ทีดีอาร์ไอ เสนอ สินเชื่อสีเขียวสู่ “เกษตรยั่งยืน”


กรุงเทพฯ 26 ก.พ.-ทีดีอาร์ไอ  เสนอมาตรการปรับทิศการทำเกษตรด้วยกระบวนการที่ยั่งยืน ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต ไปจนถึงการจำหน่ายสินค้าถึงมือผู้บริโภค แนะมาตรการพักชำระหนี้หรือ เงินสินเชื่อสีเขียว (Green Credit)  เสริมแกร่งให้เกษตรกรไทยพร้อมเปลี่ยนผ่านสู่การทำเกษตรยั่งยืน


ในงานประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อ “มาตรการเพื่อส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนในภาคเกษตร” จัดโดย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ร่วมกับ องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) ประเทศไทย  นางกรรณิการ์ ธรมพานิชวงค์ นักวิชาการทีดีอาร์ไอ เปิดเผยผลการศึกษาว่า ภาคการเกษตรของประเทศไทย เป็นแหล่งผลิตอาหาร แหล่งจ้างงานและสร้างรายได้ที่สำคัญ แต่การขยายตัวของภาคเกษตรนำมาซึ่งปัญหาหลายด้าน เช่น  ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรม ปัญหาการสูญเสียหน้าดิน ปัญหามลพิษทางน้ำและทางอากาศ เป็นต้น 

เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงมีการนำแนวคิดสนับสนุนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนมาใช้ในภาคเกษตรของไทย โดยจำเป็นต้องอาศัยมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ กฎหมาย ฯลฯ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ปรับเปลี่ยนมาใช้ปัจจัยการผลิตและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 

มาตรการสำคัญที่จะทำให้เกิดความยั่งยืน ได้แก่ 1.แก้ปัญหาเกษตรแบบไม่ยั่งยืน ด้วยการ ไม่ส่งเสริมการบุกรุกป่า และส่งเสริมผู้บุกรุกป่าเดิมปรับเปลี่ยนจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว มาปลูกพืชผสมผสานแบบปราศจากสารเคมี ,2. ควรนำมาตรการพักชำระหนี้ให้กับเกษตรกรที่ต้องการปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรแบบยั่งยืน รวมถึงการให้เงินสินเชื่อสีเขียว (Green Credit)  เพื่อเป็นเงินทุนให้เกษตรกรใช้เป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียน โดยให้อัตราดอกเบี้ยแบบพิเศษ 


3. ใช้มาตรการทางภาษี ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บภาษีสารเคมีเกษตร เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรเปลี่ยนมาใช้สารทางชีวภาพเพื่อกำจัดศัตรูพืช และการลดหย่อนภาษีให้ผู้ประกอบการที่สนับสนุนสินค้าเกษตรยั่งยืน อย่างไรก็ดี ก่อนที่ภาครัฐจะดำเนินการเก็บภาษีสารเคมี จำเป็นต้องมีการวิจัยและพัฒนาสารชีวภาพที่ใช้ทดแทนสารเคมีและไม่กระทบผลิตผล (Yield)

ปัจจุบันตลาดสินค้าเกษตรยั่งยืนยังมีช่องทางการจำหน่ายที่จำกัดและเข้าถึงยาก ดังนั้น มาตรการเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญคือ การเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตรยั่งยืนและสร้างตลาดท้องถิ่น มีการกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรยั่งยืนที่เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศและระดับสากลเพื่อรับรองสินค้าสำหรับการส่งออก มีการใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค นอกจากนี้ควรมีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าเกษตรยั่งยืนไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้บริโภคด้วย

-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง