ชัวร์ก่อนแชร์: โดนัลด์ ทรัมป์ เคยเชื่อว่าเดโมแครตกระตุ้นเศรษฐกิจดีกว่ารีพับลิกัน จริงหรือ?

20 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : ในช่วงก่อนการชิงชัยตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อปี 2023 มีการเผยแพร่คลิปวิดีโอบุคคลที่คล้ายกับอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ที่ให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวว่า ตนเองเป็นผู้สนับสนุนพรรคเดโมแครต และเชื่อว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ไปได้ดีกว่า ถ้ารัฐบาลอยู่ภายใต้การบริหารโดยผู้นำจากพรรคเดโมแครต บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย Snopes พบว่า คลิปวิดีโอดังกล่าว เป็นการให้สัมภาษณ์ของ โดนัลด์ ทรัมป์ ของจริง เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อครั้งที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ให้สัมภาษณ์ต่อสำนักข่าว CNN เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2004 ตรงกับช่วงที่รายการเรียลิตี โชว์ The Apprentice ของ โดนัลด์ ทรัมป์ ออกอากาศทางโทรทัศน์เป็นฤดูกาลแรก เมื่อถูกถามว่าเขาเป็นผู้สนับสนุนพรรคการเมืองใดในขณะนั้น […]

ชัวร์ก่อนแชร์: Sanewashing เมื่อสื่อพยายามใช้เหตุผลกับ โดนัลด์ ทรัมป์

19 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ในระหว่างการหาเสียงเพื่อชิงชัยตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คำว่า Sanewashing ถูกกล่าวถึงอย่างแพร่หลายในแวดวงสื่อสารมวลชนของสหรัฐฯ เมื่อสื่อหลายสำนักถูกวิจารณ์เรื่องการพาดหัวข่าวการหาเสียงของ โดนัลด์ ทรัมป์ โดยทำให้ดูเป็นเหมือนเป็นการแสดงวิสัยทัศน์ทั่วไป ทั้ง ๆ ที่เนื้อหาในการหาเสียงของ โดนัลด์ ทรัมป์ เต็มไปด้วยการกล่าวอ้างที่ไม่เป็นจริง หรือสื่อความหมายไม่ตรงกับหัวข้อที่นำเสนอเลยก็ตาม จนคำว่า Sanewashing ถูกกล่าวถึงอย่างมากตลอดช่วงหลังของปี 2024 เป็นต้นมา Sanewashing คือการลดทอนแง่มุมสุดโต่งของบุคคลหรือแนวคิดใด ๆ เพื่อให้ดูเป็นที่ยอมรับในวงกว้างมากขึ้น Poynter Institute องค์กรด้านสื่อมวลชนและการตรวจสอบข้อเท็จจริง นิยามความหมายของ Sanewashing ว่า เป็นการกระทำเพื่อปรับเปลี่ยนความเห็นที่รุนแรงและอุกอาจ ให้ดูเหมือนเป็นสิ่งปกติที่สังคมยอมรับได้ สถิติการโกหกของ โดนัลด์ ทรัมป์ ฝ่ายตรวจสอบข้อเท็จจริงของหนังสือพิมพ์ Washington Post พบว่า ในช่วงที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เขาได้เผยแพร่ข้อมูลเท็จหรือข้อมูลทำให้เข้าใจผิดรวมกันกว่า 30,573 ครั้ง หรือเฉลี่ย […]

ชัวร์ก่อนแชร์: กมลา แฮร์ริส เป็นคอมมิวนิสต์ จริงหรือ?

18 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : ในระหว่างการหาเสียงเพื่อชิงชัยตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ กมลา แฮร์ริส ตัวแทนของพรรคเดโมแครต ถูกผู้สนับสนุนพรรครีพับลิกัน รวมถึง โดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจมตีว่าเธอมีแนวคิดฝักใฝ่ระบอบคอมมิวนิสต์ และไม่มีความเหมาะสมที่จะขึ้นมาเป็นผู้นำของสหรัฐอเมริกา คำกล่าวอ้างนอกจากจะพุ่งเป้าไปที่นโยบายของเธอแล้ว ยังมีการอ้างว่าเธอมีลูกสาวของศาสตราจารย์ด้านเศรษฐกิจที่มีแนวคิดสนับสนุนลัทธิมากซ์ และมีการนำรูปภาพบุคคลคล้าย กมลา แฮร์ริส ที่แสดงตนเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ มาเผยแพร่ทางโลกออนไลน์ โดย อิลอน มัสก์ มหาเศรษฐีผู้สนับสนุน โดนัลด์ ทรัมป์ ก็นำภาพดังกล่าวมาแชร์ทาง X เช่นกัน บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : จากการตรวจสอบโดยเว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริง leadstories พบว่า ภาพที่ถูกแชร์ซึ่งอ้างว่าเป็นบัตรสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ของ กมลา แฮร์ริส แท้จริงแล้วเป็นเพียงเทมเพลตที่ผลิตมาเพื่อการล้อเลียนบนโลกออนไลน์เท่านั้น โดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถนำภาพหรือข้อมูลมาตัดต่อให้ดูเหมือนเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ ส่วนภาพที่ โดนัลด์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: โดนัลด์ ทรัมป์ IQ สูงกว่า กมลา แฮร์ริส จริงหรือ?

17 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : ในระหว่างการหาเสียงเพื่อชิงชัยตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีการนำระดับเชาวน์ปัญญา หรือ IQ จากตัวแทนของทั้ง 2 พรรคมาวิพากษ์วิจารณ์ทางโลกออนไลน์ โดยอ้างว่า กมลา แฮร์ริส ตัวแทนของพรรคเดโมแครตมี IQ ที่ต่ำ หรือเพียง 78 ต่างจาก โดนัลด์ ทรัมป์ ตัวแทนของพรรครีพับลิกันที่มี IQ สูงถึง 156 บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : อย่างไรก็ดี ไม่พบหลักฐานที่ยืนยันได้ว่า ผู้ชิงตำแหน่งทั้ง 2 มีระดับเชาวน์ปัญญาตามที่มีการกล่าวอ้างแต่อย่างใด ข่าวลือเรื่อง IQ ของ กมลา แฮร์ริส ถูกเผยแพร่โดยผู้ใช้แพลตฟอร์ม X ที่อ้างอิงข้อความที่โพสต์ในเว็บไซต์ Reddit อีกทอดหนึ่ง […]

นายกฯ พบผู้บริหารบริษัทภาพยนตร์ชั้นนำของสหรัฐฯ

นายกฯ พบผู้บริหารบริษัทภาพยนตร์ชั้นนำของสหรัฐฯ ได้รับคำชมนโยบายรัฐบาลส่งให้ไทยเป็นตัวเลือกสถานที่ถ่ายทำภาพยนต์ต่างประเทศที่มีความโดดเด่นในภูมิภาค ขณะที่ไทยพร้อมผลักดันเป็นฮับถ่ายทำภาพยนตร์ ชูซอฟต์พาวเวอร์สร้างรายได้เข้าสู่ประเทศ

ชัวร์ก่อนแชร์: 3 รัฐส่อโกงนับคะแนน เพราะไม่ประกาศผลในคืนวันเลือกตั้ง จริงหรือ?

06 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถ ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ เมื่อมีความพยายามอ้างว่า 3 รัฐสมรภูมิหรือ Swing State ได้แก่ จอร์เจีย มิชิแกน และ เพนซิลเวเนีย ส่อจะมีการบิดเบือนผลการนับคะแนนเลือกตั้ง เนื่องจากทั้ง 3 รัฐเปิดเผยว่าผลการเลือกตั้งของรัฐอาจจะประกาศไม่ทันคืนวันที่ 5 พฤศจิกายน ซึ่งตรงกับวันเลือกตั้งนั่นเอง นอกจากนี้ อดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ยังกล่าวหาว่า การเลือกตั้งในจอร์เจียไม่มีความโปร่งใส เพราะต้องใช้เวลานับคะแนนนานถึง 7 วันก่อนจะรู้ผล บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : อย่างไรดี เป็นเรื่องปกติที่แต่ละรัฐจะประกาศผลการลงคะแนนเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ไม่พร้อมกัน เนื่องจากแต่ละรัฐมีนโยบายการนับคะแนนที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งนโยบายการนับคะแนนที่แตกต่างกัน ไม่ใช่หลักฐานว่ามีการโกงการเลือกตั้งแต่อย่างใด สหรัฐฯ นับบัตรเลือกตั้งล่วงหน้าไม่พร้อมกัน ข้อมูลจากหน่ายงาน National Conference of […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ชื่อ “โดนัลด์ ทรัมป์” ถูกลบจากเว็บไซต์เลือกตั้งรัฐโอเรกอน จริงหรือ?

05 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถ ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ เมื่ออ้างว่ามีความพยายามแทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดีในรัฐโอเรกอน เมื่อชื่อของอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ และ เจดี แวนซ์ ของพรรครีพับลิกัน ถูกลบออกจากหน้าเพจคู่มือผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง ในเว็บไซต์ของรัฐมนตรีกิจการแห่งรัฐโอเรกอน บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : จากการตรวจสอบพบว่า เหตุผลที่ชื่อของ โดนัลด์ ทรัมป์ และ เจดี แวนซ์ ไม่ปรากฎอยู่บนเมนูของเพจคู่มือผู้ใช้สิทธิในรัฐโอเรกอน ไม่ใช่เพราะถูกลบชื่อออก แต่ชื่อของคนทั้ง 2 ไม่เคยอยู่บนเมนูอยู่แล้ว โฆษกของรัฐมนตรีกิจการแห่งรัฐโอเรกอนชี้แจงว่า ผู้สมัครที่จะมีชื่ออยู่บนเมนูของเพจคู่มือผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งในรัฐโอเรกอน คือผู้สมัครที่ส่งข้อมูลเกี่ยวกับผู้สมัครมาเผยแพร่กับทางเว็บไซต์เท่านั้น แต่กระนั้น ไม่มีการบังคับให้ผู้สมัครทุกคนต้องส่งข้อมูลมาเผยแพร่ แต่ผู้สมัครที่ไม่ส่งข้อมูลเกี่ยวกับผู้สมัครมายังเว็บไซต์จะไม่มีมีชื่อบนเมนูของเพจคู่มือผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง นอกจากนี้ รายชื่อของผู้สมัครทุกรายจะอยู่ในบัตรลงคะแนนเลือกตั้งของรัฐโอเรกอนทุกคน สำนักงานพรรครีพับลิกันแห่งรัฐโอเรกอน ชี้แจงเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม เพื่อยืนยันว่า ชื่อของ โดนัลด์ ทรัมป์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: มิชิแกนมีผู้ขอใช้สิทธิเลือกตั้งมากกว่าผู้มีสิทธิ 5 แสนคน จริงหรือ?

05 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถ ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ เมื่อมีการอ้างถึงความไม่โปร่งใสในการเลือกตั้งที่รัฐมิชิแกน เมื่อพบว่าในมิชิแกนมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 7.9 ล้านคน แต่มีผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้ง 8.4 ล้านคน นำไปสู่การกล่าวอ้างว่ามีแผนแทรกแซงผลเลือกตั้งในมิชิแกน บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : อย่างไรก็ดี การมีจำนวนผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้ง (Registered Voter) มากกว่าจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (Eligible Voter) ไม่ใช่หลักฐานว่ามีการโกงเลือกตั้งเกิดขึ้น เนื่องจากรัฐบัญญัติของสหรัฐฯ และกฎหมายระดับมลรัฐ ห้ามการยกเลิกสิทธิเลือกตั้งของผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้ง เพียงเพราะไม่ได้ไปลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้ง จึงมีการแบ่งผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งออกเป็นกลุ่ม Active Voter หรือผู้ที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสม่ำเสมอหรือมีที่อยู่อาศัยชัดเจน และกลุ่ม Inactive Voter หรือผู้ที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นเวลานานหรือมีที่อยู่อาศัยไม่ชัดเจน เช่นมีการย้ายถิ่นฐานไปที่อื่นหรือเสียชีวิตไปแล้ว ผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งที่เข้าข่ายเป็น Inactive Voter คือผู้ที่ไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งนาน 6 ปีติดต่อกัน หรือไม่ตอบรับการแจ้งเตือนเพื่อยืนยันที่อยู่อาศัย โดยผู้มีสถานะ Inactive […]

ชัวร์ก่อนแชร์: จนท.นับคะแนน “ฉีกบัตรเลือกตั้ง” โดนัลด์ ทรัมป์ จริงหรือ?

02 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถ ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ เมื่อมีผู้อ้างว่า เจ้าหน้าที่ในหน่วยเลือกตั้งของ บักส์ เคาตี รัฐเพนซิลเวเนีย ลงมือทำลายบัตรลงคะแนนทางจดหมาย ที่ผู้ใช้สิทธิลงคะแนนเลือกอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ อย่างจงใจ จนคลิปถูกแชร์ในวงกว้างและกล่าวหาว่าเป็นหลักฐานการแทรกแซงการเลือกตั้งเพื่อประโยชน์แก่พรรคเดโมแครต บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : อย่างไรก็ดี คณะกรรมการเลือกตั้งของบักส์ เคาตี ซึ่งประกอบไปด้วยตัวแทนของพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกัน ยืนยันเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2024 ว่า บัตรลงคะแนนทางจดหมายที่อยู่ในคลิปที่ถูกแชร์เป็นของปลอม เมื่อนำบัตรลงคะแนนทางจดหมายที่ใช้ในบักส์ เคาตี มาเปรียบเทียบกับบัตรลงคะแนนทางจดหมายในวิดีโอที่ถูกแชร์ จะพบความแตกต่างหลายประการ แถบบนซองจดหมายของบัตรลงคะแนนในวิดีโอที่ถูกแชร์จะมีสีเขียวเข้ม ส่วนแถบบนซองจดหมายของบัตรลงคะแนนของจริงจะมีสีเขียวสด ส่วนผิวสัมผัสบนแถบซองจดหมายของบัตรลงคะแนนของปลอมจะมีความมันวาว แต่ผิวสัมผัสบนแถบซองจดหมายของบัตรลงคะแนนของจริงจะมีสัมผัสด้าน นอกจากนี้ การตรวจสอบไม่พบว่า เจ้าหน้าที่ในหน่วยเลือกตั้งของบักส์ เคาตี ไม่มีใครที่มีคุณลักษณะตรงกับบุคคลที่อยู่ในคลิปวิดีโอที่ถูกแชร์ และการกระทำที่อยู่ในคลิปก็เป็นเรื่องผิดกฎหมาย เนื่องจากรัฐเพนซิลเวเนียห้ามนำบัตรลงคะแนนล่วงหน้าหรือบัตรลงคะแนนทางจดหมายมานับก่อนวันที่ 5 พฤศจิกายน […]

นำป้ายชื่อเรือหลวงสุโขทัยขึ้นจากน้ำสำเร็จ

การปฏิบัติการค้นหาและปลดวัตถุอันตรายเรือหลวงสุโขทัย วันที่ 2 ยังคงภารกิจในการสำรวจและรวบรวมหลักฐานรอบตัวเรือ โดยนำป้ายชื่อเรือหลวงสุโขทัย เป็นของชิ้นแรกที่นำขึ้นจากน้ำ

สหรัฐพร้อมช่วยสำรวจร.ล.สุโขทัย

ผบ.ทร. เผยสหรัฐจะลงไปสำรวจ ร.ล.สุโขทัย ให้ เป็นความร่วมมือในส่วนของการฝึกร่วมคอบร้าโกลด์ ไม่ต้องใช้งบประมาณ ขออย่าใช้คำว่า “กู้เรือ” สิ่งสำคัญคืออาวุธ-ศพลูกน้องที่อยู่ในเรือ

1 2 3 10
...