อธิบดีกรมสุขภาพจิต แนะ 5 วิธี เตรียมพร้อมขับขี่บนท้องถนน

กรมสุขภาพจิต 24 ต.ค.-กรมสุขภาพจิต แนะ 5 วิธี ป้องกันความรุนแรงที่เหมาะสม ที่ควรทำในการขับขี่ยานพาหนะ ‘เผื่อเวลาก่อนออกเดินทาง-ตั้งสติก่อนสตาร์ท เตรียมกายใจให้พร้อม-สร้างบรรยากาศดีๆ-อย่าคาดหวังในการปรับพฤติกรรมผู้อื่น-เป็นคนใจดีบนท้องถนน’ 


นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่าปัจจุบันการเดินทางบนท้องถนนเป็นเรื่องที่เครียดสำหรับใครหลายๆ คน เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลานานอยู่บนท้องถนนที่มีการจราจรติดขัด เกิดมลภาวะและมีคนจำนวนหนึ่งที่ไม่ค่อยเคารพกฏจราจรและขับขี่อันตราย ความเครียดต่างๆ เหล่านี้ อาจก่อให้เกิดการกระทบกระทั่งบนท้องถนนได้บ่อยครั้ง ซึ่งการบันดาลโทสะบนท้องถนน หรือ road rage มักพบได้ตั้งแต่การแสดงภาษากาย การแสดงความรุนแรงทางวาจา การทะเลาะวิวาททางกายภาพ หรือแม้แต่การใช้อาวุธทำร้ายร่างกายกัน โดยส่วนมากมักจะเริ่มจากความรุนแรงเล็กๆ และขยายตัวเป็นความรุนแรงที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ การทะเลาะกับคนแปลกหน้าบนท้องถนนเล็กน้อยอาจนำไปสู่ปัญหาที่เป็นคดีความทางอาญาได้หากไม่มีวิธีการป้องกันที่ดี


อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวต่อว่า การป้องกันความรุนแรงที่เหมาะสมที่ควรทำในการขับขี่ยานพาหนะบนท้องถนน มีดังนี้ 

1. เผื่อเวลาก่อนออกเดินทาง เพราะเส้นทางอาจมีการจราจรติดขัดหรือมีอุบัติเหตุ การเผื่อเวลาจะทำให้เราไม่ร้อนรนในการขับขี่ 

2. ตั้งสติก่อนสตาร์ท ให้มีสติรู้ตัวเสมอว่าตนเองกำลังจะไปไหน มีใครรออยู่ และเตรียมสภาพกายและจิตใจให้พร้อมก่อนการขับขี่ยานพาหนะ โดยดูว่ามีความพร้อมหรือไม่ 


3.สร้างบรรยากาศ โดยการเปิดเพลงที่ชอบและร้องตาม หรือพูดคุยเรื่องดีๆ กับคนที่โดยสารมาด้วย 

4.อย่าคาดหวัง เพราะเราอาจต้องพบเจอผู้คนที่มีมารยาทบนท้องถนนแตกต่างกัน จึงไม่ควรคาดหวังว่า เราจะปรับพฤติกรรมของคนอื่นได้ ควรมองการขับขี่ถูกต้องและปลอดภัยของตนเองเป็นหลัก 

และ 5. เป็นคนใจดีบนท้องถนน โดยขับขี่เคารพกฏจราจร แบ่งปันน้ำใจต่อผู้ร่วมเส้นทาง ให้อภัย ไม่เก็บเอาความรุนแรงจากคนอื่นมาใส่ใจ ไม่มองถนนเป็นสนามแข่งที่ต้องมาเอาชนะกัน เน้นการเดินทางถึงเป้าหมายอย่างปลอดภัยพร้อมรอยยิ้ม

ทั้งนี้ จากที่มีการกล่าวอ้างถึงปัญหาความรุนแรงบนท้องถนนกับอาการป่วยด้านสุขภาพจิตของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในหลายๆ เหตุการณ์ สังคมไทยควรทำความเข้าใจว่า แม้การมีปัญหาด้านสุขภาพจิตควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด และปัญหาด้านสุขภาพจิตบางกลุ่มโรค เช่น โรคทางอารมณ์ โรควิตกกังวลที่อาจทำให้มีอารมณ์แปรปรวนง่าย เศร้าเสียใจ หรือหงุดหงิดได้ง่ายกว่าปกติ อาจทำให้ผู้ป่วยควบคุมอารมณ์ได้ยากก็ตามแต่พฤติกรรมหรือการกระทำที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น  ล้วนเป็นการตัดสินใจส่วนบุคคล ทุกคนมีสิทธิเลือกวิธีตอบสนองอารมณ์ของตัวเองภายใต้ความรับผิดชอบของตัวเอง 

“ดังนั้น ปัญหาสุขภาพจิตจึงไม่ควรถูกยกมาเป็นคำ อธิบายในการกระทำไม่ดีต่อผู้อื่นหรือกระทำไม่ดีกับสังคม เพราะจะทำให้สังคมมองภาพลักษณ์ผู้ป่วยจิตเวชในแง่ลบ โดยขอฝากทิ้งท้ายว่า สังคมไทยควรเรียนรู้ที่จะยืนหยัดในการทำสิ่งที่ถูกต้อง ไปพร้อมๆ กับการเรียนรู้ที่จะให้อภัย” อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว .-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เหล้าเถื่อนลาว

เสียชีวิตรายที่ 6 คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว

คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเสียชีวิตเพิ่มรายที่ 6 เป็นหญิงชาวออสเตรเลีย เสียชีวิตขณะรักษาตัวในไทย

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษา ทบ.

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ช่วยปฏิบัติราชการที่กองบัญชาการกองทัพบก หลังถูกร้องทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมช่วยเจ้าทุกข์ย้ายหน่วยตามร้องขอ

ไฟไหม้โรงงานพัดลม เผาวอดเสียหายกว่า 50 ล้าน

ไฟไหม้โรงงานผลิตพัดลมรายใหญ่ จ.สมุทรสาคร ระดมรถดับเพลิงระงับเหตุ กว่า 5 ชม. จึงควบคุมไว้ได้ในวงจำกัด เบื้องต้นเสียหายกว่า 50 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ภรรยาหมอบุญมอบตัว

“ภรรยา-ลูก” หมอบุญ อ้างถูกปลอมลายเซ็น ไม่เคยรู้การกระทำใดๆ

ทนายความภรรยา-ลูก หมอบุญ เผยถูกปลอมลายเซ็นเอกสาร ไม่เคยรับรู้การกระทำใดๆ ของหมอบุญ โดยภรรยาได้หย่าร้างกับหมอบุญ ก่อนปี 66

น้ำผุดเชียงดาว

น้ำใต้ดินผุดท่วมอ่วม “บ้านเรือน-พื้นที่เกษตร” อ.เชียงดาว

มวลน้ำมหาศาลผุดขึ้นจากใต้ดิน เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่เกษตร และบ้านเรือนประชาชน หลายหมู่บ้าน ใน อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ระดับน้ำบางจุด ท่วมบ้านเกือบถึงหลังคา พื้นที่การเกษตรเสียหายกว่า 400 ไร่

เลือกตั้ง อบจ.

“แสวง” ลงพื้นที่สังเกตการณ์เลือกตั้ง นายก อบจ.อุดรธานี

“เลขาฯ แสวง” ลงพื้นที่ตรวจรับ-มอบอุปกรณ์เลือกตั้ง นายก อบจ.อุดรธานี พร้อมสังเกตการณ์เลือกตั้งพรุ่งนี้ (24 พ.ย.) วอนประชาชนออกมาใช้สิทธิ 8.00-17.00 น.