สธ.ตั้งเป้าบุคลากรทางการแพทย์ในสังกัดปลอดวัณโรค

สธ.28 พ.ย.-สธ.เร่งค้นหาและจัดการปัญหาบุคลากรทางการแพทย์ป่วยเป็นวัณโรค ตั้งเป้าหมายปี 61 “ลดโรค ลดเสี่ยง” โดยลดอัตราป่วยไม่เกินร้อยละ 5 และลดอัตราป่วยรายใหม่ไม่เกินร้อยละ 1 ใน รพ.ศูนย์และทั่วไป


นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข  ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังเปิดการประชุมความร่วมมือในการดูแลสุขภาพบุคลากรทางการแพทย์ ครั้งที่10 ที่จ.ขอนแก่น ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมจาก 33 ประเทศ ว่า นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รมว.สาธารณสุข ได้ประกาศยุทธศาสตร์ความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุข (Patient and Personnel Safety: 2P Safety) เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัย ได้รับบริการสุขภาพที่ดี และบุคลากรสาธารณสุขปลอดโรค ซึ่งจากการสำรวจของสำนักบริหารการสาธารณสุขในโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปในเดือน ก.ค.2560 พบว่า มีบุคลากรป่วยเป็นวัณโรคจำนวน 235 ราย บาง รพ.มีบุคลากรป่วยเป็นวัณโรครายใหม่สูงถึง 21 ราย รวมทั้งที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโลกที่มอสโคว์ เดือนพ.ย.ที่ผ่านมาได้มีมติลดการติดวัณโรคในบุคลากรทางการแพทย์ ดังนั้นในปี 2561 กระทรวงสาธารณสุขจึงตั้ง เป้าหมายให้โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป “ลดโรค” หรือลดอัตราป่วยด้วยวัณโรคในบุคลากรสถานบริการให้ไม่เกินร้อยละ 5 และ “ลดเสี่ยง” หรือลดอัตราป่วยวัณโรครายใหม่ไม่เกินร้อยละ 1 


นพ.เจษฎากล่าวต่อว่า เมื่อบุคลากรป่วยเป็นวัณโรค จะมีผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน ทั้งความกังวลจะแพร่เชื้อให้ผู้ป่วยและเพื่อนร่วมงาน รู้สึกอับอายที่จะเปิดเผยว่าตนเองติดเชื้อวัณโรค บางรายที่มีอาการป่วยรุนแรง มีอาการแพ้ยา หรือเกิดผลข้างเคียงจากการกินยา ทำให้ต้องหยุดงานเพื่อรักษาตัว จึงมีความจำเป็นเร่งด่วน ที่จะค้นหาบุคลากรในสถานบริการที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อหรือป่วยแล้ว เพื่อให้การดูแลอย่างเหมาะสม


สำหรับระบบการดูแลบุคลากรสถานบริการ มี 4 มาตรการ คือ1.การขับเคลื่อนนโยบายลดการติดเชื้อวัณโรคในกลุ่มบุคลากรสถานบริการทุกระดับ 2.Smart Detect การประเมินความเสี่ยงและคัดกรองบุคลากรกลุ่มเสี่ยง 3.Smart Response การลดความเสี่ยงเพื่อลดการติดเชื้อวัณโรคจากการทำงานของบุคลากร เช่น การจัดระบบระบายอากาศที่เหมาะสม การกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย การใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล การให้การรักษาที่รวดเร็วและเหมาะสม เป็นต้น และ 4.การสอบสวนและเฝ้าระวังวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง เช่น พยาบาลแผนกอายุรกรรม พยาบาลแผนกผู้ป่วยนอก เป็นต้น 

นอกจากนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการยุติปัญหาวัณโรค กระทรวงมีนโยบายในการค้นหาผู้ป่วยวัณโรค เน้นในกลุ่มเสี่ยง 6 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ต้องขังในเรือนจำ ผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรค ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน และบุคลากรสาธารณสุขให้ครอบคลุมร้อยละ 90 เพื่อลดอัตราป่วยให้เหลือไม่เกิน 88 ต่อประชากร 100,000 คน ภายในปี 2564.-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง