สถาบันราชานุกูล 21 มี.ค.- อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดงาน วันดาวน์ซินโดรมโลก ย้ำพัฒนาการเด็กพิเศษเหล่านี้แก้ไขได้ หากนำมาฝึกฝนตั้งแต่วัย 3-5 ปี เพื่อช่วยสามารถอยู่ร่วมในสังคม
นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเปิดงาน ดาวน์ดวงนี้ที่สร้างได้ เนื่องในวันดาวน์ซินโดรมโลก 21 มีนาคมว่า ปัญหาการไม่ยอมรับ ในความบกพร่องของเด็กดาวน์ซิมโดรม มีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่ยังต้องอาศัยความเข้าใจของผู้ปกครอง นำเด็กที่มีอาการเข้ารับการพัฒนา ทั้งศักยภาพและได้รับการฝึกฝนช่วยเหลือตัวเอง เพื่อการอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างปลอดภัย โดยพบว่าเด็กอายุ 3-5 ปี หากได้รับการพัฒนาอย่าางต่อเนื่องสามารถช่วยเหลือตนเองได้ และอาการดีขึ้น เนื่องจากอาการของดาวน์ซินโดรม ไม่สามารถรับการรักษาด้วย แต่อต้องเป็ยการบำบัดให้ทำกิจกรรม ฝึกพัฒนาทั้งการพูด สื่อสาร การช่วยเหลือตัวเอง
นพ.บุญเรือง กล่าวว่า สำหรับอาการของดาวน์ซินโดรม เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 21 มีการแบ่งเซลล์ผิดปกติ หลังจากไข่และอสุจิปฎิสนธิกันแล้ว โดยสามารถแก้ไขด้วยการตรวจน้ำคร่ำจากการฝากครรภ์ หรือขอรับคำปรึกษาเพื่อป้องกัน ตั้งแต่ก่อนมีบุตร โดยพบว่าหญิงที่มีอายุมากว่า 35 ปี หากมีการตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงทั่วไป ทั้งนี้พบอัตราการเกิดโรคดาวน์ซินโดรม 1ต่อ1,000 คน ภาวะดาวน์ซินโดรม จะทำให้เด็กที่เกิดมา มีไอคิวต่ำ พูดช้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง รูปร่างหน้าตาผิดปกติ เช่น หัวแบน หูเล็ก ตาเรียว คอสั้น เป็นต้น .-สำนักข่าวไทย