fbpx

AMER 7 ประโยชน์ไทย “สร้างชื่อ-แชร์ข้อมูลพลังงานเพื่ออนาคต”

 


 


กรุงเทพฯ 29  ต.ค.-  วันที่ 1 -3 พ.ย. 2560 ประเทศไทยโดยกระทรวงพลังงาน
เป็นเจ้าภาพในการประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรีพลังงานเอเชีย
 
(ASIAN Ministerial Energy Roundtable : AMER)
ครั้งที่ 7
โรงแรมแชงกรีล่า กรุงเทพฯ ไทยได้ประโยชน์ทั้งสร้างชื่อเสียงและได้ข้อมูลพลังงานทั้งจากประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคพลังงานในเอเชีน

 

       การประชุม AMER 7
เป็นหารือระดับรัฐมนตรีพลังงานของชาติสมาชิกในเอเชียร่วมกับผู้นำองค์กรระหว่างประเทศ
ภายใต้แนวคิด
Global Energy Markets in Transition : From Vision to Action หรือการเปลี่ยนผ่านตลาดพลังงานโลก
จากวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติ โดยชาติในเอเชีย ประกอบด้วย
ประเทศผู้ขายน้ำมันในกลุ่มตะวันออกกลางและกลุ่มประเทศผู้ซื้อน้ำมันรายใหญ่
 
รวมทั้งชาติในอาเซียนจะร่วมกันแสดงทัศนะต่อสถานการณ์พลังงาน
ประเด็นสำคัญ
3 ด้าน คือ ตลาดน้ำมัน (Oil
Market)
ตลาดก๊าซธรรมชาติ (Gas Market) และการเปลี่ยนผ่านพลังงานไปสู่ทางเลือกการใช้พลังงานทดแทน
โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เปลี่ยนผ่าน (
Disruptive Technology)




       สำนักข่าวไทย ได้สัมภาษณ์ คุณทวารัฐ  สูตะบุตร
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)
       ถึงการจัดงานในครั้งนี้

 

โลกเห็นความสำคัญชาติเอเชีย จึงเป็นที่มาของ AMER

               การประชุม AMER หรือ  ASIAN Ministerial Energy Roundtable เป็นกรอบการประชุมแบบหลวมๆ
ที่จะเชิญ รัฐมนตรีพลังงาน ในทุกประเทศของทวีปเอเชียมาพบกัน ผู้จัดหลักคือองค์กรระหว่างประเทศ
 International Energy Forum หรือ IEF
ซึ่งเป็นองค์กรพี่องค์กรน้องกับ OPEC

    วัตถุประสงค์หลักขององค์กรนี้
คือ ต้องการสร้างเวทีในการพูดคุยระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายพลังงาน
โดยเฉพาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เพราะฉะนั้น
IEF เปรียบเหมือนแกนกลางในการที่จะจัดเวทีประชุมลักษณะนี้
ซึ่งจัด
2 ระดับ คือ  ระดับโลก คือเชิญทุกประเทศ ปีละครั้ง โดย IEF
ก็จะเชิญประเทศยักษ์ใหญ่ต่างๆ แต่ IEF มีความสนใจพิเศษในทวีปเอเชีย
เพราะทวีปเอเชียมีลักษณะพิเศษ คือ มีทั้งผู้ผลิตรายใหญ่ คือ กลุ่มตะวันออกกลาง
และผู้ใช้รายใหญ่ คือ กลุ่ม จีน ยุโรป อาเซียน เพราะฉะนั้น
IEF ถึงริเริ่มกรอบพูดคุยพิเศษขึ้นมาประมาณ 10 ปีที่แล้ว
เป็นกรอบเฉพาะทวีปเอเชีย

        โดยการเชิญ
รมว.พลังงานของทุกประเทศในเอเชีย ประมาณ
31 – 32 ประเทศ
มาพบกันหรือพูดคุยกันเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์แบบเป็นกันเอง ไม่เป็นทางการนัก ไม่มีสนธิสัญญาใดๆที่ต้องลงนาม
แต่เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แล้วก็เป็นการมองภาพอนาคต
ทั้งระยะใกล้และระยะไกลว่า ทิศทางพลังงานในมุมมองของแต่ละคนเห็นเป็นอย่างไร
เพราะมุมมองผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ ผู้ผลิตก๊าซรายใหญ่อาจจะมีอีกมุมมองนึง
ในขณะที่ผู้ใช้รายใหญ่อาจจะมีอีกมุมมองนึง ถ้ามุมมองต่างกัน
ปฏิบัติต่างกันในบางกรณี อาจจะทำให้ตลาดปั่นป่วนได้
เพราะฉะนั้นการมีโอกาสได้พูดคุยกันก็จะเป็นโอกาสที่จะทำให้เกิดความเข้าใจตรงกัน
และทำให้ตลาดพลังงานในทวีปเอเชียไม่มีความผันผวนมากนัก

 

ไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุม AMER เป็นครั้งแรก ในการประชุม
ครั้งที่ 7

 

        ครั้งนี้ เป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่จัดประชุม
AMER  โดย ธรรมเนียมปฏิบัติก็จะจัดทุก 2 ปี โดยสลับกันเป็นเจ้าภาพระหว่างของกลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่
เช่น กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง แล้วกลุ่มผู้ใช้รายใหญ่ก็คือ จีน ญี่ปุ่น อินเดีย
อาเซียน สลับกันไปมา เมื่อครั้งที่แล้ว ครั้งที่ 6 จัดที่กรุงโดฮา นครรัฐกาตาร์ แล้วก็ประเทศไทย รับเป็นเจ้าภาพจัดครั้งนี้ จึงขอเชิญชวนให้คนไทยมีส่วน่รวมในการต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง
ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทย
อีกมุมหนึ่งก็จะทำให้ประเทศเหล่านี้เห็นศักยภาพของประเทศไทยด้วย ส่วนที่ว่าประเทศไทยจะได้อะไร
ก็ชัดเจนครับ ได้ข้อมูลข่าวสาร
แล้วเราก็จะเอาข้อมูลข่าวสารนี้มาแปลงเป็นนโยบายรองรับอนาคตได้

“ภาพอนาคตพลังงานของโลก
ผมเชื่อว่าจะเกี่ยวข้องกับทวีปเอเชียค่อนข้างมาก
เพราะประเทศเอเชียค่อนข้างใช้พลังงานเยอะ เราก็จะมีนวัตกรรมใหม่ๆในการที่จะคิดค้นพลังงานใหม่ๆในอนาคตเช่นเดียวกัน
เพราะฉะนั้นอนาคตจะอยู่ที่ทวีปนี้ครับ”

 

ศตวรรษนี้ เป็นยุคทองของทวีปเอเชีย

            ศตวรรษนี้
เป็นยุคทองของทวีปเอเชีย ส่วนหนึ่งเพราะว่า ทวีปเอเชียตลอดหลาย
10 ปีที่ผ่านมา
มีหลายๆประเทศที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด ไม่นับ ญี่ปุ่น เมื่อ
30 ปีที่แล้ว ประเทศที่ตามมา เช่น เกาหลี ไต้หวัน ฮ่องกง รวมถึง 5 เสือ ในอาเซียนก็พัฒนามาตลอด 20 ปี จน 10 ปีให้หลังนี้เห็นความเปลี่ยนแปลงอันโดดเด่นของประเทศจีน และอินเดีย
ทำให้ภาพของอนาคตของโลกหลายส่วนจะถูกกำหนดด้วยประเทศในเอเชีย
ในอดีตการกำหนดชะตาโลก ส่วนใหญ่จะอยู่กับประเทศตะวันตก ไม่ว่าจะเป็น อเมริกา
หรือยุโรป แต่ในอนาคต ผมเชื่อเหลือเกินว่า ประเทศต่างๆในทวีปเอเชีย
จะมีอิทธิพลเพิ่มมากขึ้น ในอดีตภาพของการค้าพลังงาน จะเป็นภาพของการไหลเข้าออกจากตะวันออกกลาง
ไปสู่ประเทศตะวันตก เช่น ยุโรป และสหรัฐอเมริกา
แต่ปัจจุบันเส้นทางการซื้อขายพลังงานได้เปลี่ยนแปลงไป เส้นทางการค้าพลังงานหลัก
เช่น น้ำมันและก๊าซจะไหลมาทางทิศตะวันออกมากกว่าตะวันตก คือ
ไหลจากตะวันออกกลับมาสู่ประเทศยักษ์ใหญ่ในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะจีน อินเดียญี่ปุ่น
เกาหลีและอาเซียน ดังนั้นการโอนถ่ายครั้งนี้จะมีอิทธิพลต่อชะตาโลกในอนาคต

 

Global Energy Markets in Transition : From Vision to Action

          Theme การประชุมAMER
7 จะพูดคุยกัน “Global Energy Transition” หรือ
การเปลี่ยนผ่านพลังงาน
“From vision to action” จากวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติจริง
เพราะปัจจุบันในช่วงเวลา
3 – 5 ปีที่ผ่านมา
เราเห็นภาพชัดเจนแล้วครับว่า
การใช้พลังงานของโลกจะเริ่มมีทิศทางที่จะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมค่อนข้างมาก
เปลี่ยนแปลงจากการพึ่งพาน้ำมันเป็นส่วนใหญ่ เริ่มหาเชื้อเพลิงทดแทนเพิ่มมากขึ้น
เชื้อเพลิงทดแทนอันดับ
1 เลย คือ ก๊าซธรรมชาติ
ถัดจากก๊าซธรรมชาติก็จะมีพลังงานทดแทนในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นสายลม แสงแดด
พลังงานแห่งอนาคต ทั้งไฟฟ้าและไฮโดรเจน
เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้จะมีอิทธิพลต่อการกำหนดชะตาโลกในอนาคต
ส่วนใหญ่การเปลี่ยนผ่านก็จะมีภาพของการวิจัยที่ยังไม่สามารถจับต้องได้
การประชุมครั้งนี้จะเป็นการแชร์ประสบการณ์หรือนำประสบการณ์ของแต่ละประเทศ
มาพูดคุยกันว่า แนวทางการปฏิบัติได้จริงของแต่ละประเทศ
มีการดำเนินการที่แตกต่างกันอย่างไร


พระวิสัยทัศน์ ในหลวง ร.9 นำพาไทยสู่พลังงานทดแทน

                                        

            ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในไม่กี่ประเทศในทวีปเอเชียซึ่งมีการปฏิบัติจริงและมีการริเริ่มการเปลี่ยนผ่านยุคของการใช้พลังงานมานานพอสมควรแล้ว
เราเริ่มจากขั้นตอนแรกเลยก็คือ การเปลี่ยนผ่านจากยุคน้ำมันเพียงอย่างเดียว
มาเป็นยุคที่เริ่มผสมเชื้อเพลิงชีวภาพ หรือ น้ำมัน ที่มาจากไบโอ ตอนนี้น้ำมันในประเทศกว่าร้อยละ
90 ทุกหยด มีน้ำมันไบโอผสม เพราะพระวิสัยทัศน์ของในหลวงรัชกาลที่
9 “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช” ที่ทรงส่งเสริมผลผลิตด้านเกษตรกรรมของประเทศไทย
สามารถแปลงและสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นพลังงานได้ เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าจากพระวิสัยทัศน์นั้น
นำมาสู่ภาคปฏิบัติ ประเทศไทยทำได้แล้ว และเราอยากแชร์ประสบการณ์อันนี้ให้กับประเทศในทวีปเอเชียด้วยเช่นกัน
ประเทศอื่นๆก็มี
Action ที่แปลงมาจากวิสัยทัศน์ หรือ Vision อื่นด้วยเช่นกัน เช่น ประเทศจีน เค้าเริ่มแปลงวิสัยทัศน์ว่า
ในอนาคตจะพึ่งพาน้ำมันและก๊าซ ถ่านหินมากไม่ได้นัก
เค้าเริ่มแปลงสภาพยานยนต์ของเค้าในอนาคต เป็นยานยนต์ไฟฟ้า
แต่ละประเทศอาจจะมีแรงบันดาลใจแตกต่างกัน
Vision แตกต่างกัน

 “ประเทศไทยเราเป็นหนึ่งในประเทศอาเซียน
ผมมั่นใจว่าเราเป็น
TOP 5 ของประเทศเอเชีย
ในการที่จะริเริ่มและผลักดัน ขับเคลื่อนพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด
ส่วนหนึ่งแรงบันดาลใจมาจากพระวิสัยทัศน์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่
9

 

ตลาดน้ำมัน (Oil Market) – —

  
ในช่วงที่ผ่านมามีการรวมตัวกันอย่างแนบแน่นเพิ่มขึ้นของชาติสมาชิกโอเปก
รวมทั้งสถานการณ์ที่ไม่สงบในหลายพื้นที่ ที่คาดว่าจะมีผลต่อราคาน้ำมัน
ในขขณะเดียวกันข้อกำหนดเรื่องมาตรฐานน้ำมันเรือเดินสมุทรที่ลดปริมาณค่ากำมะถันให้น้อยลงก็มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้พลังงาน
ซึ่งเรือเดินสมุทรอาจเปลี่ยนจากน้ำมันเตา หรือดีเซลกำมะถันสูง ไปสู่กำมะถันต่ำ
หรืออาจจะเปลี่ยนไปใช้ก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ
LNG มากขึ้น การหารือเรื่องตลาดน้ำมันจะทำให้ทราบแนวคิดของผลิตและผู้ใช้

-ตลาดก๊าซธรรมชาติ (Gas Market)

        ก๊าซ LNG หรือก๊าซธรรมชาติเหลว
เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนผ่านของพลังงานในยุคปัจจุบัน
เพราะว่าในอดีตก๊าซธรรมชาติ มักจะถูกใช้ในประเทศที่ผลิตได้
การค้าระหว่างประเทศน้อยมาก จนมีเทคนิคการแปลงก๊าซนั้นเป็นของเหลว
แล้วนำของเหลวนั้นเข้าตู้เย็น ไปยังประเทศผู้นำเข้าได้ ปัจจุบันสภาพการเปลี่ยนผ่าน
คือ มีแหล่งที่จะผลิตก๊าซ
LNG มากขึ้นและตลาดของผู้ที่ต้องการ
LNG ก็ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด มีหลายประเทศที่ต้องการ LNG
เข้าไปเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติในประเทศเค้า 1 ในนั้นก็คือประเทศไทย
เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนผ่านคราวนี้
LNG เริ่มจะมีการค้าขายมากขึ้น
สภาวะการค้าขายคล้ายน้ำมันมากขึ้น ซึ่งสภาวะนี้จะเกิดขึ้นในทวีปเอเชีย
เพราะว่าผู้ผลิตรายใหญ่ คือ การ์ตา ผู้ใช้รายใหญ่ คือ จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน
และมีไทย สิงคโปร์เพิ่มขึ้นมา กลายเป็น
Destination หลัก
ของแหล่งก๊าซ
LNG เหล่านี้ เพราะฉะนั้น ทิศทางของ LNG
จะมีอิทธิพลต่อเนื่องไปอย่างน้อย 10 ปีข้างหน้า
จะมีอิทธิพลมากในทวีปเอเชีย

-การเปลี่ยนผ่านพลังงานไปสู่ทางเลือกการใช้พลังงานทดแทน
โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เปลี่ยนผ่าน (
Disruptive Technology) 

   การเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เรียกว่า
เทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด หรือ
disruptive technology
หรือเทคโนโลยีที่เข้ามาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ตอนนี้หลายประเทศฟันธงว่า
disruptive
technology ในเรื่องของพลังงาน จะมีองค์ประกอบ 3 เรื่องด้วยกัน คือ 1. พลังงานแสงอาทิตย์
โดยเฉพาะถ้าติดตั้งบนหลังคาบ้าน
2.การใช้ยานยนต์ไฟฟ้าแทนยานยนต์น้ำมัน
3.ระบบเก็บสะสมพลังงาน 
เพราะเราคาดว่าถ้าเก็บระบบเก็บสะสมพลังงาน
energy storage เก็บพลังงานแสงแดดช่วงกลางวันก็มีเยอะและสามารถมาใช้ตอนกลางคืนได้
ใช้ชาร์จรถไฟฟ้าได้ สิ่งเหล่านี้นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่
สำหรับภาคพลังงานทั้งโลก สำหรับประเทศไทย เริ่มเห็นภาพพลังงานแสงอาทิตย์เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น

รัฐบาลปัจจุบันของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
มีนโยบายสนับสนุนทั้งยานยนต์ไฟฟ้า และการวิจัย
energy storage อย่างเข้มข้น
เพราะฉะนั้น บริบทประเทศไทยทันสมัยไม่แพ้ในหลายๆชาติ
ในการที่จะส่งเสริมนวัตกรรมใหม่ๆ ไม่วาจะเป็นเรื่องยานยนต์ไฟฟ้า
solar
rooftop และ energy storage

“เรื่องที่เราเสนอเป็น TOPIC  หรือหัวข้อในการพูดคุยกัน เพราะว่า
ในมุมมองของประเทศผู้นำเข้า เรามองว่า
3 เรื่องนี้
ถ้าต้นทุนต่ำลงมาอยู่ในระดับที่แข่งขันได้กับการใช้น้ำมันปกติ มันจะเปลี่ยนหน้ามือเป็นหลังมือ
นัยยะหนึ่งก็เป็นการส่งสัญญาณบ่งบอกประเทศผู้ผลิตน้ำมันว่า
ถ้าคุณขายน้ำมันหรือก๊าซแพงเกินไป สิ่งเหล่านี้จะมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ประเทศท่านอาจจะล่มจมได้”

เตรียมพร้อมโครงสร้างพื้นฐานรับเทคโนโลยีใหม่

                อีกนัยยะหนึ่งก็ส่งสัญญาณบอกประเทศชั้นนำที่กำลังคิดค้นเทคโนโลยีเหล่านี้ว่า
ถ้าหากเทคโนโลยีเหล่านี้ไม่แข่งกัน ลดต้นทุนก็จะไม่มีวันสู้น้ำมันได้
ประเทศไทยเป็นประเทศที่อยู่ตรงกลาง
เรามีเทคโนโลยีบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้า และ
solar rooftop และ energy
storage แต่เราก็อยากจะเป็นประเทศที่แนวหน้าที่เกาะกระแสไปถูกว่าเทคโนโลยีนี้มาแน่
แทนน้ำมันได้แน่ เราก็จะอยู่ค่ายนั้น แต่ถ้าบอกเทคโนโลยีนี้มา
ยังไงน้ำมันก็จะไม่แพงต่อไป
เราก็จะได้เตรียมการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้รองรับได้ทัน
โอกาสนี้จะเป็นโอกาสที่ดีที่จะทำให้เห็นว่า แต่ละประเทศมีมุมมองอย่างไร

ไทยพร้อมต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม AMER 7

                   ทุกประเทศในทวีปเอเชีย
อยากมาประเทศไทย อยากมากรุงเทพฯ อยากมาสัมผัสอาหารไทย มานั่งรถตุ๊กๆในประเทศไทย
เพราะฉะนั้น นอกจาก ประเทศไทยเป็นประเทศศูนย์กลางในการพบปะหารือในเชิงวิชาการแล้ว
ประเทศไทยยังเป็นประเทศที่อยู่บนทางที่จะเลือกตัดสินใจเหมือนกัน
ถึงแม้ปัจจุบันนโยบายเราจะเป็นนโยบายแบบผสมผสาน คือ
ยังให้พลังงานฟอสซิลมีบทบาทสำคัญแต่อีกนัยยะหนึ่ง
ก็ยังมีนโยบายเข้ามาส่งเสริมเพื่อให้เกิดพลังงานรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะพลังงานทดแทน
ไม่ว่าจะเป็น
3 เทคโนโลยีที่พูดถึง คือ ยานยนต์ไฟฟ้า(EV) , Solar
Rooftop และ Energy Storage

          “ เราเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีนโยบายขับเคลื่อนประเทศที่โดดเด่น
แต่ว่าเราตอบไม่ได้ว่า
3 อย่างนี้จะแทนน้ำมันได้หรือเปล่า ถ้าแทนได้ ราคาเท่าไหร่
การแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างประเทศผู้ผลิตและผู้ใช้พลังงาน ในเอเชีย สิ่งเหล่านี้ คือสิ่งที่ประเทศไทยจะได้รับจากการเป็นเจ้าภาพการจัดประชุม
AMER 7

 

 

 

 

 

 

 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

พายุโซนร้อนซูลิก

ฤทธิ์พายุโซนร้อนซูลิก ทำฝนเริ่มตกหนักในพื้นที่นครพนม

ฤทธิ์พายุโซนร้อน “ซูลิก” ทำฝนเริ่มตกหนักในพื้นที่ จ.นครพนม เจ้าหน้าที่ต้องเร่งเดินเครื่องสูบน้ำลงน้ำโขง

อุตุฯ เตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ฝนถล่มหลายจังหวัด

กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ภาคเหนือ อีสาน กลาง รวมทั้งกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรง

ชายแดนแม่สายยังเละจมโคลน จับตาพายุลูกใหม่

แม้จะผ่านน้ำท่วมใหญ่ในรอบร้อยปีมาหลายวันแล้ว แต่ตอนนี้ชายแดนแม่สายยังเต็มไปด้วยความเสียหายและดินโคลนจำนวนมาก ชาวบ้านหลายคนยังไม่สมารถกลับเข้าบ้านได้

นายกฯ ตรวจความพร้อมการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

นายกฯ ตรวจความพร้อมการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค การซ้อมเป็นรูปขบวนเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา ครั้งที่ 7 ณ โรงเรือพระราชพิธี ท่าวาสุกรี และวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ขณะที่ “เจ้าอาวาสวัดอรุณฯ” ให้กำลังใจทำหน้าที่ได้เต็มที่-ประสบความสำเร็จ