ปชป.ย้ำ 2 เงื่อนไขร่วมรัฐบาล

พรรคประชาธิปัตย์ 31พ.ค.-“จุรินทร์” ย้ำ 2 เงื่อนไข ร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ ต้องแก้รัฐธรรมนูญ  กำหนดนโยบายประกันรายได้เกษตรกร เป็นนโยบายรัฐบาล รอ พปชร. เคลียร์ปัญหาภายในให้จบ ปัดตอบ ลงมติแยกระหว่างโหวตนายกฯ กับร่วมรัฐบาล 


นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์กรณีที่ยังไม่มีความชัดเจน ประชาธิปัตย์จะร่วมรัฐบาลว่า ต้องเริ่มต้นที่พรรคพลังประชารัฐก่อน ซึ่งตอนนี้ถือว่าเป็นขั้วหนึ่งที่กำลังทำหน้าที่เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ไม่ได้นับหนึ่งที่ประชาธิปัตย์ ซึ่งความคืบหน้าล่าสุด ทราบตรงกันว่าพรรคพลังประชารัฐมาเชิญประชาธิปัตย์เข้าร่วมรัฐบาล แต่ที่พรรคประชาธิปัตย์ ต้องเลื่อนการประชุมออกไป เป็นเพราะพรรคพลังประชารัฐต้องใช้เวลาในการทำให้พรรคเป็นหนึ่งเดียวเสียก่อน จึงต้องให้เวลา แต่สำหรับการทำหน้าที่ของนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ก็มีหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายอยู่แล้ว โดยจะต้องนัดประชุมเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี ก็ต้องถามท่านว่าจะนัดประชุมเมื่อไหร่ ถือเป็นไปตามขั้นตอนและกระบวนการ 

เมื่อถามว่าการที่นายชวนเป็นประธานสภาแล้วจะผูกมัดว่าประชาธิปัตย์ต้องเข้าร่วมรัฐบาลหรือไม่ นายจุรินทร์ กล่าวว่า การที่พรรคไหนจะเสนอชื่อใครเป็นนายกรัฐมนตรี อย่างไรก็คงขึ้นอยู่กับแต่ละพรรคการเมือง ที่จะเป็นผู้พิจารณา ซึ่งในส่วนของประชาธิปัตย์ยังไม่ได้มีการประชุมกันว่าจะเสนอใครเป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่ เพราะคงต้องนับหนึ่งที่พรรคพลังประชารัฐก่อนว่ามีความเห็นอย่างไร แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการแจ้งความคืบหน้าใด ๆ จากพรรคพลังประชารัฐ


เมื่อถามว่าพรรคพลังประชารัฐออกมาระบุว่าจะโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีก่อนค่อยมาจัดสรรตำแหน่งรัฐมนตรี และนโยบาย นายจุรินทร์ กล่าวว่า ก็สุดแล้วแต่พลังประชารัฐ เพราะต้องเป็นผู้ตัดสินใจ ประชาธิปัตย์เป็นพรรคขนาดกลางมีแค่ 53 เสียง ก็ต้องเข้าใจสถานภาพของตัวเองว่าอยู่ในฐานะไหน และเรื่องนี้ยังไม่เคยคุยกันว่าจะต้องโหวตนายกฯ ก่อนค่อยจัดสรรตำแหน่งรัฐมนตรี เพราะข้อเท็จจริงคือ พลังประชารัฐมาเชิญประชาธิปัตย์ร่วมรัฐบาล ซึ่งเดิมคิดว่าทุกอย่างจะยุติตามที่ได้พูดคุยกันแล้ว แต่เกิดปัญหาความไม่ลงตัว

“ก็ต้องขอพูดตรง ๆ ว่าเป็นปัญหาในส่วนของพลังประชารัฐ จึงเป็นที่มาที่พรรคประชาธิปัตย์จำเป็นต้องเลื่อนการประชุมออกไป ตอนนี้ก็ต้องให้เวลาพลังประชารัฐในการคลี่คลายสถานการณ์ต่าง ๆ และตัดสินใจ ส่วนจะตัดสินใจอย่างไร พรรคประชาธิปัตย์เราเคารพการตัดสินใจของเขา ทั้งนี้พรรคไม่ได้กำหนดว่าพลังประชารัฐจะต้องให้คำตอบกับประชาธิปัตย์เมื่อไหร่” นายจุรินทร์ กล่าว

เมื่อถามว่าการเลือกนายกรัฐมนตรีงวดเข้ามาแล้ว การตั้งรัฐบาลควรเสร็จก่อนเลือกนายกรัฐมนตรีหรือไม่ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับพรรคพลังประชารัฐที่เป็นแกนนำ จะเป็นผู้พิจารณาว่าจะตัดสินใจอย่างไร ตนตอบแทนไม่ได้ แต่ในส่วนของพรรค หากไม่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองอื่น ก็มีมติของตัวเองได้อยู่แล้ว แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับพรรคอื่น โดยเฉพาะพลังประชารัฐก็ต้องรอว่าเขาจะตัดสินใจอย่างไร ส่วนพรรคจะมีมติแยกระหว่างการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี กับการร่วมรัฐบาลหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าสถานการณ์ในการเลือกนายกรัฐมนตรีเป็นอย่างไร ประชาธิปัตย์อยู่ในสถานะไหน เพราะขณะนี้ยังอยู่ในสถานะของความเป็นประชาธิปัตย์ เรายังไม่ได้พิจารณาตัดสินใจว่าจะร่วมรัฐบาลหรือไม่อย่างไร ถ้าถึงวันนั้นพรรคก็ต้องมีมติอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อถึงเวลาต้องตัดสินใจในสภาผู้แทนราษฎร พรรคก็ต้องมีการประชุมร่วมกันโดยเฉพาะการตัดสินใจว่าจะเป็นรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน


ผู้สื่อข่าวถามว่า ถ้าข้อเสนอของพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้รับการตอบรับการร่วมรัฐบาลอาจไม่เกิดขึ้นใช่หรือไม่ นายจุรินทร์ กล่าวว่า ตอบล่วงหน้าไม่ได้ แต่ได้พูดคุยเบื้องต้นในเรื่องเงื่อนไขการแก้รัฐธรรมนูญ เพราะประชาธิปัตย์มองว่าเป็นเรื่องสำคัญหากจะตัดสินใจร่วมงานกับพลังประชารัฐ อย่างน้อยที่สุดก็ต้องพาประเทศเดินหน้าไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้นได้ ถ้าไม่พูดเรื่องนี้ ไม่หยิบประเด็นนี้ขึ้นมาโอกาสที่ประเทศจะเดินหน้าไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้นมันริบหรี่ เพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ทำยากมาก ไม่ใช่แค่ใช้เสียงข้างมากในรัฐสภาเท่านั้น แต่กำหนดเงื่อนไขว่าให้ใช้เสียงข้างมากเกินกว่ากึ่งหนึ่งของรัฐสภาคือสองสภารวมกันแล้ว ต้องมีฝ่ายค้านไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 และยังต้องได้เสียงสว.หนึ่งในสามด้วย 

นายจุรินทร์ กล่าวว่า ดังนั้นจึงเกือบจะปิดประตูในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีทางเดียวที่จะเปลี่ยนแปลงคือ แก้รัฐธรรมนูญด้วยวิธีไม่ปกติ ซึ่งเราไม่ประสงค์ให้เกิดขึ้น จึงเป็นที่มาว่าทำไมพรรคต้องยื่นเงื่อนไขเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ ว่าถ้าร่วมรัฐบาล รัฐบาลต้องเสนอการแก้ไขรัฐธรรมนูญในนามรัฐบาลหรือกำหนดเป็นนโยบาย เพราะจะมีโอกาสเป็นไปได้มากกว่า นอกจากนั้นก็มีการเสนอเรื่องนโยบายที่ประชาธิปัตย์หาเสียงไว้กับประชาชนว่าถ้าจะฟื้นเศรษฐกิจต้องนับหนึ่งจากเศรษฐกิจฐานราก คือนโยบายประกันรายได้เกษตรกรของพรรค ต้องได้รับการพิจารณาบรรจุเป็นนโยบายของรัฐบาล ทั้งหมดจะต้องอยู่ที่พรรคแกนนำว่าจะตอบรับข้อเสนอนี้หรือไม่ ซึ่งเงื่อนไขทั้งสองข้อมีความสำคัญต่อการตัดสินใจว่าจะร่วมรัฐบาลหรือไม่ จึงต้องรอคำตอบจากพลังประชารัฐก่อนว่าจะรับข้อเสนอของพรรคหรือไม่.-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง