4 ปีคสช.ปชช.พอใจบ้านเมืองสงบไม่พอใจเศรษฐกิจปากท้อง

กรุงเทพฯ 20 พ.ค-2 โพลใหญ่ตรงกัน “นิด้า-สวนดุสิต”
สำรวจความเห็นประชาชนครบรอบ 4 ปีคสช.พบส่วนใหญ่พอใจบ้านเมืองสงบเรียบร้อยไม่มีความวุ่นวายทางการเมือง
แต่ยังไม่พอใจการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจปากท้องของแพงราคาผลผลิตเกษตรตกต่ำ


 “นิด้าโพล”โดยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง
“4 ปี คสช.กับการคืนความสุขให้คนในชาติ
ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15 – 16 พฤษภาคม 2561 จำนวน 1,253 หน่วยตัวอย่าง
เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินและความสุขของคนในชาติ หลังจากครบรอบ
4 ปี ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยเมื่อถามถึงระดับความสุขของประชาชนพบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ
46.85 ระบุว่า มีความสุขเท่าเดิม
เพราะยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง การบริหารงานไม่ได้เปลี่ยนไปจากเดิม
เศรษฐกิจและค่าครองชีพยังสูงเช่นเดิม รองลงมาร้อยละ
27.69
ระบุว่า มีความสุขเพิ่มขึ้น เพราะ ไม่มีการชุมนุมและความวุ่นวายทาง คสช. และร้อยละ
25.46 ระบุว่ามีความสุขลดลง เพราะเศรษฐกิจปากท้องของประชาชนแย่ลง
ค่าครองชีพสูง

ส่วนความคิดเห็น ในประเด็นต่าง ๆ
ที่ทำให้มีความสุขมากที่สุด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่  ร้อยละ
52.99 ระบุว่าเป็นเรื่องของบ้านเมืองสงบเรียบร้อยไม่มีความวุ่นวายทางการเมือง
รองลงมาร้อยละ
16.76 ระบุว่า
ไม่มีประเด็นใดที่ทำให้มีความสุข และ ร้อยละ
9.66 ระบุว่า
เป็นการมุ่งแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน  


ท้ายสุด สุดท้ายเมื่อถามถึงประเด็นต่าง ๆ
ที่ยังไม่สามารถทำให้มีความสุข พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่  ร้อยละ
30.81 ระบุว่าเป็นการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในภาพรวม
รองลงมาร้อยละ
15.08 ระบุว่าเป็นการแก้ไขปัญหาปากท้องเกษตรกรและ
ร้อยละ
11.89 ระบุว่า เป็นการแก้ไขปัญหาค่าครองชีพประชาชน

            ขณะที่สวนดุสิตโพลมหาวิทยาลัยสวนดุสิต
ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น
1,346 คน ระหว่างวันที่ 15-19 พฤษภาคม 2561 ในโอกาสครบรอบ 4 ปี การบริหารประเทศของรัฐบาล คสช.
โดยการนำของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พบว่าสิ่งที่ประชาชน
สมหวัง
ใน 4 ปีรัฐบาล คสช. ส่วนใหญ่ ร้อยละ56.45
ระบุบ้านเมืองสงบ 
ไม่มีการชุมนุมประท้วงที่รุนแรง รองลงมาร้อยละ
30.88 ระบุการใช้กฎหมายเด็ดขาด
เช่น ปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่น ยาเสพติด ผู้มีอิทธิพล และอันดับ
3ร้อยละ24.65คือการจัดระเบียบพื้นที่ต่าง ๆ เช่น
สถานที่ท่องเที่ยว พื้นที่ป่าไม้

           ส่วนสิ่งที่ประชาชน ผิดหวังใน 4 ปีรัฐบาล คสช.
คืออันดับ
1.เศรษฐกิจยังไม่ดีขึ้น สินค้าแพง
ประชาชนเดือดร้อน ร้อยละ
41.78 อันดับ 2มีการทุจริตคอรัปชั่นในโครงการต่าง
ๆ ของภาครัฐร้อยละ
34.22 และอันดับ 3แก้ไขปัญหาล่าช้า
ทำงานช้าร้อยละ
19.66


          และสุดท้ายสิ่งที่ประชาชนอยากฝากถึงรัฐบาล
คสช. ก่อนการเลือกตั้งจะมีขึ้นในปีหน้าประชาชนร้อยละ
32.02 ระบุจัดการเลือกตั้งโดยเร็ว หาแนวทางป้องกันการทุจริตเลือกตั้ง รองลงมาร้อยละ27.23ตั้งใจทำงาน ซื่อสัตย์ โปร่งใส ไม่เห็นแก่พวกพ้อง และอันดับ 3ร้อยละ23 อยากเห็นการแก้ปัญหาปากท้องของประชาชน
พัฒนาเศรษฐกิจให้ดีขึ้น สุดท้ายเป็นภาพรวมการทำงานคะแนนเต็ม
10 ประชาชนให้รัฐบาล คสช.  5.42  คะแนน.-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง