ตรวจพบบ่อกักเก็บกากแร่ที่ 1เหมืองอัคราฯ รั่วซึม


 กรุงเทพฯ 21 ม.ค.-คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา
ข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการทำเหมืองแร่ทองคำ อัครา
มีมติเห็นชอบผลตรวจสอบบ่อกักเก็บกากแร่ที่ 1 รั่วซึม
พื้นที่เสี่ยงกระจายตัวของแมงกานีส สารหนู  และเหล็ก เพิ่มขึ้น
สั่งแก้ไขด่วน


               
นายพสุ
โลหารชุน
ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมและประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา
ข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการทำเหมืองแร่ทองคำของบริษัท อัครา
รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน)
 เปิดเผยว่า
คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา ข้อขัดแย้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการทำเหมืองแร่ทองคำของบริษัท
อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ นักวิชาการ
องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคประชาชน และผู้แทนของบริษัท อัคราฯ มีมติตรงกันว่า
บ่อกักเก็บกากแร่ที่ 1 (
TSF1) มีการรั่วซึม และอาจเป็นสาเหตุการแพร่กระจายของโลหะหนัก
เพิ่มเติมจากโลหะหนักที่อาจเกิดอยู่แล้วตามธรรมชาติ
  หลังจากที่ได้มีการรับฟังและพิจารณาจากรายงานผลการศึกษาโครงการ การสำรวจตรวจสอบโอกาสการรั่วไหลของสารพิษจากบ่อกักเก็บกากแร่ที่ 1 (TSF1) ของเหมืองทองคำ บริษัท อัครา รีซอร์สเซส
 จำกัด (มหาชน) จังหวัดพิจิตร” ซึ่งมี ผศ.ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
และคณะ เป็นผู้ศึกษาโครงการ โดยผลการศึกษามีข้อบ่งชี้ว่า
พบความผิดปกติทางความต้านทานไฟฟ้าแสดงถึงการรั่วไหลของน้ำเหมืองจากบ่อกักเก็บกากแร่ที่
1 และพบความผิดปกติของธรณีเคมีร่วมกับไอโซโทป โดยระบุว่ามีร่องรอยการไหลของน้ำเหมืองจากบ่อกักเก็บกากแร่ที่
1 ไปถึงบ่อสังเกตการณ์ และบริเวณนาข้าวตามที่มีการร้องเรียนจากชาวบ้าน

                 ประกอบกับข้อมูลการเพิ่มความถี่ในการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำผิวดินและน้ำใต้ดินอย่างต่อเนื่องของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
(กพร.) และรายงานการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมของบริษัท
อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ที่พบว่า
ภายหลังหยุดการประกอบกิจการ ในปี 2560 – 2561
คุณภาพน้ำผิวดินและน้ำบ่อสังเกตการณ์มีค่าโลหะหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
และเมื่อตรวจสอบข้อมูลทางด้านเทคนิคเกี่ยวกับการก่อสร้างบ่อกักเก็บกากแร่ พบว่า
น้ำในบ่อกักเก็บกากแร่สามารถซึมผ่านชั้นดินเหนียวได้หลังจากมีการใช้งานไปแล้วประมาณ
1 ปี
  อีกทั้งพบว่า คุณภาพน้ำในบ่อ Seepage ซึ่งรองรับน้ำซึมใต้ชั้นดินเหนียว และน้ำในบ่อ Underdrain มีคุณสมบัติของน้ำใกล้เคียงกัน

                 นอกจากนี้
ข้อมูลการประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่กระจายของโลหะหนักในพื้นที่รอบเหมืองแร่ทองคำของ
กพร. ซึ่งใช้ข้อมูลคุณภาพน้ำใต้ดินของบริษัท อัคราฯ ในปี 2544
 – 2558
ที่คณะทำงานย่อยประมวลผลข้อมูลและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้การรับรองแล้ว
เปรียบเทียบกับข้อมูลคุณภาพน้ำใต้ดินช่วงหยุดการประกอบกิจการทำเหมืองและโลหกรรม
ในปี 2560 – 2561 ที่บริษัท อัคราฯ รายงานต่อ กพร. พบว่า
ภายหลังการหยุดการทำเหมือง ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 72/2559
พื้นที่เสี่ยงที่มีการกระจายตัวของแมงกานีส สารหนู
  และเหล็ก เพิ่มขึ้นจากปี 2544 – 2558


                    คณะกรรมการฯ
ได้รับฟังความเห็นและพิจารณาอย่างถี่ถ้วนทั้งจากรายงานทางวิชาการ
และข้อมูลข้อเท็จจริงจากการตรวจสอบที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ
โดยคำนึงถึงผลกระทบด้านสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของประชาชนเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรก
ก่อนที่คณะกรรมการฯ ส่วนใหญ่จะมีมติดังกล่าว แม้ผู้แทนของบริษัท อัคราฯ
จะไม่เห็นด้วยก็ตาม
” ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าว

              นายวิษณุ ทับเที่ยง
อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
 กล่าวเพิ่มเติมว่า
กรณีผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำผิวดินและน้ำบ่อสังเกตการณ์มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
และมีการตรวจสอบพบว่า มีการแพร่กระจายของโลหะหนักบริเวณรอบพื้นที่เหมืองแร่ทองคำ
  ได้สั่งการให้บริษัท อัคราฯ
เฝ้าระวังคุณภาพน้ำอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งให้ปรับปรุงแก้ไขคุณภาพน้ำที่เป็นกรดบริเวณพื้นที่โครงการและคุณภาพน้ำในบ่อสังเกตการณ์ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
เพื่อป้องกันผลกระทบออกสู่สิ่งแวดล้อมภายนอกพื้นที่โครงการ
  ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมได้มอบหมายให้ กพร.
พิจารณาแนวทางในการดูแลประชาชนในพื้นที่เสี่ยงด้วย

                  ทั้งนี้ เหมืองอัครา มีบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด จำกัด
ผู้ประกอบการเหมืองแร่ของออสเตรเลีย เป็นผู้ถือหุ้น
 ได้ถูกคำสั่ง คสช.ปิดดำเนินการตั้งแต่ 1
ม.ค.2560 มีการร้องเรียนเพราะเกิดความเสียหาย ในขณะที่เหตุผลของการสั่งปิด
เนื่องจากประชาชนในพื้นที่มีการเรียกร้องเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อมก่อนหน้านี้ และกระทรวงอุตสาหกรรมมีการตั้ง
คณะกรรมการตรวจสอบ และพบผลกระทบดังกล่าว-สำนักข่าวไทย  

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง