ผลวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์อาหารในไทยร้อยละ 99 ปลอดไขมันทรานส์

สำนักข่าวไทย 23 ก.ค.-นักวิชาการ ยืนยันไขมันทรานส์ในไทยพบน้อย ร้อยละ1 เกิดจากกระบวนการผลิตและกฎหมายสกัดตั้งแต่ต้นทาง ขณะที่ปัจจัยการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด มาจากการรับประทานไขมันอิ่มตัวมากเกินไป ขาดการออกกำลังกาย 


ศาสตราจารย์วิสิฐ จะวะสิต อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะหัวหน้าวิจัยโครงการประเทศไทยปลอดไขมันทรานส์ กล่าวถึงกระแสความตื่นตัวของสังคมไทยต่อการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนหรือไขมันทรานส์ และอาหารที่มีไขมันทรานส์เป็นส่วนประกอบ เป็นอาหารห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ว่า ประเทศไทยรับอิทธิพลการทำขนมอบ หรือเบเกอรี่ ที่มีสูตรจากต่างประเทศ ทั้งพัพ พาย โดนัท  ซึ่งกระบวนการในการทำขนมน้ำมันที่ใช้ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนทำให้เกิดไขมันทรานส์ 


อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาประเทศไทยได้ขอความร่วมมือกับผู้ประกอบการผลิตน้ำมัน และมีการปรับสูตรผลิตน้ำมันแล้ว ไม่มีการเติมไฮโดรเจน    เข้าไปแล้ว แต่มีผู้ผลิตเบเกอรี่ ไม่กี่เจ้าที่ฝ่าฝืน  แต่หลังกฎหมายดังกล่าวบังคับใช้แล้วก็จะไม่มีในท้องตลาด 


สำหรับผลิตภัณฑ์กลุ่มเนยขาว มาการีน ที่วางขายในท้องตลาดของไทยที่ประชาชนกังวลกันอยู่นั้น  ก็ขอย้ำว่ามีการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต  ไม่มีการเติมไฮโดรเจนบางส่วน  ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่พบไขมันทรานส์ในท้องตลาดไทยสัดส่วนไม่ถึงร้อยละ 1 ส่วนอีกร้อยละ 99 ปลอดภัย 

ศาสตราจารย์วิสิฐ กล่าวต่อว่า ที่จริงแล้วไขมันที่ทำให้คนไทยป่วยเป็นโรค หัวใจหลอดเลือด มาจากไขมันอิ่มตัวมากกว่าไขมันทรานส์ แต่ที่ต้องออกกฎหมายมาเพื่อห้ามผลิต นำเข้าหรือจำหน่ายน้ำมันทรานส์เพราะในหลายประเทศที่เป็นแหล่งผลิตอาหารและต้นเป็นกำเนิดของไขมันทรานส์ต่างก็ออกมีกฎหมายควบคุมแล้ว เพราะฉะนั้นไขมันทรานส์ที่เขาผลิตแล้วอาจจะถูกส่งไปที่อื่นแทน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องออกกฎหมายเพื่อป้องกันไม่ให้มีการไหลเข้ามาของไขมันทรานส์ ในประเทศ

ศาสตราจารย์วิสิฐ กล่าวด้วยว่า ในแต่ละวัน ควรกินไขมันทรานส์ไม่เกินร้อยละ 1 ของปริมาณพลังงานทั้งหมดที่ได้รับต่อวัน หรือส่วนไขมันอิ่มตัวกินไม่เกินร้อยละ 10 ต่อวัน ดังนั้นขอให้รับประทานให้พอเหมาะและออกกลังกายเป็นประจำ

ด้าน รองศาสตราจารย์วันทนีย์ เกรียงสินยศ ประธานหลักสูตรโภชนาการและการกำหนดสูตรอาหาร สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า สาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของประชากรโลกคือโรคหัวใจและหลอดเลือด และสาเหตุของการเกิดโรคดังกล่าวเพราะพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีไขมันมากเกินไปและขาดการออกกำลังกาย ซึ่งไขมันทรานส์ จะเข้าไปทำให้ไขมันดี (HDL) ลดลง

 

ขณะเดียวกันก็ไปทำให้ไขมันเลว(LDL)เพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับไขมันอิ่มตัว ถ้ากินเยอะก็ทำให้ไขมัมนเลวเพิ่มขึ้นเหมือนกัน ซึ่งถ้าดูตามลักษณะพฤติกรรมของคนในแต่ละประเทศแล้ว ยืนยันว่าการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประเทศไทย รวมถึงโรคหัวใจและหลอดเลือดในประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่เกิดจากการรับประทานไขมันอิ่มตัวมากเกินร้อยละ 10 ของพลังงานทั้งหมดที่ได้รับในแต่ละวัน .-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สามีเข้าเกียร์ค้างไว้ สตาร์ทรถพุ่งชนภรรยาดับ

สลด! สามีขับรถใส่เกียร์ค้างไว้ สตาร์ทรถพุ่งชนภรรยาเสียชีวิตในบ้านพักย่านวิภาวดี ตำรวจยังไม่ปักใจเชื่อคำให้การเบื้องต้น นำตัวสอบปากคำอย่างละเอียดอีกครั้ง

คุมฝากขัง “เอ็ม เอกชาติ” เจ้าตัวปิดปากเงียบ

ตร.ไซเบอร์คุมตัว “เอ็ม เอกชาติ” ฝากขัง เจ้าตัวปิดปากเงียบ ไม่ตอบคำถามสื่อ ด้านตำรวจพบเส้นทางการเงินจากเว็บพนัน กว่า 30 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ระดมทีมค้นหาสุดกำลัง ช่วยผู้ที่ติดค้างใต้ซากตึกถล่ม

ระดมทีมค้นหาสุดกำลัง ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ที่ติดค้างใต้ซากอาคาร สตง. ถล่มจากเหตุแผ่นดินไหว ทุกภาคส่วนยังทำงานแข่งกับเวลาและสภาพอากาศที่ร้อนจัด ล่าสุดมีรายงานพบร่างผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 4 ราย

“อนุทิน” เซ็นตั้ง คกก.สอบอาคาร สตง.ถล่มจากแผ่นดินไหว

“อนุทิน” เซ็นตั้ง คกก.สอบ หลังตึก สตง.ถล่มจากเหตุแผ่นดิน​ไหว​เพียงตึกเดียว​ คาดรู้ผลใน 7 วัน ยันไล่บี้ตั้งแต่แบบอาคารและการก่อสร้าง ชี้ทั้งบริษัทไทย-จีน​ ต้องรับผิดชอบเต็มร้อย ​ขณะทูตจีนพาผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวพบ

บกปภ.ช. รายงานสถานการณ์แผ่นดินไหว เสียหาย 18 จังหวัด

บกปภ.ช. รายงานสถานการณ์แผ่นดินไหว เสียหายเพิ่มขึ้นเป็น 18 จังหวัด เฉพาะกรุงเทพฯ เสียชีวิต 9 ราย สูญหาย 79 ราย ยังคงเร่งค้นหาผู้รอดชีวิตจากอาคารถล่ม ขณะที่กรมบัญชีกลางขยายวงเงินทดรองราชการเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน 200 ล้านบาท

ยังไม่หมดหวัง กทม. เดินหน้าเต็มที่กู้ชีพตึกถล่ม

ยังไม่หมดหวัง กทม. เดินหน้าเต็มที่กู้ชีพตึกถล่มจตุจักร เข้าสู่ 48 ชม. นานาชาติร่วมส่งเครื่องมือช่วยเหลือ พร้อมเร่งจัดการจราจรให้ทันวันพรุ่งนี้