27 พฤศจิกายน 2567 – ตามที่มีการแชร์สารพัดวิธีป้องกันอัลไซเมอร์ ทั้งวิธีง่าย ๆ อย่างการเคี้ยวนาน ๆ มือซ้ายจับหูขวา ช่วยกระตุ้นสมอง รวมถึงการกินน้ำมันมะพร้าว ออกกำลังสม่ำเสมอ ช่วยให้ห่างไกลจากอัลไซเมอร์ได้ ?!
5 เรื่องฮิตเกี่ยวกับวิธีป้องกันอัลไซเมอร์ที่แชร์กันบนโซเชียลมีเดีย มีดังนี้
อันดับที่ 1 : เสาหลักเพื่อป้องกันโรคอัลไซเมอร์ จริงหรือ ?
แชร์ว่า : เสาหลักแห่งการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ได้แก่ การออกกำลังกายสม่ำเสมอ การกระตุ้นการใช้สมอง การลดความเครียด การกินปลา ผัก ผลไม้ และการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
บทสรุป : จริง แชร์ได้
เรื่องนี้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ศ.นพ.วีรศักดิ์ เมืองไพศาล ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
“วิธีการเหล่านี้มีประโยชน์ต่อร่างกายและอาจช่วยชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้”
อันดับที่ 2 : แลบลิ้นช่วยป้องกันสมองเสื่อม จริงหรือ ?
แชร์ว่า : การแลบลิ้นทุกวันสามารถป้องกันสมองเสื่อมได้
บทสรุป : จริงบางส่วน แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม
เรื่องนี้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : นพ.มัยธัช สามเสน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา ผอ.รพ.มหาชัย
“การเคลื่อนไหวร่างกายทุกส่วน รวมถึงการแลบลิ้น มีส่วนช่วยชะลออาการสมองเสื่อมได้ แต่ไม่ได้จำกัดเฉพาะการแลบลิ้นอย่างเดียว”
อันดับที่ 3 : มือซ้ายจับหูขวา กระตุ้นสมอง ป้องกันอัลไซเมอร์ จริงหรือ ?
แชร์ว่า : แชร์แนะนำวิธีบริหารสมองด้วยการใช้มือซ้ายจับหูขวา มือขวาจับหูซ้าย ช่วยแก้อัลไซเมอร์ได้
บทสรุป : จริงบางส่วน แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม
เรื่องนี้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ศ.นพ.นิพนธ์ พวงวรินทร์ ราชบัณฑิต
“การขยับร่างกายในท่าทางที่หลากหลายอาจช่วยบำรุงสมองได้ แต่ยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์รองรับว่าการทำท่าทางนี้จะช่วยป้องกันอัลไซเมอร์ได้โดยตรง”
อันดับที่ 4 : น้ำมันมะพร้าวรักษาอัลไซเมอร์ จริงหรือ ?
แชร์ว่า : การกิน “น้ำมันมะพร้าว” เพื่อสร้างคีโตน ที่ช่วยรักษาอาการสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ได้
บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌
เรื่องนี้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ศ.นพ.นิพนธ์ พวงวรินทร์ ราชบัณฑิต
“ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าน้ำมันมะพร้าวช่วยรักษาโรคอัลไซเมอร์ได้ และการบริโภคน้ำมันมะพร้าวมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อร่างกาย”
อันดับที่ 5 : เคี้ยวนาน ๆ 50 ครั้ง ช่วยป้องกันอัลไซเมอร์ จริงหรือ ?
แชร์ว่า : การกิน “น้ำมันมะพร้าว” เพื่อสร้างคีโตน ที่ช่วยรักษาอาการสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ได้
บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌
เรื่องนี้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : นพ.ชลภิวัฒน์ ตรีพงษ์ อายุรแพทย์ระบบประสาทและสมอง สถาบันประสาทวิทยา
“สมองส่วนที่ควบคุมการเคี้ยวอาหารและสมองส่วนที่ดูแลความจำนั้นเป็นคนละส่วนกัน ดังนั้นการเชื่อว่าเคี้ยวนาน ๆ แล้วจะช่วยป้องกันอัลไซเมอร์นั้นอาจไม่ถูกต้อง”
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์
เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter