นักวิชาการ ชี้ต้องตีความคำถามพ่วงประชามติอย่างเคร่งครัด

IMG_3103มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 20 ส.ค. – นักวิชาการ ชี้ต้องตีความคำถามพ่วงประชามติอย่างเคร่งครัด ป้องกันปัญหาขัดแย้ง ไม่เช่นนั้นจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นและความชอบธรรมทางการเมือง ขณะเดียวกันมองว่า ส.ว.ที่มีจากการแต่งตั้งอาจมีอำนาจหน้าที่เกินบริบทที่จำเป็น


นายยุทธพร อิสรชัย รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวไทยถึงการที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เสนอเจตนารมณ์ของคำถามพ่วงประชามติเพื่อให้กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.)ปรับแก้ในบทเฉพาะกาลร่างรัฐธรรมนูญ โดยให้สภาชิกวุฒิสภา(สว.)สามารถเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีได้หากไม่รัฐสภาไม่สามารถเลือกนายกรัฐมนตรีจากบัญชีพรรคการเมืองได้ว่า ตามระบอบประชาธิไตยแบบรัฐสภา เรื่องการเลือกนายกรัฐมนตรีต้องมีความเชื่อมโยงกับประชาชนผ่าน ส.ส. แต่เมื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีส่วนคำถามพ่วงที่ให้ ส.ว.สามารถร่วมโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีได้จึงเป็นประเด็นที่ทำให้เกิดข้อถกเถียงมาตั้งแต่ต้นว่า ส.ว.ที่มาจากการแต่งตั้งจะมีบทบาทหรือมีอำนาจในการเลือกนายกรัฐมนตรีมากกว่า ส.ส. หรือไม่ เพราะระบบการเลือกตั้งแบบใหม่โอกาสที่พรรคการเมืองขนาดใหญ่จะได้เสียงข้างมากในสภาจะยากขึ้น ดังนั้นพรรคที่ใหญ่ที่สุดหลังการเลือกตั้งจะเป็น พรรคส.ว.หรือไม่ เพราะมีอำนาจในการร่วมโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี มีกระบวนการตรวจสอบ ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นต้น ขณะที่ตอนนี้ สนช.พยายามตีความว่าการให้ ส.ว.มาร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีควรจะเริ่มตั้งแต่กระบวนการเสนอรายชื่อนายกรัฐมนตรี ซึ่งตามความเป็นจริงเรื่องนี้ต้องตีความอย่างเคร่งครัด เพราะในคำถามพ่วงที่ประชาชนได้อ่านมีเพียงข้อความ 3 บรรทัดเท่านั้น หากไม่ตีความตามที่เขียนไว้อาจมองได้ว่านี่เป็นใบผ่านทาง หรือ การตีเช็คเปล่าหรือไม่ และอาจส่งผลกระทบระยะยาวต่อตัวรัฐธรรมนูญ ต่อความน่าเชื่อถือของ สนช. และ กรธ.ชุดนี้ อย่างไรก็ตามในท้ายที่สุดจะต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการแก้ไขผิดกับเจตนารมณ์หรือไม่

“ส่วนตัวเชื่อว่าศาลรัฐธรรมนูญจะตีความอย่างเคร่งครัด เพราะหากตีความอย่างกว้าง โอกาสที่จะเกิดปัญหาทางการเมืองตามมาก็มีมากและอาจส่งผลไปถึงการเลือกตั้ง อย่างที่เคยมองไว้ตั้งแต่ต้นว่าความขัดแย้งเรื่องการลงประชามติคงไม่มาก แต่ความขัดแย้งอาจมีขึ้นได้หลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้ เพราะจะเกิดการเดินหน้าหลายส่วน เช่นการมี ส.ว.ที่มาจากการแต่งตั้ง มีนายกรัฐมนตรีที่มาจากคำถามพ่วง ซึ่งอาจทำให้เกิดปมความขัดแย้งจากคนที่มีความเห็นไม่ตรงกัน “นายยุทธพร กล่าว


เมื่อถามว่าการตีความที่ไม่ตรงไปตามตัวอักษร ที่ใช้ในคำถามพ่วงประชามติจะขัดกับหลักการหรือไม่ นายยุทธพร กล่าวว่า ที่จริงแล้ว สนช.ควรเขียนกรอบให้ชัดเจนว่าการเลือกนายกรัฐมนตรี ส.ว.มีหน้าที่ในการร่วมลงมติเลือกเท่านั้น ไม่ได้เป็นผู้เสนอชื่อ แต่ลักษณะของคำถามไม่ชัดเจน ทำให้ตีความเพราะ ส.ส.และส.ว.อาจต้องมาดูเรื่องอำนาจหน้าที่ว่ามีมากแค่ไหน เป็นโอกาสที่เปิดช่องให้ตีความที่หลากหลาย ซึ่งการทำประชามติคือการให้ประชาชนมีส่วนร่วม ดังนั้นการสอบถามประชาชนจำเป็นต้องมีลักษณะที่ตรงไปตรงมา มีความซื่อสัตย์ทางการเมืองเมื่อประชาชนที่เป็นเจ้าของประชาธิปไตย มีความเข้าใจและตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกตามกรอบที่เขียนมา ดังนั้นก็ไม่ควรตีความให้เกินกรอบที่เขียนมา ไม่เช่นนั้นจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นและความชอบธรรมทางการเมือง อำหน้าหน้าที่ของ ส.ว.อาจเกินบริบทที่จำเป็น ซึ่งคำถามที่คำคัญคือ เรามี ส.ว.เพื่ออะไร หากสามารถตอบโจทย์ได้ก็จะสามารถวางกรอบการทำงานของ ส.ว.ได้ชัดเจน สำหรับมุมมองของ สนช.ที่กังวลว่าจะเกิดสูญญากาศทางการเมืองหาก ส.ส.ไม่สามารถเลือกนายกรัฐมนตรี นั้น การตีความว่าจะเกิดสูญญากาศอาจเป็นการตีความแค่มุมเดียว เพราะกระบวนการในรัฐธรรมนูญกำหนดกลไกไว้อย่างชัดเจน และมีลำดับชั้นอยู่แล้ว.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 เข้าพบนายกฯ

“โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 เข้าพบ “แพทองธาร” นายกฯ ชื่นชมเป็นคนเก่ง-มองโลกบวก เป็นหน้าตาของประเทศ นำเสนอวัฒนธรรม-ซอฟต์พาวเวอร์ ผ่านการประกวด พร้อมชวนร่วมงานรัฐบาล สร้างแรงบันดาลใจเด็กๆ ขณะที่ นายกฯ เขินถูกชมว่าตัวจริงสวย

ล้มล้างการปกครอง

ศาล รธน.มีมติเสียงข้างมากไม่รับคำร้อง “ทักษิณ-พท.” ล้มล้างการปกครอง

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมากไม่รับคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ขอให้ศาลวินิจฉัยว่า “ทักษิณ-พรรคเพื่อไทย” ล้มล้างการปกครอง

คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญถกคำร้อง “ทักษิณ-เพื่อไทย” ล้มล้างฯ

จับตา ศาลรัฐธรรมนูญ “รับ/ไม่รับ” คำร้องปม “ทักษิณ-พรรคเพื่อไทย” ใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองหรือไม่