กรุงเทพฯ
16 ธ.ค.-สหรัฐฯ ประกาศปรับสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของไทย
ออกจากบัญชีประเทศที่ต้องจับตามองพิเศษ (Priority Watch List: PWL) เป็นบัญชีประเทศที่ต้องจับตามอง (Watch List: WL)
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อคืนวันที่ 15ธันวาคม 2560
เวลาประเทศไทย ประมาณ 22.00 น. นายโรเบิร์ต ไลท์ไฮเซอร์ ผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกา(United States Trade Representative:
USTR) ได้ประกาศปรับสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของไทยภายใต้กฎหมายการค้าสหรัฐฯ
มาตรา 301 พิเศษ (Special
301)
จากบัญชีประเทศที่ต้องจับตามองพิเศษ (Priority Watch List: PWL) เป็นบัญชีประเทศที่ต้องจับตามอง (Watch List: WL) หลังจากที่ได้จัดให้ไทยอยู่ในบัญชีPWL ตั้งแต่ปี
2550
– 2560
“ความสำเร็จในครั้งนี้ นอกจากเป็นผลมาจากความมุ่งมั่นจากระดับนโยบายแล้ว
ก็ต้องขอขอบคุณทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ได้บูรณาการการทางานร่วมกันมาอย่างเข้มแข็ง
โดยการปรับสถานะ ออกจากบัญชี PWL จะมีส่วนสาคัญในการผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจ
การค้า และการลงทุน โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยี และทรัพย์สินทางปัญญาเป็นหนึ่งในปัจจัยสาคัญที่สหรัฐฯ
พิจารณาในการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร หรือ GSP ซึ่งก็ขอให้การปรับสถานะของไทยที่บรรลุผลในครั้งนี้เป็นของขวัญปีใหม่สาหรับคนไทยทุกคน”นายสนธิรัตน์ กล่าว
นายสนธิรัตน์
กล่าวว่า ในการประกาศผลครั้งนี้ USTR ระบุว่า สหรัฐฯ
ตระหนักถึงความก้าวหน้าอย่างมีนัยยะสาคัญในการพัฒนาด้านการคุ้มครองและป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของไทย
โดยมีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจนในระดับสูงตั้งแต่นายกรัฐมนตรี ภายใต้คณะกรรมการนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ
และคณะอนุกรรมการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ทำให้มีการบูรณาการอย่างจริงจังจนเห็นผลเป็นรูปธรรม
โดยเฉพาะเรื่องการปราบปราม การละเมิดในท้องตลาด หลายพื้นที่หมดไป ไม่มีสินค้าละเมิด
ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2560 เป็นต้นมา
ในขณะเดียวกัน
ได้ยังมีการจัดตั้งศูนย์ปราบปราม การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
เพื่อออกตรวจตราจับกุมใน 5 ย่านการค้าสาคัญ คือ ศูนย์การค้าเอ็มบีเค
ตลาดนัดจตุจักร ตลาดโรงเกลือ (จังหวัดสระแก้ว) หาดป่าตอง และหาดกะรน
(จังหวัดภูเก็ต)
นอกจากนี้USTR เห็นถึงความพยายามของไทยในการแก้ไขข้อกังวลของภาคเอกชนสหรัฐฯทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาโดยตรง
เช่น การพัฒนาประสิทธิภาพในการจดทะเบียนสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้า โดยเพิ่มภาครัฐของไทยได้เพิ่มจำนวนผู้ตรวจสอบ
และปรับปรุงขั้นตอนการจดทะเบียน จนทำให้สามารถ
ลดปริมาณงานค้างสะสมลงไปอย่างเห็นได้ชัด รวมทั้งการเข้าเป็นภาคีพิธีสารมาดริดว่าด้วยการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศ
ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการที่จะยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศใดประเทศหนึ่งแต่สามารถขอรับความคุ้มครองได้ในประเทศภาคีหลายปร
ะเทศ
ส่วนเรื่องที่มิได้เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาโดยตรงเช่นการเสริมสร้างความโปร่งใสมีการรับฟังความเห็นผู้มีส่วนได้เสียของสานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
(อย.) เป็นประจำ ซึ่งช่วยคลายความกังวลของภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องลงไปได้มาก
-สำนักข่าวไทย