เปิดเกณฑ์แบนสารต้องใช้หลักวิชาการนำก่อนตัดสิน

กรุงเทพฯ 4 ต.ค. – อธิบดีกรมวิชาการเกษตรแจงเงื่อนไขยกเลิกการใช้วัตถุอันตรายต้องใช้ข้อมูลวิชาการหนุนหลายประเด็น  เผยชงแบนสารไปแล้ว 98 ชนิด  พร้อมมีคณะทำงานเฝ้าระวังจับ 3 สาร พาราควอต ไกลโฟเซส ครอลไพริฟอส เข้าบัญชีไว้แล้ว ชี้เกณฑ์แบนสารต้องใช้หลักวิชาการนำ ก่อนตัดสิน


นางสาวเสริมสุข   สลักเพ็ชร์  อธิบดีกรมวิชาการเกษตร  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงว่าหลักเกณฑ์และเงื่อนไขกรณีที่จะยกเลิกการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรไม่ว่าจะเป็นชนิดก็ตาม ต้องใช้ข้อมูลทางวิชาการพิจารณาในประเด็นต่างๆ ได้แก่ ข้อมูลความเป็นอันตรายต่อมนุษย์ มีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างชัดเจน ข้อมูลการตกค้างพบว่า มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นสารที่มีพิษเฉียบพลันสูง และเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ได้ง่าย เป็นสารที่อยู่ภายใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศ และมีสารใช้ทดแทนที่เหมาะสม


ดังนั้นเมื่อกรมวิชาการเกษตรได้พิจารณาภายใต้ข้อมูลทางวิชาการที่ชัดเจนตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวก็จะเสนอคณะกรรมการวัตถุอันตรายเพื่อประกาศเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 คือห้ามผลิต นำเข้า ส่งออก และขาย เพื่อออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายต่อไป โดยปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรได้เสนอห้ามใช้วัตถุอันตรายไปแล้ว 98 ชนิด โดยมีเหตุผล ได้แก่ เป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง  มีพิษตกค้างนานทำให้เกิดพิษสะสมในดินได้นาน  และเป็นสารที่ทำให้ตัวอ่อนในครรภ์ผิดปกติ

อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกล่าวว่า  นอกจากนี้เพื่อเป็นการเฝ้าระวังความเป็นอันตรายของวัตถุอันตรายทางการเกษตรที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน  กรมวิชาการเกษตรได้แต่งตั้งคณะทำงานดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายที่ต้องเฝ้าระวัง โดยมีหลักเกณฑ์การจัดวัตถุอันตรายเข้าอยู่ในรายการเฝ้าระวัง ได้แก่ เป็นสารที่มีพิษเฉียบพลันสูง  เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ได้ง่าย มีข้อมูลว่า เป็นสารที่มีพิษเรื้อรัง และเป็นผลร้ายต่อมนุษย์และสัตว์ทดลอง เป็นสารที่อยู่ภายใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศเช่น อนุสัญญารอตเตอร์ดัม โดยสารที่อยู่ภายใต้อนุสัญญานี้ต้องมีการแจ้งก่อนการนำเข้าและอนุสัญญาสตอกโฮล์ม ทั้งนี้สารที่อยู่ภายใต้อนุสัญญาดังกล่าวเป็นสารที่มีความเป็นพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อมยาวนาน และพิธีสารมอนทรีออล โดยสารที่อยู่ภายใต้อนุสัญญานี้เป็นสารที่ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ นอกจากนี้ยังเป็นสารที่มีพิษตกค้างสะสมในสิ่งมีชีวิตและถ่ายทอดได้ในห่วงโซ่อาหาร   เป็นสารที่สลายตัวยาก และมีความคงทนในสภาพแวดล้อม เป็นสารที่เป็นอันตรายอย่างรุนแรงต่อพืชหรือสัตว์ที่เป็นประโยชน์ และเป็นสารที่ถูกห้ามใช้ หรือ เฝ้าระวังหรือจำกัดการใช้ในต่างประเทศ

“ปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรมีวัตถุอันตรายที่อยู่ในบัญชีที่ต้องเฝ้าระวังตามหลักเกณฑ์การพิจารณาดังกล่าวแล้วรวม 18 ชนิดซึ่งพาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส ก็ถูกจัดรวมอยู่ด้วย  โดยหากคณะกรรมการที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายมีมติประการใดเกี่ยวกับวัตถุอันตราย  กรมวิชาการเกษตรพร้อมที่จะปฏิบัติตามทุกประการ”  อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกล่าว . – สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง