ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดอาหารก่อมะเร็ง จริงหรือ ?

22 พฤษภาคม 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์เกี่ยวกับสารพัดอาหารก่อมะเร็ง ทั้งการกินผลไม้เป็นประจำจะทำให้เป็นมะเร็งตับ และการกินปลานิลเลี้ยง เสี่ยงมะเร็งถึง 10 เท่า ?! ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.ดร.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร. กนิฐพร วังใน อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เรณุกา นิธิบุณยบดี รรท.หน.กลุ่มตรวตสอบคุณภาพทางจุลินทรีย์ กรมประมง ตะวัน มีสอาด เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิล อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี พรชัย บัวประดิษฐ์ ประธานสหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชลบุรี แสงเดือน นาคสุวรรณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด เขต 7 กรมประมง ภก.ประพนธ์ อางตระกูล อดีตรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.พิเศษ นพ.ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวัฒโนสถ โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ ดร.มลฤดี […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดสิ่งที่ห้ามทำช่วงหน้าร้อน จริงหรือ ?

3 มีนาคม 2567 ตามที่มีการแชร์เกี่ยวกับสารพัดสิ่งห้ามทำช่วงหน้าร้อน ทั้งดื่มน้ำเย็น อาบน้ำเย็น หรือเปิดแอร์นอน และหน้าร้อนต้องเติมน้ำมันรถให้เต็มถัง เพื่อป้องกันรถระเบิด มีเรื่องอะไรกันบ้าง ไปติดตามกันเลย อันดับที่ 1 : สิ่งของ 6 อย่างที่ห้ามวางไว้ในรถยนต์ จริงหรือ ? มีการแชร์คำเตือนว่าป้องกันอุบัติเหตุช่วงหน้าร้อน 6 สิ่งของที่ไม่ควรลืมทิ้งไว้ในรถ เมื่อจำเป็นต้องจอดกลางแดดร้อน เพื่อความปลอดภัยนั้น บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ศ.ดร.ธีรยุทธ์ วิไลวัลย์ อาจารย์ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1.ไฟแช็ก กรณีจอดรถตากแดดที่มีอุณหภูมิร้อนสูง จะทำปฏิกิริยากับสารเคมีเหลวภายในตัวไฟแช็ก และเมื่อถึงจุดหนึ่ง ไฟแช็กจะระเบิดตัวเองทำให้เกิดไฟลุกได้ 2.กระป๋องสเปรย์ต่าง ๆ เนื่องจากความร้อนทำให้แก๊สในกระป๋องขยายตัว มีแรงดันสูงขึ้น ก็มีโอกาสที่จะระเบิดได้เช่นกัน 3.น้ำแข็งแห้ง กรณีนี้นำแข็งแห้งจะเริ่มระเหิด และทำปฏิกิริยากับอาการเป็นคาร์บอนไดออกไซด์มายังภายในตัวรถ ทั้งนี้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารจะสูดดมไปโดยไม่รู้ตัว และทำให้หมดสติในที่สุด 4.ขวดพลาสติกใสที่บรรจุน้ำอยู่เต็มขวด เมื่อคุณวางขวดน้ำพลาสติกไว้ที่บริเวณคอนโซลหน้ารถ และจอดรถไว้บริเวณที่แสงแดดส่องได้มุมกับขวดน้ำ ปฏิกิริยาหักเหของแสงและก่อให้เกิดไฟไหม้รถ แต่กรณีนี้มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก ๆ 5.อุปกรณ์ที่มีแบตเตอรี่ทุกชนิด เช่น สมาร์ทโฟน  แบตเตอรี่สำรอง กรณีนี้ความร้อนอาจทำให้วงจรภายใน ได้รับความเสียหาย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต อันตรายของอาหารทอด อาหารมัน จริงหรือ ?

31 มกราคม 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์อันตรายจากของทอดของมัน ทั้งเตือนห้ามกินกากหมูและสาหร่ายทอดกรอบ และหม้อทอดไร้น้ำมัน ทำให้อาหารมีสารก่อมะเร็ง ?! ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธุ์ อาจารย์ประจำ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร.อิทาวุธ สรรพวรสถิตย์ ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร.กิตณา แมคึเน็น อาจารย์ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ กรรมการบริหารสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ผศ.ดร.ชนิพรรณ บุตรยี่ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล รศ.ดร.ธัญญารัตน์ จิญกาญจน์ อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดร.มลฤดี สุขประสารทรัพย์ อาจารย์หลักสูตรพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดวิธีเติมน้ำมันรถ จริงหรือ ?

9 สิงหาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์เกี่ยวกับน้ำมันรถเอาไว้มากมาย ทั้งเทคนิคประหยัดน้ำมันเกียร์ออโต้ และเติมน้ำมันเต็มถังขาดทุนได้ ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : เติมน้ำมันเต็มถังขาดทุน จริงหรือ ? มีการแชร์เตือนกันเรื่องการเติมน้ำมันว่า ไม่ควรเติมแบบเต็มถัง เพราะจะทำให้เราขาดทุน เนื่องจากน้ำมันที่ค้างสายจะไหลคืนเป็นของปั๊ม ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : นายนรเศรษฐ จินดานิล ผู้จัดการส่วนซ่อมบำรุงสถานีบริการ บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ “อุปกรณ์จ่ายน้ำมันตามสถานีบริการหรือปั๊มน้ำมันเป็นระบบ Close Loop คือจ่ายน้ำมันออกอย่างเดียว ไม่ไหลย้อนกลับไปสายเติมน้ำมันได้ ดังนั้นการเติมน้ำมันเต็มถังจึงไม่ได้ทำให้ขาดทุน และได้ปริมาณน้ำมันตามที่จ่ายไป ไม่ได้คิดรวมถึงน้ำมันที่ค้างในสายแต่อย่างใด” อันดับที่ 2 : เติมน้ำมันปั๊มไหนก็เหมือนกัน จริงหรือ ? มีการแชร์คำแนะนำ สำหรับผู้ใช้รถว่าเติมน้ำมันปั๊มไหนก็เหมือนกัน ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : นายสุรมิส […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต น้ำมันมะพร้าวรักษาสารพัดโรค จริงหรือ ?

24 พฤษภาคม 2566 – จากกรณีที่มีการแชร์ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าวเอาไว้มากมาย หลายคนก็ว่าหุงข้าวใส่น้ำมันมะพร้าวช่วยลดน้ำตาล อีกทั้งยังช่วยรักษาโรคเริมอีกด้วย เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับกับชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : ไขมันมะพร้าวดีจริงหรือ ? มีการแชร์ถึงสรรพคุณของน้ำมันมะพร้าวว่า ไขมันอิ่มตัวจากน้ำมันมะพร้าวเป็นไขมันดี ร่างกายมนุษย์สามารถขับออกได้ และสิ่งที่คนเชื่อคือการกินไขมันนั้นทำให้อ้วน แต่ความจริง คือ ร่างกายต้องการไขมันในการละลายวิตามิน การกินไขมันจึงเป็นสิ่งจำเป็น ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ดร.นัฐพล ตั้งสุภูมิ อาจารย์สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ “ไขมันมะพร้าวถือว่าเป็นไขมันอิ่มตัวที่มีประโยชน์กว่าไขมันอิ่มตัวชนิดอื่น ๆ ร่างกายสามารถขับออกได้น้อยมาก การกินน้ำมันจึงไม่ควรกินมากเกินความต้องการของร่างกาย” อันดับที่ 2 : น้ำมันมะพร้าวรักษาโรคเริม จริงหรือ ? มีการแชร์สูตรรักษาโรคเริมได้ โดยการทาน้ำมันมะพร้าวบริเวณที่เป็นเริม 2-3 ครั้ง แผลจะหายสนิท ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ศ.นพ.ประวิตร อัศวานนท์ หัวหน้าสาขาวิชาตจวิทยา (หน่วยผิวหนัง) […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต น้ำมันปรุงอาหาร สารพัดประโยชน์ จริงหรือ ?

17 พฤษภาคม 2566 – จากกรณีมีการแชร์เกี่ยวกับประโยชน์ของน้ำมันปรุงอาหารเอาไว้มากมาย หลายคนก็ว่าใช้ทาไข่ไก่จะทำให้เก็บได้นานขึ้น และการอมน้ำมันกลั้วปากจะช่วยดูแลช่องปากได้ เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับกับชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : ปรุงอาหารด้วยน้ำมันชนิดไหนดีกว่ากัน ? มีการแชร์กันหลายกระแสถึงเรื่องน้ำมันที่ใช้ปรุงอาหาร บ้างก็ว่าชนิดนั้นดีกว่า ชนิดนี้ดีกว่า หลายคนได้รับแชร์ว่า น้ำมันหมูดีกว่าน้ำมันพืช บ้างก็ว่าน้ำมันมะพร้าวดีที่สุด บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ผศ.ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ อาจารย์ประจำ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และ นายสง่า ดามาพงษ์ “การกินน้ำมันเพื่อสุขภาพที่ดีไม่ขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำมันเพียงอย่างเดียว ปริมาณในการใช้ก็เป็นส่วนสำคัญเช่นกัน ซึ่งควรกินไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา” อันดับที่ 2 : 5 คุณประโยชน์ของน้ำมันหมู จริงหรือ ? มีการแชร์ 5 คุณประโยชน์ของน้ำมันหมูที่คุณอาจยังไม่รู้ เช่น […]

...