กรุงเทพฯ 17
ก.พ.-บอร์ด กฟผ.ประชุม 22 ก.พ.นี้ ชี้ขาด ผู้ว่าการ คนใหม่ หลัง คณะกรรมการ สรรหา
นัดสัมภาษณ์ 4 ผู้สมัคร วันจันทร์นี้
นายศิริชัย ไม้งาม ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (สร.กฟผ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการ กฟผ.วันที่ 22
กุมภาพันธ์นี้จะมีพิจารณารายชื่อผู้ที่จะดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ กฟผ.คนใหม่แทน นายกรศิษฏ์ ภัคโชตานนท์
ผู้ว่าการ คนปัจจุบันที่จะหมดวาระเนื่องจากอายุครบ 60 ปีวันที่ 30 เมษายน 2561 โดยคณะกรรมการสรรหา
ซึ่งมี นายวิฑูรย์
กุลเจริญวิรัตน์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เป็นประธาน จะมีการสัมภาษณ์วิสัยทัศน์ทั้ง 4 ผู้สมัครในจันทร์นี้ (19
ก.พ.) ซึ่งหลังจากคณะกรรมการฯเห็นชอบแล้ว ก็จะมีการนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
โดยในส่วนของผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งนั้น
ในฐานะพนักงาน ก็ต้องการเห็นผู้ที่จะมานำพาองค์กร ปลุกคนในองค์กรและสร้างขวัญกำลังใจแก่พนักงานให้เดินหน้าต่อไปพร้อมๆกับการเปลี่ยนแปลง
ปรับโครงสร้างองค์กรให้รับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจากเทคโนโลยีสมัยใหม่
หรือ Disruptive
Technology ที่ทำให้รูปแบบการผลิตไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงไป
ภาคประชาชนและเอกชน ผลิตไฟฟ้าใช้เองมากขึ้น จากที่อดีตพึ่งพาโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ที่
กฟผ.เป็นผู้ผลิตและดูแลการผลิตเป็นหลัก
“
รองผู้ว่าการที่มา สมัคร ผู้ว่าการ กฟผ.ทั้ง 4 คนจะเป็นใครก็ได้ที่ได้รับการคัดเลือก
แต่ก็ต้องยอมรับต้องการใด้ผู้ที่มีวิสัยทัศน์มาปลุกคนในองค์กรให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงจาก
Disruptive Technology โดยหลังจากคณะกรรมการสรรหาสัมภาษณ์เสร็จสิ้นแล้ว
ทาง สร.กฟผ.จะบันทึกเทปวิสัยทัศน์แต่ละท่าน ทั้งด้านการเปลี่ยนแปลงองค์กร
การดำเนินธุรกิจไฟฟ้าในอนาคต ความคิดเห็นด้านแรงงานสัมพันธ์ แล้วนำไปเปิดให้ผู้ปฏิบัติงานรับชมผ่าน
EGAT TV และ EGAT Conference เวลา 09.00 น. วันที่ 20 ก.พ.” นายศิริชัย กล่าว
ทั้งนี้ ผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นผู้ว่าการ
กฟผ. จำนวนทั้งสิ้น 4 ราย เป็นผู้ระดับรองผู้ว่าการ กฟผ. ทั้งหมด ได้แก่
นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร
รองผู้ว่าการพัฒนาธุรกิจ,นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย รองผู้ว่าการพัฒนาระบบส่ง,นายจักษ์กริช
พิบูลย์ไพโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ผลิตไฟฟ้า และนายกิจจา ศรีพัฑฒางกุระ กรรมการผู้จัดการใหญ่
บมจ. ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง
นายศิริชัย กล่าวด้วยว่า ในขณะนี้ กฟผ.ได้ว่าจ้างไพรซ์วอเทอร์เฮาส์คูเปอส์ หรือ พีดับบลิวซี เป็นที่ปรึกษาการปรับโครงสร้างองค์กรรับการเปลี่ยนแปลง
โดย กรศิษฏ์กำหนดไว้ว่าจะต้องศึกษาให้เสร็จก่อนครบวาระ
เบื้องต้นอาจจะในส่วนของพนักงานก็จะมีจำนวนลดลงเหลือประมาณ 15,000 -16,000 คน
ในอนาคต จากปัจจุบัน 22,000 คน ซึ่งเป็นการลดหลังจากเกษียณอายุแต่ละปี ซึ่งก็อยากเห็นว่าการปรับโครงสร้างครั้งนี้จะต้องปรับทั้งองค์กรจริงๆเพื่อประสิทธิภาพ
ไม่ใช่ปรับเฉพาะระดับปฏิบัติการเท่านั้น
ระดับผู้บริหารก็จะต้องถูกปรับเปลี่ยนตามภาระกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
ส่วนการที่พลังงานแสงอาทิตย์ที่ขณะนี้เข้ามามีบทบาทมากขึ้น
และกระทรวงพลังงานให้ กฟผ.จัดซื้อจากผู้ผลิตในประเทศเท่านั้น นายศิริชัยมองว่า
เป็นเรื่องท้าทาย กฟผ.เพราะต้นทุนแผงภายในประเทศแพงกว่านำเข้า ถึงร้อยละ 40
นั่นหมายถึงต้นทุนของ กฟผ.แพงกว่าเอกชนทำให้แข่งขันด้านค่าไฟฟ้าได้ยาก
ในขณะเดียวกัน
สิ่งที่อยากให้รัฐบาลพิจารณาด้วยคือต้นทุนค่าไฟฟ้าของแผงโซลาร์เหล่านี้ น่าจะรวมไปถึงการกำจัดแผงหลังหมดอายุของแผง
ประมาณ 20 ปีแล้วจะดำเนินการอย่างไร
มีปัญหามลพิษหรือไม่และต้นทุนกำจัดใครจะเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องระดับชาติที่จะต้องพิจารณา
ส่วนที่กลุ่มต่อต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้เรียกร้องให้ยุติโครงการโรงไฟฟ้ากระบี่และเทพานั้น
นายศิริชัย กล่าวว่า กฟผ.เป็นเพียงผู้ปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาล
ซึ่งหากรัฐบาลตัดสินใจอย่างไร ทาง กฟผ.ก็พร้อมปฏิบัติตาม
แต่สิ่งสำคัญที่อยากให้มองควบคู่กันไปคือ ความมั่นคงด้านพลังงาน
ต้นทุนค่าไฟฟ้าและการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม -สำนักข่าวไทย