CHES ยื่นหนังสือ ป.ป.ช.ยืนหยัด ‘สภามหาวิทยาลัยยื่นบัญชีทรัพย์สิน’

กทม.18 ธ.ค.-CHES ยื่นหนังสือถึง ป.ป.ช.เรียกร้องให้กล้ายืนหยัดในความถูกต้อง กรณีสภามหาวิทยาลัยต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน ด้านป.ป.ช.เตรียมหารืออีกครั้ง 4 ม.ค.ปีหน้า


นพ.สุธีร์ รัตนะมงคลกุล ผู้ประสานงานศูนย์ประสานงานบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (CHES) ร่วมกับ ผศ.วิริยะ ศิริชานนท์ ประธานที่ประชุมประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการแห่งประเทศไทย (ทปสท.) พร้อมกับประธานที่ประชุมประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง (ทป.มรภ.) และประธานกลุ่มส่งเสริมธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย (สธม.) นัดรวมตัวกันที่สำนักงาน ป.ป.ช. เพื่อมาให้กำลังใจในการทำหน้าที่ที่ผ่านมาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่มุ่งมั่นยืนหยัดให้เกิดการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามกฎหมาย กรณีการยื่นบัญชีทรัพย์สินของสภามหาวิทยาลัยอย่างเปิดเผย แม้จะถูกแรงกดดันจากผู้มีอำนาจหลายกลุ่มและรัฐบาล จนในที่สุดรัฐบาลและ คสช. ต้องเป็นผู้ออกคำสั่ง ม.44 มาล้มล้างกฎหมายการยื่นบัญชีทรัพย์สินที่ตัวเองร่างขึ้นมากับมือเสียเอง ซึ่งถือว่าเป็นการบังคับและแทรกแซงการทำงานขององค์กรอิสระอย่าง ป.ป.ช.และทำลายระบอบนิติรัฐลงอย่างสิ้นเชิง โดยหารือร่วมกับนายพงศ์เอก วิจิตรกุลผู้ช่วยเลขาธิการ ป.ป.ช.


โดยการหารือเป็นการยืนยันเจตนารมณ์ของกลุ่มฯ และประชาชนในสังคม ที่ต้องการเห็น ป.ป.ช.เป็นเสาหลักในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในประเทศไทยอย่างแท้จริง โดยจะไม่สยบยอมต่ออำนาจใดที่เข้ามาแทรกแซงการทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น และต้องรักษามาตรฐานที่สูงในการทำงาน เพื่อให้เป็นที่พึ่งในด้านความเป็นธรรมและความโปร่งใสในสายตาของประชาชน โดยเฉพาะต้องแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นยืนหยัดในการป้องปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบอย่างถึงที่สุด ไม่เลือกปฏิบัติหลายมาตรฐาน โดยมุ่งมั่นจัดให้มีการยื่นบัญชีทรัพย์สินของสภามหาวิทยาลัยดังเดิม ในช่องทางที่ยังพอทำได้ในขณะนี้ แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจาก ม.44 ล่าสุดที่ คสช. ประกาศออกมาแทรกแซงอำนาจ ป.ป.ช.ก็ตาม แต่นับจากนี้ ป.ป.ช. จะต้องไม่ถอยอีก จะต้องแสดงให้สังคมเห็นว่าได้ออกมาตรการป้องปรามที่เข้มแข็ง กำหนดอย่างชัดเจนให้สภามหาวิทยาลัยที่มีผลต่อการใช้อำนาจทางปกครองและอนุมัติงบประมาณ ต้องยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินตามข้อกำหนดของกฎหมายอย่างไม่มีเงื่อนไข


นอกจากนี้ ทางกลุ่มฯยืนยันว่าจะเฝ้าจับตาเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ป.ป.ช.จะทำตามเจตนารมณ์และความต้องการของประชาชนในสังคม ไม่มีการโอบอุ้มคนเพียงส่วนน้อยที่ต้องการละเมิดกติกาที่ถูกต้องชอบธรรมตามกฎหมายอีก และทางกลุ่มฯ ยังพิจารณาถึงทางเลือกอื่นเพิ่มเติมที่อาจจะยื่นฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญกรณี ม.44 ฉบับนี้ได้ทำลายหลักการและละเมิดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน โดยทาง ป.ป.ช. จะจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นในเรื่องนี้อีกครั้งในวันที่ 4 มกราคม 2562 และจะเชิญทาง CHES และองค์กรพันธมิตร เข้าร่วมประชุมในวันดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง.-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง