“กฤษฎา” สั่งกรมชลฯ -ฝนหลวงเร่งช่วยภัยแล้งอีสานใต้

กรุงเทพฯ 29 มี.ค. –  รัฐมนตรีเกษตรฯ สั่งการด่วนกรมฝนหลวง เร่งทำฝนช่วยพื้นที่เพาะปลูกอ้อยจังหวัดบุรีรัมย์ หลังขาดน้ำ 2 เดือน พร้อมกันนี้ให้กรมชลประทานสูบน้ำจากห้วยจระเข้มากเพื่อช่วยเหลือพื้นที่เกษตร



นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวว่า ได้เดินทางมาติดตามผลการทำฝนหลวง จังหวัดบุรีรัมย์ ตามที่นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สั่งการให้ทุกหน่วยงานบูรณาการบรรเทาภัยแล้งทั่วประเทศ จังหวัดบุรีรัมย์มีพื้นที่ปลูกอ้อยจำนวนมากขาดน้ำมา 2 เดือนกว่าแล้ว ส่งผลให้ต้นที่แตกใหม่แห้งตายและแคระแกรน จึงได้บินปฏิบัติการทำให้มีฝนตกลงมาในอำเภอเมือง สตึก ห้วยราช บ้านด่าน กระสัง  คูเมือง และแคนดงปริมาณมาก ทำให้เกษตรกรดีใจเป็นอย่างยิ่ง สำหรับวันนี้หน่วยปฏิบัติการฯ จังหวัดบุรีรัมย์ขึ้นบินปฏิบัติการภารกิจที่ 1 ขั้นตอนที่ 2 โดยมีเป้าหมายเพื่อบรรเทาสถานการณ์ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและช่วยเหลือพื้นที่เกษตรตอนล่างของจังหวัดร้อยเอ็ด


นายสุรสีห์ กล่าวเพิ่มเติมว่า วันที่ 1 เมษายนนี้จะย้ายอากาศยานไปรวมที่หน่วยปฏิบัติการจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งขยายหน่วยให้ใหญ่ พร้อมทั้งได้รับการสนับสนุนเครื่องบินจากกองทัพอากาศอีก 2 ลำ รวมกับฝนหลวง 3 ลำ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะตอนใต้ของภาคซึ่งประสบภัยแล้งรุนแรง ส่วนหน่วยปฏิบัติการจังหวัดบุรีรัมย์กำหนดให้เป็นฐานเติมสารฝนหลวง เมื่อบินมาปฏิบัติการสามารถลงเติมสารฝนหลวง เพื่อปฏิบัติการต่อเนื่องได้ทันที ทั้งนี้ สภาพอากาศไม่ได้เอื้อต่อการทำฝนทุกวัน จึงต้องตรวจสอบค่าความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ดัชนีค่าการยกตัวของเมฆอย่างใกล้ชิดช่วงชิงจังหวะขึ้นปฏิบัติการ เพื่อเติมน้ำในอ่างเก็บน้ำ แหล่งน้ำธรรมชาติสำหรับอุปโภคบริโภคด้วย


ด้านนายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า เร่งช่วยเหลือกลุ่มเกษตรในเขตพื้นที่ชลประทานของคลองส่งน้ำฝั่งขวาอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ ซึ่งสถานการณ์น้ำเมื่อสิ้นฤดูฝนเมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา อ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มากมีปริมาณน้ำในอ่างฯ เพียง 800,000 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) หรือประมาณร้อยละ 3 ของความจุอ่างฯ ต่ำกว่าปริมาณน้ำใช้การได้ ส่งผลให้ไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนการปลูกพืชฤดูแล้งได้ จึงขอความร่วมมือจากเกษตรกรงดทำการเพาะปลูกพืชในช่วงฤดูแล้งนี้ โดยได้ชี้แจงผ่านกลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มากตั้งแต่ต้นฤดูแล้งแล้ว แต่มีเกษตรกร 20 รายยังคงเพาะปลูกพืชฤดูแล้งรวมพื้นที่ 55 ไร่ โดยอาศัยน้ำที่รั่วซึมจากระบบการผลิตน้ำประปาไหลลงสู่คลองชลประทานประมาณวันละ 3,000 ลบ.ม. จนกระทั่งเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาการประปาส่วนภูมิภาคสาขาบุรีรัมย์ได้ปรับปรุงระบบการผลิตน้ำประปา เพื่อลดการสูญเสียน้ำจากการผลิต จึงไม่มีน้ำจากการรั่วซึมจากระบบการผลิตน้ำประปาไหลลงคลองชลประทานอีก ทำให้เกษตรกรไม่มีน้ำใช้ เบื้องต้นโครงการชลประทานบุรีรัมย์ลงพื้นที่เพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกับเกษตรกร โดยได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำขนาด 8 นิ้ว 1 เครื่องเพื่อสูบน้ำจากลำห้วยจระเข้มากเข้าไปช่วยเหลือพื้นที่เกษตรดังกล่าวแล้ว.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง