สคร. ชี้แจงข้อวิจารณ์กม.โฮลดิ้งย้ำรัฐยังถือหุ้นใหญ่รัฐวิสาหกิจเหมือนเดิม

สคร. 4 ก.ย.-สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.)
ชี้แจงข้อวิจารณ์เรื่องพ.ร.บ.การพัฒนารัฐวิสาหกิจ ยืนยันข้อกำหนดในกฎหมาย
แม้จัดตั้งบรรษัทรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ แต่สถานะของรัฐวิสาหกิจ
11 แห่งที่จะบรรษัทฯดูแลยังมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจและมีกระทรวงการคลังดูแลบรรษัทฯอีกชั้นหนึ่ง


ตามที่สื่อสังคม online ได้เผยแพร่ข้อวิจารณ์ร่าง
พ.ร.บ.การพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ (ร่าง พ.ร.บ.การพัฒนารัฐวิสาหกิจ)
ว่า
คสช.
เตรียมออกกฎหมายแปรรูปรัฐวิสาหกิจอำพรางแบบยกเข่งโดยผ่านสภาเสียงข้างเดียว
กินรวบหนักกว่ายุคทักษิณหรือไม่
กระทรวงการคลังขอชี้แจงว่าข้อวิจารณ์ที่ 1. กรณี สนช.
รับหลักการร่าง พ.ร.บ.พัฒนารัฐวิสาหกิจ โดยจะนำรัฐวิสาหกิจ
11
แห่งที่มีสภาพเป็นบริษัทให้กับบรรษัทรัฐวิสาหกิจแห่งชาติเป็นผู้ครอบครองแทนนั้น
ตามร่างพ.ร.บ. พัฒนารัฐวิสาหกิจ
ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแปรรูปรัฐวิสาหกิจและไม่เกี่ยวกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม
แต่มีวัตถุประสงค์หลักในการปฏิรูปและยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ
เพราะในหลักการและเหตุผลของร่าง พ.ร.บ. พัฒนารัฐวิสาหกิจ ระบุชัดเจนว่า บรรษัทฯ
ทำหน้าที่ในฐานะผู้ถือหุ้นในรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทแทนกระทรวงการคลัง
เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจให้มีความพร้อมในการแข่งขันเชิงพาณิชย์และสามารถดำเนินการได้อย่างเต็มศักยภาพ
โดยคงความเป็นรัฐวิสาหกิจไว้ นอกจากนี้ได้กำหนดไว้ในกฏหมายชัดเจน ว่า
“ให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดของบรรษัทฯ และหุ้นทุกหุ้นของบรรษัทฯ
…โอนเปลี่ยนมือมิได้”

ข้อวิจารณ์ที่ 2 หุ้นของรัฐในรัฐวิสาหกิจจะถูกลดสัดส่วนลงไปเรื่อยๆ
จนรัฐวิสาหกิจอาจหมดสภาพความเป็นรัฐวิสาหกิจ โดยที่ประชาชนไม่มีโอกาสรับรู้ กระทรวงการคลังขอชี้แจงว่า
ร่าง พ.ร.บ. พัฒนารัฐวิสาหกิจ
กำหนดให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดของบรรษัทฯ ประกอบกับมาตรา
89
กำหนดให้เมื่อกระทรวงการคลังได้โอนหุ้นในรัฐวิสาหกิจให้แก่บรรษัทฯ แล้ว
ให้มติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดสัดส่วนการถือหุ้นของกระทรวงการคลังในรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดใดใช้บังคับกับบรรษัทฯ
ในการถือหุ้นในรัฐวิสาหกิจนั้นด้วย อันมีผลทำให้บรรษัทฯ
เมื่อได้รับโอนหุ้นจากกระทรวงการคลังแล้วจำเป็นจะต้องเพิ่มทุนให้คงสัดส่วนตามที่มติคณะรัฐมนตรีได้กำหนดไว้
โดยจะไปลดทุนเองไม่ได้   นอกจากนั้น มาตรา
11 (8) แห่งร่าง
พ.ร.บ. พัฒนารัฐวิสาหกิจ กำหนดให้คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.)
เป็นผู้เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในกรณีที่จะมีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการถือหุ้นดังกล่าว
จากเดิมที่เป็นเพียงมติคณะรัฐมนตรีที่กระทรวงเจ้าสังกัดแต่ละแห่งจะสามารถเสนอขอลดสัดส่วนได้เอง
ข้อวิจารณ์ที่ว่า หุ้นของรัฐในรัฐวิสาหกิจจะถูกลดสัดส่วนไปเรื่อยๆ
จึงไม่ถูกต้อง  นอกจากนี้
ประชาชนยังมีสิทธิตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา
78 ทุกประการ


ข้อวิจารณ์ที่ 3 การนำบริษัทรัฐวิสาหกิจ 11 แห่ง
ที่มีทรัพย์สินรวมกันมูลค่ามหาศาลประมาณ
6 ล้านล้านบาท
ซึ่งมีทั้งทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติ รวมทั้งอำนาจและสิทธิมหาชน
เตรียมเปิดขายเหมาเข่ง เป็นกระบวนการผ่องถ่ายทรัพย์สินของรัฐให้เอกชนใช่หรือไม่ กระทรวงการคลังขอชี้แจงว่า  บรรษัทฯ เป็นหน่วยงานของรัฐ
ที่มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด
โดยกระทรวงการคลังทำหน้าที่ควบคุมการใช้จ่ายและการลงทุนของบรรษัทฯ
รวมถึงประเมินผลการทำหน้าที่ของบรรษัทฯ คู่ขนานไปกับคนร. ที่จะกำกับการดำเนินการของบรรษัทฯ
ให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ
เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจให้มีความพร้อมในการแข่งขันเชิงพาณิชย์และสามารถดำเนินการได้อย่างเต็มศักยภาพ
โดยยังคงความเป็นรัฐวิสาหกิจไว้ 
อันเป็นหลักการและเหตุผลในการตรากฎหมายฉบับนี้ ดังนั้น ร่างกฎหมายนี้จึงมีเจตนารมณ์ที่ชัดเจนในการดำรงความเป็นรัฐวิสาหกิจไว้

ข้อวิจารณ์ที่ 4 การจัดตั้งบรรษัทฯ
และการรวบเอากรรมสิทธิ์ในหุ้นรัฐวิสาหกิจไปรวมศูนย์ไว้ในมือของบรรษัทฯ นั้น
นอกจากมิได้สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ประเทศไทย
และไม่สามารถพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจให้ดีขึ้นแต่อย่างใด กระทรวงการคลังขอชี้แจงว่า
การจัดตั้งบรรษัทฯ ขึ้นตามร่าง พ.ร.บ.
พัฒนารัฐวิสาหกิจนี้เป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนารัฐวิสาหกิจ
โดยสร้างความชัดเจนในหน้าที่ของผู้ถือหุ้นของรัฐวิสาหกิจจากเดิมที่มีหน้าที่ทับซ้อนกันของหลายหน่วยงาน
และกำหนดให้บรรษัทฯ ทำหน้าที่เป็นผู้ถือหุ้นเชิงรุก ซึ่งเป็นไปตามมาตรา
44 แห่งร่าง
พ.ร.บ. พัฒนารัฐวิสาหกิจที่กำหนดให้จัดตั้งบรรษัทฯ ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์
“เพื่อถือหุ้นในรัฐวิสาหกิจในกำกับของบรรษัทฯ
และกำกับดูแลการประกอบกิจการของรัฐวิสาหกิจในฐานะผู้ถือหุ้น ให้เกิดผลตอบแทนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ
ซึ่งการทำหน้าที่ของผู้ถือหุ้นเชิงรุกโดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการพัฒนารัฐวิสาหกิจ
นอกจากนี้  ร่าง พรบ.พัฒนารัฐวิสาหกิจนี้
ยังกำหนดให้มีการประเมินผลบรรษัทที่ชัดเจน
โดยให้กระทรวงการคลังมีหน้าที่ประเมินผลการดำเนินงานบรรษัทฯ ตามหลักเกณฑ์ที่
คนร.กำหนด.  ดังนั้น
การนำรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทที่มีทุนเรือนหุ้นที่ชัดเจน มาอยู่ภายใต้บรรษัทฯ
ที่เป็นหน่วยงานของรัฐมีกระทรวงการคลังถือหุ้น
100% 
จะทำให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นจากการมีมาตรฐานการกำกับดูแลเดียวกัน โปร่งใส
และรับผิดรับชอบตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี

ข้อวิจารณ์ที่ 5. การดำเนินการต่างๆ
จำเป็นต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบครบถ้วนโดยรัฐสภาเสียก่อน มิใช่ปล่อยให้
สนช.ซึ่งเป็นสภาเสียงข้างเดียวที่แต่งตั้งมาโดยรัฐบาล
คสช.มาตัดสินใจแทนคนไทยทั้งประเทศผู้เป็นเจ้าของสมบัติชาติที่แท้จริง กระทรวงการคลังขอชี้แจงว่า
ในการยกร่าง พ.ร.บ. พัฒนารัฐวิสาหกิจ
ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นที่ครบถ้วนตามมาตรา
77
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เช่น 
การจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ
และประชาชนทั่วไปที่สนใจ รวมทั้งองค์กรด้านแรงงานของรัฐวิสาหกิจ
(สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจฯ และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์) ทั้งนี้
กระทรวงการคลังได้นำความเห็นและข้อสังเกตดังกล่าวมาประกอบการปรับปรุงร่างกฎหมายด้วยแล้ว
เช่น ข้อกังวลของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
กระทรวงการคลังได้กำหนดในเหตุผลของร่างกฎหมายพัฒนารัฐวิสาหกิจว่า
สมควรจัดตั้งบรรษัทฯ
ทำหน้าที่ผู้ถือหุ้นในรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทแทนกระทรวงการคลัง
โดยคงความเป็นรัฐวิสาหกิจไว้


ข้อวิจารณ์ที่ 6 บรรษัทฯ
ที่ตั้งไม่ขึ้นอยู่กับสภาพัฒน์ ไม่อยู่ภายใต้กม. แรงงานสัมพันธ์ และ
พรบ.คุณสมบัติมาตรฐานกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ รวมถึงบรรษัทฯ สามารถเลือกองค์กรที่จะเข้ามาตรวจสอบบัญชีได้
กระทรวงการคลังขอชี้แจงว่า ในร่างพรบ.มาตรา
51 ได้กำหนดชัดเจนว่า ให้รัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังได้โอนหุ้นให้แก่บรรษัทฯ
ตามพระราชบัญญัตินี้เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
และให้นำกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ
มาใช้กับพนักงานรัฐวิสาหกิจ  นอกจากนั้น
ในการกำหนดยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ คนร. จะเป็นผู้กำกับให้บรรษัทฯ
เสนอกรอบนโยบายการพัฒนาและทิศทางการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ
ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 
สำหรับข้อวิจารณ์ที่ว่าบรรษัทฯ ที่จัดตั้งนั้น
สามารถเลือกองค์กรที่จะเข้ามาตรวจสอบบัญชีได้ เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเช่นกัน  เพราะร่าง พ.ร.บ. พัฒนารัฐวิสาหกิจ
ไม่ได้ให้สิทธิบรรษัทฯ ในการเลือกองค์กรที่จะเข้ามาตรวจสอบบัญชี
หากแต่เป็นกระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นทั้งหมดของบรรษัทฯที่จะเป็นผู้แต่งตั้งผู้สอบบัญชีของบรรษัทฯ
ตามมาตรา
79
ประกอบกับบรรษัทฯ
ยังมีสถานะเป็นหน่วยรับตรวจตามมาตรา
4 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน

นอกจากนี้ บรรษัทฯ จะยังอยู่ในความหมายของนิยาม หน่วยงานของรัฐตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคา
ต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.
2542 ที่จะต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายดังกล่าว
ประกอบกับมาตรา
62 และมาตรา 75 แห่งร่าง พ.ร.บ. พัฒนารัฐวิสาหกิจ
กำหนดให้กรรมการบรรษัทฯ และกรรมการผู้อำนวยการใหญ่บรรษัทฯ
เป็นผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
ซึ่งมีผลทำให้บุคลากรดังกล่าวมีหน้าที่ในการเปิดเผยและยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อสำนักงาน
ป.ป.ช. รวมทั้งยังอยู่ภายใต้การป้องกันและปราบปรามการทุจริตตามกฎหมายดังกล่าวด้วย-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง