fbpx

ศูนย์วิจัยทองคำ เผยคนไทยนิยมทองคำน้ำหนัก 1 บาท

กรุงเทพ ฯ  1  ม.ค.  – ศูนย์วิจัยทองคำ เผยผลสำรวจคนไทยนิยมซื้อสร้อยคอทองคำ น้ำหนัก 1บาท  พบคนส่วนใหญ่ขายทองเมื่อต้องใช้เงินในภาวะฉุกเฉิน  


นายจิตติ ตั้งสิทธิ์ภักดี นายกสมาคมค้าทองคำ เปิดเผยผลสำรวจพฤติกรรมการบริโภคทองคำในประเทศไทย ว่าศูนย์วิจัยทองคำ ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่าง 926 คน จากทุกภูมิภาคของประเทศ  พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ  68   เคยซื้อทองรูปพรรณ โดยวัตถุประสงค์หลักเพื่อใช้เป็นเครื่องประดับและห้อยพระ มีความถี่ในการซื้อมากกว่า 2 เดือนต่อหนึ่งครั้ง  และ ร้อยละ 95 ของกลุ่มตัวอย่างที่เคยซื้อทองรูปพรรณ ซื้อทองรูปพรรณ ประเภทสร้อย รองลงมาคือแหวน และ สร้อยข้อมือ


นอกจากนี้ในกลุ่มตัวอย่างที่เคยซื้อทองรูปพรรณ ร้อยละ 75 เลือกซื้อทอง 96.5 % โดยให้เหตุผลสำคัญของการเลือกซื้อทองประเภทนี้ว่ามีลวดลายให้เลือกหลากหลาย ในแต่ละครั้งของการซื้อทองรูปพรรณ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เลือกน้ำหนักทอง 1บาท โดยมีค่าใช้จ่ายในการซื้อแต่ละครั้งประมาณ 20,001-50,000 บาท และ มีแหล่งซื้อสำคัญคือร้านทองในห้าง และ ร้านทองในชุมชนหรือตลาด  ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างที่เคยซื้อทองรูปพรรณส่วนใหญ่ ประมาณร้อยละ 65 ชื่นชอบทองรูปพรรณลักษณะตัน

นายจิตติ กล่าวว่า ผลสำรวจพบว่าร้อยละ  45 ของกลุ่มตัวอย่างเคยขายทองรูปพรรณ โดยให้เหตุผลหลักคือมีความจำเป็นต้องใช้เงินยามฉุกเฉิน  และมีแหล่งที่ขายคือร้านที่ซื้อ/ขายกันอยู่เป็นประจำ แต่มีการขายไม่บ่อยนัก มากกว่า  6  เดือน ต่อครั้ง


ส่วนผลสำรวจเกี่ยวกับทองคำแท่ง พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 20 เคยซื้อทองคำแท่ง โดยวัตถุประสงค์ในการซื้อเพื่อการลงทุน ร้อยละ  75  รองลงมาซื้อเป็นของขวัญ หรือ รางวัลให้ผู้อื่นและร้อยละ  51  ซื้อทองคำแท่งที่มีน้ำหนักประมาณ 1 บาท มีค่าใช้จ่ายในการซื้อแต่ละครั้งค่ำกว่า 50,000 บาท โดยร้อยละ 43 ของกลุ่มตัวอย่างซื้อทองคำจากร้านขายทองย่านเยาวราชและร้อยละ 40 เลือกซื้อทองคำจากร้านขายทองในห้าง ทั้งนี้ ผู้ซื้อทองคำแท่งมีความคาดหวังในกำไรต่อน้ำหนักทองคำหนึ่งบาทที่ซื้อ ตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป- สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

อาลัย “อดีตแข้ง U19” ขับเบนซ์พลิกคว่ำดับพร้อมภรรยา

วงการลูกหนังอาลัย “อดีตนักเตะ U19” ขับเบนซ์พลิกคว่ำดับพร้อมภรรยา ชาวบ้านเผยจุดนี้เกิดอุบัติเหตุบ่อย ลงสะพานอย่าขับเร็ว

สอบเพิ่ม “ไอ้แม็ก” ฆ่าชิงทรัพย์หญิงขับโบลท์ ฝากขังพรุ่งนี้

ตำรวจคุมตัว “ไอ้แม็ก” สอบปากคำเพิ่มคดีฆ่าชิงทรัพย์โชเฟอร์สาวขับโบลท์ เจ้าตัวปฏิเสธไปชี้จุด อ้างปวดท้องไม่สบาย เตรียมฝากขังพรุ่งนี้

ผลสอบ “ครูเบญ” เบื้องต้นไม่ผ่านเกณฑ์ ส่ง พฐ.ร่วมตรวจพิสูจน์

สพฐ. เผยผลสอบ “ครูเบญ” เบื้องต้นคะแนนไม่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 60 ทั้งภาค ก. ภาค ข. และไม่ติด 1 ใน 10 ส่งข้อสอบให้ พฐ. ตรวจพิสูจน์เพื่อความโปร่งใส