เผย 7 เดือน ใช้สิทธิ์ FTA -GSP ลดลงร้อยละ 1.05

นนทบุรี 19 ก.ย. – ยอดใช้สิทธิ์ FTA – GSP  7 เดือนปี 62 มีมูลค่า 4.21 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ อาเซียนนำโด่งสูงสุด แนะใช้สิทธิ์ FTA อาเซียน-จีน ทดแทนสินค้าสหรัฐ ตลาดจีนที่ถูกขึ้นภาษี ส่วนการใช้สิทธิ์ GSP มีมูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.61 สหรัฐครองอันดับหนึ่งเช่นเดิม



นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า การใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าสำหรับการส่งออกภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) และภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) ในช่วง 7 เดือนของปี 2562 (ม.ค.-ก.ค.) มีมูลค่า 42,129.69 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นอัตราการใช้สิทธิประโยชน์อยู่ที่ร้อยละ 77.33 ลดลงร้อยละ 1.05 โดยแบ่งเป็นมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ FTA จำนวน 12 ฉบับ ยังไม่รวมอาเซียน-ฮ่องกงที่เพิ่งจะมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 11 มิ.ย.2562 มีมูลค่า 39,079.39 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 78.25 ของมูลค่าการส่งออกที่ได้สิทธิประโยชน์ ซึ่งมีมูลค่าอยู่ที่ 49,944 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยลดลงร้อยละ  2.32 และการใช้สิทธิ GSP จำนวน 4 ระบบ คือ สหรัฐฯ สวิตเซอร์แลนด์ รัสเซียและเครือรัฐเอกราช และนอร์เวย์ มีมูลค่า 3,050.30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น ร้อยละ 67.27 ของมูลค่าการส่งออกที่ได้สิทธิประโยชน์รวม ซึ่งมีมูลค่า 4,534.24 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น ร้อยละ  18.61


สำหรับตลาดส่งออกที่ไทยมีมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลง FTA สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ อาเซียน มูลค่า 14,212.71 ล้านดอลลารNสหรัฐ จีน มูลค่า 10,740.51 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ออสเตรเลีย มูลค่า 4,747.98 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ญี่ปุ่น มูลค่า 4,470.00 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และอินเดีย มูลค่า 2,654.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ รถบรรทุก ทุเรียนสด ผลิตภัณฑ์ยางสังเคราะห์ผสมยางธรรมชาติ ผลไม้ประเภทฝรั่ง มะม่วง และมังคุดสดหรือแห้ง และน้ำตาลจากอ้อย

ทั้งนี้ หากพิจารณายอดการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าในช่วง 7 เดือนลดลงร้อยละ 2.32 พบว่าเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 มีสาเหตุมาจากการส่งออกบางตลาดลดลง เพราะได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า และเงินบาทแข็งค่า ทำให้การส่งออกไปตลาดสำคัญ คือ อาเซียน ออสเตรเลีย ชิลี เกาหลีใต้ ลดลง จึงมีการใช้สิทธิประโยชน์ลดลงตามไปด้วย และเมื่อประเมินภาพรวมการใช้สิทธิประโยชน์ในช่วง 7 เดือนที่มีมูลค่า 42,129.69 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 52 ของเป้าหมายมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายในการที่จะบรรลุเป้าหมายที่กรมฯ ตั้งไว้ทั้งปี 2562 ที่มูลค่า 81,025 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ  9 แต่กรมฯ จะเดินหน้าผลักดันให้มีการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าอย่างเต็มที่ต่อไป

อย่างไรก็ตาม ตลาดที่กรมฯ คาดว่าจะผลักดันให้มีการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าเพิ่มขึ้น คือ จีน โดยไทยสามารถส่งออกสินค้าไปยังจีน เพื่อทดแทนสินค้าจากสหรัฐที่ถูกจีนขึ้นภาษี เพราะพบรายการสินค้าบางรายการมีมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แต่อัตราการใช้สิทธิฯ ยังไม่สูงมากนัก เช่น อาหารปรุงแต่งอื่นๆ ใช้สิทธิเพียงร้อยละ 76.65 เครื่องอัดลมหรืออัดก๊าซอื่นๆ ร้อยละ 57.88 ทับทิม แซปไฟร์และมรกต ร้อยละ 13.70 เครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณที่เป็นของเทียมอื่นๆ ร้อยละ 2.61 และยังมีกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมต้นน้ำที่มีศักยภาพในการส่งออก แต่ยังใช้สิทธิฯ ได้ไม่เต็มที่ภายใต้กรอบ FTA ได้แก่ เส้นใยโพลีเอสเทอร์ ร้อยละ 4.04 เดนิม ร้อยละ 54.37 และส่วนประกอบและอุปกรณ์เครื่องจักรสำหรับวัดหรือตรวจสอบของเครื่องฉายโพรไฟล์ ร้อยละ 36.52 เป็นต้นง


ส่วนการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ GSP ในช่วง 7 เดือน สหรัฐยังคงมีสัดส่วนการใช้สิทธิ์มากที่สุด คือ ร้อยละ 91.79 ของมูลค่าการใช้สิทธิ์ GSP ทั้งหมด โดยมีมูลค่าการใช้สิทธิฯ อยู่ที่ 2,799.76 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีอัตราการใช้สิทธิฯ ร้อยละ 75.96 ของมูลค่าการส่งออกที่ได้รับสิทธิ์ GSP ซึ่งมีมูลค่า 3,685.97 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.96 รองลงมา คือ สวิตเซอร์แลนด์ มีมูลค่าการใช้สิทธิ์อยู่ที่ 155.02 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีอัตราการใช้สิทธิ์ร้อยละ  26.69 จากมูลค่าที่ได้รับสิทธิ์ 580.86 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นรัอยละ  5.36 โดยสินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ ถุงมือยาง เครื่องดื่มอื่น ๆ ชิ้นส่วนยานยนต์ และเลนส์แว่นตา

ทั้งนี้ กรมฯ มีแผนที่จะเผยแพร่และประชาสัมพันธ์เพื่อเชิญชวนผู้ประกอบการใช้สิทธิประโยชน์ฯ ภายใต้ FTA และ GSP โดยเฉพาะความตกลง FTA อาเซียน-จีน ที่จะต้องขอใช้ Form E เพื่อประกอบการขอลดหย่อนภาษีนำเข้าสินค้าที่ประเทศปลายทาง (จีน) มากขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการที่สนใจจะใช้สิทธิดังกล่าวจำเป็นจะต้องศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าและหลักเกณฑ์การขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form E) อย่างละเอียด เพื่อจะได้สามารถใช้ประโยชน์จากความตกลงได้อย่างถูกต้องต่อไป.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เหล้าเถื่อนลาว

เสียชีวิตรายที่ 6 คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว

คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเสียชีวิตเพิ่มรายที่ 6 เป็นหญิงชาวออสเตรเลีย เสียชีวิตขณะรักษาตัวในไทย

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษา ทบ.

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ช่วยปฏิบัติราชการที่กองบัญชาการกองทัพบก หลังถูกร้องทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมช่วยเจ้าทุกข์ย้ายหน่วยตามร้องขอ

ไฟไหม้โรงงานพัดลม เผาวอดเสียหายกว่า 50 ล้าน

ไฟไหม้โรงงานผลิตพัดลมรายใหญ่ จ.สมุทรสาคร ระดมรถดับเพลิงระงับเหตุ กว่า 5 ชม. จึงควบคุมไว้ได้ในวงจำกัด เบื้องต้นเสียหายกว่า 50 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

จับหมอดังฟอกเงิน

ออกหมายจับ “หมอดัง” พร้อมพวกรวม 9 คน “ฉ้อโกง-ฟอกเงิน”

ตำรวจออกหมายจับ “หมอดัง” พร้อมพวกรวม 9 คนข้อหา “ฉ้อโกง-ฟอกเงิน” ล่าสุดจับได้แล้ว 6 คน ส่วนอีก 3 คน อยู่ระหว่างติดตามตัว เบื้องต้นมีข้อมูลว่า “หมอดัง” หนีออกนอกประเทศตั้งแต่ ก.ย.ที่ผ่านมา

“เหนือ-อีสาน-กลาง” อากาศเย็น ภาคใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ รายงานภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง อากาศเย็นในตอนเช้า มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน