แถลงการณ์ว่อนหลัง กบง.ล้มประมูลแอลเอ็นจี กฟผ.

กรุุงเทพฯ 6 ก.ย. – ผู้บริหาร กฟผ.ออกแถลงการณ์ถึงพนักงาน ขณะที่มีกลุ่มเคลื่อนไหวเป็นห่วงมติ กบง.30 ส.ค.62 ล้มประมูลแอลเอ็นจี กฟผ.ติงทำให้เกิดการผูกขาดประชาชนเสียประโยชน์


นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ยืนยันการผลิตไฟฟ้าทุกอย่างเป็นปกติ มั่นคง ไร้ปัญหา แม้วันนี้สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (สร.กฟผ.) จะมีการนัดแต่งดำและไปยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคัดค้านมติคณะกรรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2562 เพื่อยกเลิกประมูลแอลเอ็นจี ก็ตาม 


ผู้สื่อข่าวรายงานว่าวานนี้ (5 ก.ย.) ผู้ว่าการ กฟผ.ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงเป็นการภายในกับพนักงาน  กฟผ. เพื่อสร้างความเข้าใจลดข้อห่วงใยและข้อกังวลของผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. เพื่อให้เกิดขวัญและกำลังใจในการทำงาน  โดยระบุก่อนประชุม กบง.ที่มีมติดังกล่าว เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2562 ได้มีการประชุมระหว่างฝ่ายนโยบายของกระทรวงพลังงานและคณะผู้บริหาร กฟผ. ฝ่ายนโยบายได้ให้คำมั่นยังคงยืนยันนโยบายการเปิดเสรีระบบก๊าซธรรมชาติอยู่ เพียงแต่ขอทบทวนปริมาณความต้องการใช้ภายในประเทศให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง และหากประเมินว่าเมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องนำเข้าก๊าชรรมชาติเพิ่มเติมแล้วยังยืนยันหลักการเดิมที่มอบหมายให้ กฟผ.เป็นผู้นำเข้าเป็นรายแรกต่อจากผู้นำเข้าที่มีอยู่เดิมรายเดียว นอกจากนี้ ยังได้เสนอให้มีการพิจารณาปริมาณการนำเข้าของ กฟผ. ว่าควรจะเป็นจำนวนกี่เปอร์เซ็นต์ของปริมาณตามต้องการใช้งานโดยรวม เพื่อเป็นกรอบหลักการดำเนินงานในอนาคต

ทั้งนี้ คณะผู้บริหาร กฟผ.คาคว่าการพิจารณาประเด็นดังกล่าวเพิ่มเติมจะดำเนินการขั้นตอนต่าง ๆ ของฝ่ายนโยบายกระทรวงพลังงานในอนาคตต่อไป ขอให้ผู้ปฏิบัติงานมีความมั่นใจและเชื่อใจต่อความตั้งใจจริงของฝ่ายนโยบายที่พิจารณาประโยชน์ในภาพรวมของประเทศชาติ และประโยชน์ในการพัฒนาและส่งเสริม กฟผ.ให้เจริญก้าวหน้าเป็นเสาหลักด้านพลังงานหน่วยงานหนึ่งของประเทศต่อไป


ทั้งนี้  กฟผ.ยืนยันมาตลอดว่าที่ผ่านมาดำเนินตามนโยบายรัฐบาลในการเปิดประมูลนำเข้าแอลเอ็นจีจนได้ราคานำเข้าที่ต่ำกว่าทุกสัญญานำเข้าของประเทศ โดยหากคำนวณแล้วหากนำเข้าได้ตามการประมูลไม่เกิน 1.5  ล้านตัน/ปี จะมีมูลค่านำเข้ากว่าแสนล้านบาทและประหยัดต้นทุนค่าไฟฟ้าเมื่อเปรียบเทียบกับราคาที่ซื้อจากในระบบการค้าก๊าซในปัจจุุบันที่ บมจ.ปตท.เป็นผู้ดำเนินการได้ถึง 30,000 ล้านบาท

ขณะเดียวกันยังมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มพิทักษ์พลังงานไทย ซึ่งมีแกนนำ คือ นายพิเชษฐ์ ชูชื่น  อดีตพนักงาน กฟผ.ได้ออกแถลงการณ์ 4 กันยายนและยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ขอคัดค้านและต่อต้านการผูกขาดพลังงานไฟฟ้าและพลังงานอื่น ๆ และขอปกป้ององค์กรภาครัฐที่เป็นสาธารณูปโภคให้มีอิสระในการพัฒนากิจการขององค์กรนั้นอย่างมืออาชีพ  โดยระบุการเคลื่อนไหวครั้งนี้สืบเนื่องจากสถานการณ์การลงทุนการผลิตและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทยตกอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงที่จะถูกผูกขาด โดยกลุ่มทุนพียงไม่กี่กลุ่ม ซึ่งในอนาคตจะทำให้ประเทศไทยตกเป็นเหยื่อผูกขาด.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง