SME D Bank ผุด 2 มาตรการช่วยภาคใต้

กรุงเทพฯ 28 พ.ย. – SME D Bank ผุด 2 มาตรการด่วน ช่วยเอสเอ็มอีจังหวัดภาคใต้ประสบอุทกภัย พักชำระหนี้เงินต้น-ดอกเบี้ย 12 เดือน คู่เติมทุนฉุกเฉินฟื้นฟูกิจการ ก้าวข้ามวิกฤต


SME D Bank ออกมาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือเอสเอ็มอีภาคใต้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยพิบัติและสาธารณภัย ได้แก่ “พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย” ลูกค้าได้รับผลกระทบทางตรงและทางอ้อม สูงสุด 12 เดือน และ “เติมทุนฟื้นฟูกิจการ” พาก้าวข้ามวิกฤต

นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank กล่าวว่า ปัญหาอุทกภัยในหลายจังหวัดทางภาคใต้ จึงออกมาตรการช่วยเหลือเร่งด่วนให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถกลับมาเดินหน้าธุรกิจได้ในเร็ววัน ได้แก่ มาตรการ “พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย” สำหรับลูกค้าธนาคารที่ได้รับผลกระทบทางตรงและทางอ้อม ในพื้นที่ประสบภัยพิบัติตามที่ธนาคารกำหนด เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย ด้วยการพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย สำหรับกลุ่มเงินกู้ยืมแบบมีระยะเวลา (Term loan) สูงสุดไม่เกิน 12 เดือน สัญญาเบิกเงินทุนหมุนเวียนประเภทตั๋วสัญญาใช้เงิน (P/N) และสินเชื่อแฟคตอริ่ง ขยายระยะเวลาชำระตั๋วสัญญาใช้เงินออกไปอีกสูงสุด 180 วัน และสามารถพักชำระดอกเบี้ยได้


มาตรการ “เติมทุนฟื้นฟูกิจการ” ประกอบด้วย “สินเชื่อฉุกเฉิน” สำหรับลูกค้าเดิมได้รับผลกระทบทางตรง ที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ภัยพิบัติตามที่ธนาคารกำหนด เพื่อให้มีวงเงินกู้ฉุกเฉิน นำไปฟื้นฟูธุรกิจเฉพาะหน้า วงเงินกู้ 10% ของวงเงินเดิม ขั้นต่ำ 30,000 บาท สูงสุด 200,000 บาท (บุคคลธรรมดา สูงสุด 100,000 บาท และนิติบุคคล สูงสุด 200,000 บาท) อัตราดอกเบี้ย MLR ต่อปี ระยะเวลากู้ 3 ปี ปลอดชำระเงินต้น 12 เดือน ไม่ต้องมีหลักประกัน ยกเว้นค่าธรรมเนียม ลดกระบวนการนำส่งเอกสารในการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทางตรงเป็นการเร่งด่วน และ “สินเชื่อ Boost Up เพื่อเอสเอ็มอีประสบอุทกภัย” เปิดกว้างทั้งลูกค้าเดิมและลูกค้าใหม่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยทางตรง ซึ่งมีสถานประกอบการอยู่ในพื้นที่ ตามประกาศของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เพื่อลงทุน ปรับปรุง หรือหมุนเวียนเสริมสภาพคล่อง เพื่อฟื้นฟูกิจการ วงเงินกู้สูงสุด 2 ล้านบาท (รวมทุกสถาบันการเงินสูงสุดไม่เกิน 40 ล้านบาท) อัตราดอกเบี้ย 3.50% ต่อปี คงที่ 2 ปีแรก ส่วนปีที่ 3 เป็นต้นไป MLR +1.5%ต่อปี ระยะเวลาผ่อนนานสูงสุด 5 ปี ปลอดชำระเงินต้นสูงสุด 12 เดือน หลักประกัน ใช้ บสย.ค้ำประกันได้เต็มวงเงิน สิ้นสุดวันรับคำขอกู้ภายใน 30 ธันวาคม 2567 หรือจนกว่าจะเต็มวงเงินของโครงการ

มาตรการช่วยเหลือครั้งนี้เป็นทางเลือกโดยสมัครใจ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ต้องการรับบริการ แจ้งความประสงค์ได้ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น สาขาของ SME D Bank ทุกแห่ง, LINE Official Account : SME Development Bank, เว็บไซต์ www.smebank.co.th เป็นต้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center 1357. -515- สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

อลังการเคาท์ดาวน์เชียงใหม่ดึงดูดผู้คนทั่วโลก

ช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ที่เชียงใหม่กลายเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ที่จะไปร่วมเฉลิมฉลองกันที่นั่นไม่ต่ำกว่า 3 แสนคน ซึ่งมีการจัดกิจกรรมนับถอยหลังสู่ปีใหม่ในหลายจุด โดยเฉพาะที่อุทยานหลวงราชพฤกษ์ ซึ่งเต็มไปด้วยความสวยงามของดอกไม้และแสงไฟ เรียกว่าเป็นจุดเคาท์ดาวน์ที่สวยงามทั้งกลางวันและกลางคืน

พ่อช็อก ลูกสาวเสียชีวิตเหตุเครื่องบินไถลออกนอกรันเวย์

พ่อช็อก น้ำตาคลอรู้ข่าวลูกสาวเสียชีวิตเหตุเครื่องบินเชจูแอร์ ไถลออกนอกรันเวย์ เผยเป็นลาง ลูกยื่นเงินหมื่นให้พ่อจ่ายเงินฌาปนกิจศพให้ตัวเอง

Jeju Air CEO apologises for plane crash at airport in South Korea

ซีอีโอเชจูแอร์ขอขมาผู้เสียชีวิตจากเหตุเครื่องบินชน

โซล 29 ธ.ค.- ประธานเจ้าหน้าที่บริหารหรือซีอีโอ (CEO) ของสายการบินเชจูแอร์ (Jeju AIr) ขอขมาต่อผู้เสียชีวิตจากเหตุเครื่องบินชนรั้วกั้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติมูอัน ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตล่าสุดอยู่ที่ 124 คน จากจำนวนคนบนเครื่องบินทั้งหมด 181 คน นายคิม อีแบ ซีอีโอเชจูแอร์ แถลงต่อสื่อสั้น ๆ ว่า ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งและขอขมาต่อผู้โดยสารที่เสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุครั้งนี้ รวมถึงครอบครัว บริษัทจะแก้ไขสถานการณ์อย่างรวดเร็วและให้ความช่วยเหลือครอบครัวของผู้โดยสาร นอกจากนี้จะพยายามอย่างเต็มที่ในการหาสาเหตุร่วมกับรัฐบาล นายคิม กล่าวว่า บริษัทให้บริการเครื่องบินลำนี้โดยได้มีการซ่อมบำรุงตามปกติ และไม่พบสัญญาณใด ๆ ว่าเครื่องบินมีความผิดปกติ เชจูแอร์เป็นสายการบินต้นทุนต่ำของเกาหลีใต้ที่ตั้งขึ้นในปี 2548 ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศไปยังญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และไทย และมีเที่ยวบินในประเทศจำนวนมาก ด้านโบอิง บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินของสหรัฐ แถลงว่า กำลังประสานกับเชจูแอร์ กรณีเครื่องบินโบอิง 737-800 แบบ 2 เครื่องยนต์ เที่ยวบิน 7ซี2216 (7C2216) ชนที่ท่าอากาศยานทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาหลีใต้ และพร้อมให้ความช่วยเหลือสายการบิน ขณะที่กระทรวงคมนาคมของเกาหลีใต้ ระบุว่า เครื่องบินลำนี้ผลิตในปี 2552 […]

ข่าวแห่งปี 2567 : สุดอาลัย…ดาวลับฟ้า ปี 2567

ตลอดปี 2567 นับเป็นปีที่สูญเสียบุคคลมีชื่อเสียง ทั้งในแวดวงบันเทิง ศิลปินแห่งชาติ และวงการสื่อสารมวลชน ที่มีคุณูปการต่อประเทศชาติ