5 ธันวาคม 2567 – ภาวะการเห็นภาพซ้อน เกิดจากสาเหตุใด อันตรายหรือไม่ และจะมีวิธีการรักษาอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ
🎯 ตรวจสอบกับ รศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย
ภาวะการมองเห็นภาพซ้อน (Diplopia)
สาเหตุของการมองเห็นภาพซ้อน แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
- Binocular diplopia: เห็นภาพซ้อนเมื่อมองด้วยสองตาพร้อมกัน เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อที่ควบคุมการกลอกตา พบบ่อยในผู้ที่มีอายุเกิน 40 ปี และมีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง หรือในเด็กที่อายุน้อยกว่า 40 ปี อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส
- Monocular diplopia: เห็นภาพซ้อนแม้มองด้วยตาข้างเดียว เกิดจากความผิดปกติของลูกตาเอง เช่น สายตาเอียง กระจกตาผิดปกติ เลนส์ตาเคลื่อน ต้อกระจกบางชนิด
คำแนะนำ หากพบอาการภาพซ้อน ควรรีบพบจักษุแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและรับการรักษาที่ถูกต้อง
การรักษา ขึ้นอยู่กับสาเหตุ
- Monocular diplopia: แก้ไขด้วยแว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์
- Binocular diplopia: ในกรณีที่เกิดจากเส้นประสาท อาจต้องรอให้ร่างกายฟื้นตัวเองภายใน 6 เดือน ในระหว่างนี้แพทย์อาจแนะนำให้ปิดตาข้างหนึ่ง หรือใช้แว่นปริซึมเพื่อลดอาการภาพซ้อน
สัมภาษณ์เมื่อ : 12 พฤศจิกายน 2567
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์
เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter