุริยะ กล่าวกับสื่อมวลชน ว่า ในฐานะประธานคณะกรรมการวัตถุอันตรายที่จะมีการประชุมวันพรุ่งนี้ (27 พ.ย.) จะขอรับฟังข้อมูลจากกรมวิชาการเกษตรก่อน หากเสนอให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายคงมติเดิม คือ แบน 3 สารเคมี และมีวิธีการส่งออกสารเคมีทั้ง 3 ก็จะยึดถือข้อมูลที่กรมวิชาการเกษตรป้อนให้ แต่ถ้าหากข้อมูลออกมา เห็นว่าหากแบน 3 สารเคมีแล้วจะมีผลกระทบตามมามาก และทางกรมวิชาการเกษตรเสนอว่าควรให้เลื่อนการแบนออกไปก่อนก็จะรับฟัง ดังนั้น การพิจารณาของคณะกรรมการวัตถุอันตรายพรุ่งนี้จึงขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ทางกรมวิชาการเกษตรส่งเข้ามายังคณะกรรมการฯ 


สำหรับเกษตรกร 7 สมาคมที่มายื่นหนังสือต้องการให้มีการใช้สารเคมีต่อไปนั้น ทางเกษตรกรได้ให้ข้อมูลว่า หากมีการแบน 3 สารเคมี จะส่งผลกระทบกับประชาชน ตลอดจนเกษตรกร และการแบน 3 สารเคมี ยังมีผลกระทบต่อการนำเข้าถั่วเหลืองและกากถั่วเหลืองจากต่างประเทศที่ปัจจุบันใช้ในการเป็นอาหารสัตว์ก็จะต้องห้ามนำเข้าด้วย เพราะมีสารนี้ปนอยู่ ซึ่งอุตสาหกรรมอาหารสัตว์จะได้รับผลกระทบและต่อเนื่องไปยังผู้เลี้ยงไก่และอื่น ๆ ต่อไป รวมถึงข้าวสาลีก็จะมีผลกระทบต่อเนื่องตามมาเช่นกัน

ต่อข้อถามผู้สื่อข่าวที่ว่าได้หารือกับนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขแล้วหรือไม่ นายสุริยะ กล่าวว่า ยังไม่ได้หารือ แต่พรุ่งนี้จะนั่งเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย โดยใช้ข้อมูลจากกรมวิชาการเกษตรเป็นหลัก


นายชรัตน์ เนรัญชร เกษตรจันทบุรี กล่าวว่า หากมีการแบน 3 สารเคมีทางการเกษตร ส่งผลกระทบต่อต้นทุนและความสามารถในการแข่งขันส่งออกผลไม้ และที่สำคัญวันนี้ต้องเอาความจริงมาพูด เพื่อสู้กับความเชื่อของฝ่ายที่อยากให้แบนมีการให้ข้อมูลต่าง ๆ ออกมา จึงต้องการให้มีการนำความจริงมาพูดคุยกัน ที่สำคัญการแบน 3 สารเคมี จะขัดกับหลักรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 มาตรา 73 ที่ระบุว่ารัฐธรรมนูญ ม.73 รัฐพึงจัดให้มีมาตรการหรือกลไกที่ช่วยให้เกษตรกรประกอบเกษตรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้ผลผลิตที่มีปริมาณและคุณภาพสูง มีความปลอดภัยโดยใช้ต้นทุนต่ำ และสามารถแข่งขันในตลาดได้ ซึ่งพิจารณาจะพบว่าเรื่องต้นทุนต่ำ ขณะนี้ยังไม่มีมาตรการหรือสารทดแทนมารองรับและตรงตามรัฐธรรมนูญระบุ การจะใช้สารกูลโฟซิเนต ก็มีราคาสูงกว่า 3-4 เท่า และประสิทธิภาพด้อยกว่า ดังนั้น จึงยังไม่มีสารใดมาทดแทนและตอบโจทย์ตรงกับรัฐธรรมนูญ เกษตรกรจึงมองว่าอยากให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายทบทวนมติคณะกรรมการวัตถุอันตรายเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2562 ที่ให้แบน 3 สารเคมี และทำการศึกษาใหม่อีกครั้ง และระหว่างนี้ให้จำกัดการใช้จนกว่าจะสามารถหาสารทดแทนได้ตรงตามรัฐธรรนูญระบุไว้.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง