พาณิชย์พอใจยอดใช้สิทธิ์ FTA-GSP แตะ 36,000 ล้านดอลลาร์ฯ

นนทบุรี 15 ส.ค. – พาณิชย์พอใจมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าแตะ 36,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เตรียมประเมินมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ จากร้อยละ 9 เป็นร้อยละ 10 


นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ แถลงการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) และภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP)  โดยในช่วงครึ่งปีแรก (ม.ค.-มิ.ย.61) มูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ รวมอยู่ที่ 36,435.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีอัตราการใช้สิทธิประโยชน์ฯ อยู่ที่ร้อยละ 73.72 ขยายตัวจากช่วงเวลาเดียวกันปีที่ผ่านมาร้อยละ 18.66 แบ่งเป็นมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้  FTA 34,192.94 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 75.15 ของมูลค่าการส่งออกรวมภายใต้ความตกลงการค้าเสรีไปยังประเทศคู่ภาคีความตกลง และเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 20.05 และมูลค่าการส่งออกภายใต้ GSP 2,242.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 

ทั้งนี้ ตลาดส่งออกที่ไทยมีมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ อาเซียน มูลค่า 12,901.81 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จีน มูลค่า 8,610.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ออสเตรเลีย มูลค่า 4,735.93 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ญี่ปุ่น มูลค่า 3,677.85 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และอินเดีย มูลค่า 2,237.49 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยความตกลงการค้าเสรีที่มีอัตราการใช้สิทธิประโยชน์สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย ร้อยละ 93.98 ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน ร้อยละ 89.11 และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ร้อยละ 88.43 


อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาอัตราการขยายตัวของมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ แยกตามตลาดพบว่าทุกตลาดยกเว้นนิวซีแลนด์มูลค่าการส่งออกภายใต้สิทธิประโยชน์ความตกลงการค้าเสรีขยายตัว 2 หลัก เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดที่มีอัตราการขยายตัวสูงสุด คือ จีน ซึ่งมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 29.93 รองลงมา คือ ตลาดอินเดียและออสเตรเลีย ตามลำดับ แม้ว่าอินเดียจะเป็นตลาดที่มีมูลค่าการส่งออกภายใต้สิทธิประโยชน์สูงเป็นอันดับ 5 คือ อยู่ที่ 2,237.49 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 25.98 เมื่อพิจารณาอัตราการใช้สิทธิประโยชน์พบว่ามีอัตราการใช้สิทธิประโยชน์เพียงร้อยละ 50.03 จึงอาจกล่าวได้ว่าตลาดอินเดียยังคงมีโอกาสที่เปิดกว้างสำหรับผู้ประกอบการที่จะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีซึ่งรัฐได้จัดทำขึ้น สำหรับตลาดที่มีความสำคัญทั้งในแง่มูลค่าและการใช้สิทธิประโยชน์ คือ จีน ออสเตรเลีย และอาเซียน ซึ่งเป็นตลาดที่มีมูลค่าและอัตราการใช้สิทธิประโยชน์สูงในอันดับต้น ขณะเดียวกันมีอัตราการขยายตัวระดับสูงอย่างต่อเนื่อง สำหรับรายการสินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ รถยนต์บรรทุก รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ผลิตภัณฑ์ยางสังเคราะห์ผสมยางธรรมชาติน้ำตาลจากอ้อย และเครื่องปรับอากาศ 

ส่วนการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ GSP ปัจจุบันไทยยังคงได้รับสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบ GSP 5 ระบบ ประกอบด้วย ญี่ปุ่น สวิสเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ สหรัฐอเมริกาและรัสเซีย และเครือรัฐเอกราช ทั้งนี้ ตลาดส่งออกสำคัญของไทยทั้งเชิงมูลค่าและอัตราการใช้สิทธิประโยชน์ คือ สหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งปีแรก มูลค่าการใช้สิทธิ GSP อยู่ที่ 2,242.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 57.15 ของมูลค่าการส่งออกภายใต้สิทธิ GSP รวม ซึ่งมีมูลค่า 3,923.58 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และหากเปรียบเทียบมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบ GSP ทั้งหมด พบว่ากว่าร้อยละ 90 เป็นการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบ GSP สหรัฐอเมริกา โดยในช่วงครึ่งปีแรกมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบ GSP สหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 2,091.32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 68.16 ของมูลค่าการส่งออกในรายการสินค้าได้สิทธิ GSP จากสหรัฐอเมริกามีมูลค่า 3,068.34 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมาร้อยละ 5.27 โดยสินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ ภายใต้ระบบ GSP สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ เครื่องดื่มอื่น ๆ ถุงมือยาง อาหารปรุงแต่ง และรถจักรยานยนต์ ซึ่งรายการสินค้าข้างต้นสหรัฐอเมริกาจะยกเว้นภาษีนำเข้าให้แก่สินค้าไทยที่ส่งออกภายใต้สิทธิพิเศษ GSP 

จากที่กรมการค้าต่างประเทศประเมินว่ามูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าจะมีอัตราการขยายตัวไม่น้อยกว่าอัตราการขยายตัวของการส่งออกรวมที่ร้อยละ 9 และเมื่อพิจารณามูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ ในช่วงครึ่งปีแรก ซึ่งมีมูลค่า 36,455.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งแบ่งเป็นมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ ภายใต้ FTA 34,192.94 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ ภายใต้ GSP 2,242.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้กรมฯ มั่นใจว่ามูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ จะบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณามูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นผลมาจากการขยายตัวของการส่งออกที่สอดคล้องกับการเติบโตของภาวะเศรษฐกิจโลก ประกอบกับ การปรับปรุงระบบการให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าที่สะดวกรวดเร็ว ลดขั้นตอนและค่าใช้จ่าย รวมถึงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการตระหนักถึงสิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีต่าง ๆ กรมฯ จึงอยู่ระหว่างการประเมินความเป็นไปได้ที่จะปรับเพิ่มเป้าหมายการขยายตัวของมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ จากร้อยละ 9 เป็นร้อยละ 10 เป็นต้น. – สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ข่าวแนะนำ

ซุ้มไฟเฉลิมพระเกียรติฯ สุดตระการตา รับประเพณียี่เป็ง

ยามค่ำคืนในตัวเมืองเชียงใหม่ ประดับประดาด้วยแสงไฟรับประเพณียี่เป็ง หรือลอยกระทงเชียงใหม่ โดยเฉพาะบนถนนท่าแพ มีการสร้างซุ้มประดับไฟเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จำนวน 14 ซุ้ม ยาวกว่า 200 เมตร.

“ฟิล์ม รัฐภูมิ” ตั้งโต๊ะแจงปมรีดทรัพย์ รับอ้างชื่อ “หนุ่ม กรรชัย” เพื่อขายงาน

“ฟิล์ม รัฐภูมิ” ตั้งโต๊ะแจงปมเรียกรับเงิน 20 ล้านบาท จากดิไอคอน ยอมรับอ้างชื่อ “หนุ่ม กรรชัย” เพราะต้องการขายงาน

คุมตัว “ตี่ลี่ฮวงจุ้ย” ฝากขัง เจ้าตัวเงียบรีบเดินขึ้นรถตู้

ตำรวจกองปราบคุมตัว “ตี่ลี่ฮวงจุ้ย” ฝากขัง ผู้ต้องหาปัดตอบสื่อ ด้านพนักงานสอบสวนคัดค้านการประกันตัว เพราะมีพฤติการณ์หลบหนี