“พริษฐ์” รอหารือ 3 บุคคลสำคัญ ลุยทำประชามติ 2 ครั้งเพียงพอ

รัฐสภา 6 พ.ย.-“พริษฐ์” รอหารือ 3 บุคคลสำคัญ “ปธ.รัฐสภา-นายกฯ-ศาล รธน.” เดินหน้าทำประชามติ 2 ครั้งเพียงพอ ชี้หากไม่บรรจุร่างแก้ รธน. ให้มี ส.ส.ร.จัดทำ รธน.ใหม่ก่อน ก็ไม่สามารถมีรัฐธรรมนูญใหม่ได้ทันเลือกตั้งครั้งหน้า

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส. พรรคประชาชน ในฐานะกรรมาธิการร่วมพิจารณาร่าง พระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ กล่าวถึงการประชุม ร่วมพ.ร.บ.ประชามติฯ ว่า ว่าไม่ควรใช้เวลานานเพราะประเด็นที่เห็นต่างกันระหว่างสภาผู้แทนราษฎร กับวุฒิสภามีแค่ประเด็นเดียว คือ เรื่องใช้กติกาเสียงข้างมาก 1 ชั้นหรือ 2 ชั้น นอกจากนี้ หากรัฐบาลยึดแผนเดิม คือการทำประชามติ 3 ครั้ง และจะไม่ทำครั้งแรก จนกว่ามีการแก้พ.ร.บ.ประชามติเสร็จ ตนเกรงว่าจะมีความเป็นไปได้น้อยมาก ที่จะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ถูกจัดทำโดย สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ก่อนการเลือกตั้งครั้งถัดไป เพราะตามแผนเดิมมีความประสงค์ที่จะให้ประชาติครั้งแรกพร้อมกับการเลือกตั้งท้องถิ่นในช่วงต้นปี 2568 ซึ่งร่างพ.ร.บ.ประชามติยังไม่สรุปก็มีความเป็นไปได้น้อยมากว่ากรอบเวลาดังกล่าวจะเป็นจริงได้ หนทางเดียวที่จะเราจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ถูกจัดทำโดยส.ส.ร. ใช้บังคับก่อนการเลือกตั้งครั้งถัดไป คือการลดจำนวนประชามติจาก 3 ครั้งเหลือ 2 ครั้ง ซึ่งพรรคประชาชนก็ยืนยันมาโดยตลอดว่าหากยึดความจำเป็นทางกฎหมาย 2 ครั้งก็เพียงพอ แต่จะเป็นเช่นนั้นได้จะต้องหารือกับมี 3 บุคคลสำคัญ ซึ่งทางกรรมาธิการพัฒนาการเมืองสภาผู้แทนราษฎรได้ทำหนังสือเพื่อขอหารือแล้ว คือ 1. ประธานรัฐสภานายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ที่ได้มีการตอบกลับมา ให้เข้าหารือในวันที่ 27 พฤศจิกายนนี้ เพราะความจำเป็นในการเข้าพบประธานรัฐสภาเพื่อชี้แจง ถึงกระบวนการการบรรจุ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการ มีส.ส.ร.ในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งทางพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาชนได้ยื่นไปตั้งแต่ต้นปี แต่ประธานรัฐสภาไม่บรรจุในระเบียบวาระ เพราะกังวลว่าจะขัดกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ดังนั้นจึงหวังว่าการหารือในช่วงปลายเดือนนี้ จะเป็นการคลายข้อกังวลให้กับประธานรัฐสภาว่า การบรรจุร่างดังกล่าวในระเบียบวาระไม่ขัดรัฐธรรมนูญ หากดูคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยก็จะเห็นภาพชัดมากกว่านี้ จึงหวังว่าประธานรัฐสภาจะทบทวนและบรรจุร่างดังกล่าว


นายพริษฐ์ กล่าวว่าบุคคลที่ 2 คือ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าฝ่ายรัฐบาล หากประธานรัฐสภาบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมร่างดังกล่าวจะผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการลงมติความเห็นชอบของสส.แต่ละพรรคและสว.จึงอยากเข้าหารือกับนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลเพื่อพยายามที่จะเชิญชวนให้ทุกพรรคการเมืองในซีกรัฐบาลเห็นตรงกันถึงแนวทางการทำประชามติ 2 ครั้ง และ พิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับการ มีส.ส.ร.จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และขอความร่วมมือสส.ทุกพรรคการเมืองโน้มน้าว ให้สว.ให้ความเห็นชอบด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งเมื่อวานได้ทราบด้วยวาจาจากคำสัมภาษณ์ของนายกรัฐมนตรีที่ยินดีให้เราเข้าไปพบ ซึ่งหนังสือขอเข้าพบได้ออกไปเมื่อวันศุกร์ ที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา และอยู่ในขั้นตอนของสำนักเลขานายกรัฐมนตรีแล้ว

นายพริษฐ์ กล่าวถึงบุคคลสุดท้ายที่อยากหารือคือ ตัวแทนจากศาลรัฐธรรมนูญ แม้ตนเองจะยืนยันว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้บอกว่าต้องทำประชามติ 3 ครั้ง แต่เพื่อให้เกิดความชัดเจนของทุกฝ่าย ก็เป็นประโยชน์อย่างยิ่งหากศาลรัฐธรรมนูญจะมาขยายความเพิ่มเติมว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ หมายถึงขั้นตอนอย่างไร เพราะก่อนหน้านี้ที่สภาผู้แทนราษฎรได้ส่งหนังสือไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยเรื่องนี้อีกครั้ง แต่ศาลไม่รับไว้ วินิจฉัยโดยบอกว่าคำวินิจฉัยก่อนหน้านี้ชัดเจนแล้ว ดังนั้นหากมีตัวแทนของศาลรัฐธรรมนูญมาขยายความเรื่องนี้ก็จะเป็นประโยชน์ให้ทุกฝ่ายสบายใจในการเดินหน้าทำประชามติ 2 ครั้ง


เมื่อถามว่าเรื่องแก้รัฐธรรมนูญดูเหมือนน.ส.แพทองธารกังวลเรื่องถูกฟ้อง นายพริษฐ์ กล่าวยืนยันว่าการขอเข้าพบ ประธานรัฐสภา นายกฯ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะปิดช่องโหว่ และทำให้นายกฯ คลายกังวลได้

นายพริษฐ์ หวังว่าทั้ง 3 บุคคลที่คณะกรรมาธิการพัฒนาการเมืองสภาผู้แทนราษฎรขอหารือจะสำเร็จได้ภายในเดือนนี้ ส่วนกรณีที่ในการประชุมครั้งแรกของกรรมาธิการร่วม ดูเหมือนเสียงสส.จะแพ้โหวตฝั่งสว.นั้น นายพริษฐ์ กล่าวว่า ถ้าดูผลการลงมติ เลือกประธานในที่ประชุม ตัวแทนจากทางวุฒิสภาได้คะแนนมากกว่า จำนวนสว. ที่เข้าประชุมในวันนั้นดังนั้นหมายความว่า คงมีกรรมาธิการสัดส่วนสภาผู้แทนราษฎรที่ไปลงมติให้กับทางซีกสว. แต่ไม่สามารถรู้ได้ว่าเป็นใครเพราะเป็นการลงมติแบบลับ

ส่วนตัวแทนฝั่งสส.ของพรรคภูมิใจไทย มีแนวโน้มว่าจะเห็นด้วยกับการทำ ประชามติ 2 ชั้น ซึ่งเป็นความเห็นเดียวกับทางฝั่งวุฒิสภานั้น นายพริษฐ์กล่าวว่า ยังไม่ได้มีการคุยในรายละเอียดลงลึกในเนื้อหาแต่ถ้าวิเคราะห์จากการลงมติในห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎรก็จะเห็นว่า สส.ทุกพรรคมีการลงมติ ยืนยันร่างของสส. มีเพียงพรรคเดียวที่งดออกเสียง คือพรรคภูมิใจไทยจึงพอจะอนุมานได้ว่าหากจะมีพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งจะเห็นด้วยกับสว. ก็อาจจะเป็นพรรคภูมิใจไทยแต่จะเป็นเช่นนั้นหรือไม่ก็ต้องพูดคุยกันในชั้นกรรมาธิการ ซึ่งในวันนี้คงจะได้รับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายเพิ่มมากขึ้น ตนเองในฐานะกรรมาธิการก็ไปย้อนฟังการอภิปรายของสว.และเชื่อว่าจะสามารถตอบข้อกังวล ของทางฝั่งสว.ได้


ทั้งนี้ หากกรรมาธิการร่วมได้ข้อสรุป ที่สภาผู้แทนราษฎรไม่เห็นชอบ สภาผู้แทนราษฎรก็สามารถยืนยันร่างของสภาผู้แทนราษฎรได้ เพียงแต่จะต้องบวกเวลาเพิ่มอีก 6 เดือนและหลายคนก็กังวลจะกระทบกับไทม์ไลน์ ในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่ข้อกังวลเหล่านี้จะหายไป หากเราหันไปใช้กระบวนการที่มีการทำประชามติ 2 ครั้ง ซึ่งใน 6 เดือนตรงนี้จะไม่ส่งผลกระทบกับไทม์ไลน์ดังกล่าว เพราะขั้นตอนแรก ไม่ใช่การจัดทำประชามติเลยแต่เป็นการที่รัฐสภาพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับส.ส.ร. ซึ่งกว่าที่รัฐสภาจะพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับ ส.ส.ร.สำเร็จ ข้อสรุปเรื่องพร.บ.ประชามติก็เรียบร้อยแล้ว และ การทำประชามติก็จะไม่ล่าช้าออกไป

ดังนั้น การที่เราหันมาใช้แผนการทำประชามติ 2 ครั้ง ดูน่าจะเป็นทางออกที่ทำให้เราได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่บังคับใช้ก่อนการเลือกตั้งมากที่สุดและรัฐบาลสามารถที่จะรักษาสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชนได้

“ไม่ได้บอกว่าไม่ให้ความสำคัญกับการประชุมกมธ.ร่วมพ.ร.บ.ประชามติฯ ทำเต็มที่อยู่แล้วแต่จะบอกว่าถ้าเราอยากจะหาช่องทางที่ทำให้เราไม่ต้องมากังวลว่า กระบวนการในการหาข้อสรุปเรื่องพรบประชามติจะใช้เวลาเท่าไหร่คือหันไปใช้แผนการทำประชามติ 2 ครั้งก็จะทำให้เราไม่เจออุปสรรคและไม่เป็นอุปสรรคต่อแผน” นายพริษฐ์กล่าว

ส่วนการไม่บรรจุระเบียบวาระของนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ก่อนหน้านี้นั้น เหมือนเป็นเครื่องยืนยันว่า ประธานรัฐสภาทำถูกต้องแล้ว นายพริษฐ์ กล่าวว่าไม่เคยมีใครวินิจฉัย ว่าการบรรจุหรือไม่บรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระถูกต้องหรือไม่ถูกต้องแต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยออกมา ว่ารัฐสภามีอำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แต่จะต้องมีการทำประชามติ 1 ครั้งก่อนและหลังแต่สิ่งที่แต่ละฝ่าย ตีความกันการทำประชามติ 1 ครั้งก่อนคือก่อนอะไร ซึ่งถ้าเป็นในมุมมองของตนและพรรคเพื่อไทย คือก่อนที่จะมีส.ส.ร.จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่ถ้า เป็นในมุมมองของที่ปรึกษาของประธานสภาไปตีความว่า 1 ครั้งก่อน คือก่อนที่เสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขใดๆ เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาตั้งแต่วาระ 1 จึงทำให้จำนวนการทำประชามติเพิ่มขึ้นอีก 1 ครั้ง นี่คือข้อแตกต่าง ของการตีความคำวินิจฉัยของสารรัฐธรรมนูญ แต่ถ้าไปดูความเห็นของตุลาการแต่ละคน ส่วนใหญ่เขียนชัดว่าประชามติ 2 ครั้งพอ ก็หวังว่าข้อมูลตรงนี้จะเอากลับมาขยายความละเอียดมากขึ้นและหารือกับประธานสภาเพื่อเห็นว่า การบรรจุร่างดังกล่าวไม่ได้ขัดกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

แต่ทั้งนี้หากมีการหารือแล้วแต่ยังไม่บรรจุร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญอีก ตนมองว่าเราคุยด้วยเหตุและผลทางพรรคแกนนำฝ่ายค้านพรรคแกนนำรัฐบาลก็เห็นตรงกันในเรื่องนี้มาโดยตลอดว่าประชามติ 2 ครั้งเพียงพอแล้ว จึงคิดว่าฉันทามติของทั้งพรรคแกนนำฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลจะชี้ให้ประธานได้เห็น.-319.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ประหารชีวิตแอมไซยาไนด์

ศาลอาญาพิพากษาประหารชีวิต “แอม ไซยาไนด์”

ศาลอาญาพิพากษาประหารชีวิต “แอม ไซยาไนด์” ส่วนอดีตสามี คุก 1 ปี 4 เดือน “ทนายพัช” คุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา ชดใช้ ให้ผู้เสียหายกว่า 2 ล้านบาท

นายกฯ ถกตั้งนายพลตำรวจ 41 ตำแหน่ง ยันไม่มีการเมืองแทรก

นายกฯ ถกแต่งตั้งนายพลตำรวจ 41 ตำแหน่ง ยันไม่มีการเมืองแทรก ยึดตาม พ.ร.บ.ตำรวจ ฉบับใหม่ พลิกโผ ‘สยาม บุญสม’ ผงาดคุมนครบาล ‘สันติ ชัยนิรามัย’ นั่ง ผบช.ปส. ‘ไตรรงค์ ผิวพรรณ’ โยกคุมไซเบอร์ ‘ภาณุมาศ บุญญลักษม์’ ขึ้นเป็น ผบช.สตม.

ดีเอสไอพบเส้นเงินโอนจากแม่ถึงนักการเมือง ส. เกือบ 100 ล้าน

ดีเอสไอพบเส้นเงินโอนจากแม่ถึงนักการเมือง ส. เกือบ 100 ล้านบาท จำนวนนี้พบโอนจาก “บอสพอล-บอสปีเตอร์” ด้วย เร่งขยายผลมีบอสรายอื่นโอนเข้าบัญชีดังกล่าวอีกหรือไม่

ข่าวแนะนำ

“เอวา” เสือโคร่งสายแบ๊ว ดาวรุ่งดวงใหม่

หน้าตาที่น่ารักบ้องแบ๊วเหมือนแมวตัวโต ตกหัวใจคนรักสัตว์กันไปเต็มๆ สำหรับน้องเอวา เสือโคร่งสายแบ๊วของเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี นอกจากหน้าตาน่ารักแล้วยังมีความสามารถหลายอย่าง จนกลายเป็นดาวรุ่งดวงใหม่ ที่ผู้คนแห่ไปชมความน่ารักกันอย่างคึกคัก คาดจะช่วยดึงนักท่องเที่ยวไปที่เชียงใหม่ไนท์ซาฟารีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ต้อนรับอบอุ่น “โอปอล” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 ถึงไทย

กลับถึงไทยแล้ว “โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 ปรากฏตัวในชุดไทย สวยสง่า แฟนนางงามต้อนรับอย่างอบอุ่น

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

นายกฯ โชว์วิสัยทัศน์บนเวที Forbes ดันเศรษฐกิจไทย ส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์

“นายกฯ แพทองธาร” โชว์วิสัยทัศน์บนเวที Forbes Global CEO Conference ครั้งที่ 22 ดันเศรษฐกิจไทย ส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ รับมือความท้าทาย ชูจุดเด่นไทยอยู่ตรงกลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีภาคการเกษตรที่เข้มแข็งดึงดูดนักลงทุน บอกกระตุ​้นเศรษฐกิจ​แจกเงินหมื่นเฟส​ 2 พุ่งเป้าเงินสะพัด ลั่น​จุดยืนไทยวางตัวเป็นทูตสันติภาพ พร้อมปรับตัวตามนโยบาย “ทรัมป์”