ความเชื่อมั่นผู้บริโภค เม.ย.67 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2

กรุงเทพฯ 15 พ.ค.-ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยความเชื่อมั่นผู้บริโภค เม.ย.67 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 สะท้อนถึงความกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมที่ยังคงฟื้นตัวช้าประกอบกับค่าครองชีพที่ยังอยู่ในระดับสูง และกังวลใจค่าแรงปรับขึ้น 400 บาททั่วประเทศอาจทำให้ราคาสินค้าปรับขึ้นตาม 


นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจเปิดเผยว่าศูนย์พยากรณ์ฯได้เผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (CCI) ประจำเดือนเมษายน 2567 อยู่ที่ระดับ 62.1 จาก 63.0 ในเดือนก่อนหน้า เป็นการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 เนื่องจากผู้บริโภค เริ่มกลับมากังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวช้า ประกอบกับราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะน้ำมันเบนซิน และกระแสข่าวการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อค่าครองชีพ รวมทั้งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในประเทศไทยและทั่วโลก ตลอดจนสงครามรัสเซียยูเครน กับ อิสราเอลและฮามาส ที่ยังส่งผลกระทบทางจิตวิทยาในเชิงลบ ต่อกำลังซื้อ ต่อการท่องเที่ยว การส่งออก และการจ้างงานในอนาคต 

ขณะที่ ความคิดเห็นของภาคธุรกิจ จากสมาชิกหอการค้าไทยทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ในเดือนเมษายน 2567 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 อยู่ที่ระดับ 55.3 แต่เป็นการปรับขึ้นเพียงเล็กน้อยจากระดับ 55.2 ในเดือนมีนาคม โดยความเชื่อมั่นถือว่า ดีขึ้นเกินกว่าค่ากลางระดับ 50 ในทุกภูมิภาค รวมทั้งตัวชี้วัดทุกด้าน ทั้งเศรษฐกิจโดยรวม การบริโภค การลงทุน ภาคท่องเที่ยว ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม  ภาคการค้า การค้าชายแดน และภาคบริการ รวมถึงการจ้างงาน ปรับตัวดีขึ้น แต่เป็นการปรับขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเพียง 0.1-0.3% 


ทั้งนี้ ถือความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ ยังคงทรงตัว เนื่องจากยังมีปัจจัยลบที่สำคัญจากต้นทุนทางการเงิน และต้นทุนพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงความกังวลปริมาณน้ำในเขื่อน เพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภค ที่อาจจะไม่เพียงพอ ขณะที่ในภาคเหนือ ที่เจอผลกระทบ จากฝุ่น PM 2.5 และที่สำคัญ ผู้ประกอบการทุกภูมิภาค โดยเฉพาะในภาคใต้ มีความกังวลถึงเรื่องการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ที่อาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนภาคบริการที่สูงแล้วให้สูงขึ้นอีก รวมถึงต้นทุนการผลิตสินค้าด้วย

โดยผู้ประกอบการ มีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ ให้เร่งบริหารจัดการน้ำให้มีใช้เพียงพอกับภาคการเกษตร อุตสาหกรรม และภาคครัวเรือนรวมทั้งหาแนวทางการแก้ไขปัญหา หรือ มาตรการเยียวยาผู้ประกอบการ หากมีการค่าแรงขั้นต่ำตามที่รัฐบาลประกาศจริง และต้องมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจคู่ขนานกันไปด้วย ไปจนถึงการดูแลเสถียรภาพของค่าเงินบาทให้เหมาะสมกับการค้าการลงทุน โดยภาคเอกชน มองปีนี้ เศรษฐกิจกลับมาฟื้นจากสถานการณ์โควิดที่เคยติดลบถึง 6.1% แต่น่าจะฟื้นตัวได้แบบอ่อนๆ และเริ่มมีความลังเล จากภาวะต้นทุนที่สูงขึ้น ทั้งค่าไฟ ราคาพลังงาน และที่สำคัญ คือ การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ  ที่เอกชน ออกมาเสนอให้ขึ้นตามความเหมาะสมของแต่ละจังหวัด และรายอุตสาหกรรม ตามหลักการสากล ซึ่งหากภาครัฐ มีการปรับขึ้นค่าแรงตามที่ประกาศไว้จริง ก็ต้องมีมาตรการเยียวยาที่ชัดเจน เพราะเงินที่ใช้ในส่วนนี้เป็นของเอกชน 100% เต็ม

ขณะที่ ความเชื่อมั่นผู้บริโภค ซึ่งมีสัญญาณของการปรับตัวไม่โดดเด่น ปัจจัยหลักจะมาจากราคาพลังงาน มีผลต่อเนื่องกับค่าครองชีพรวมทั้งยังมีข่าวการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทมาเป็นปัจจัยบั่นทอนเพิ่มเติม และเสถียรภาพทางการเมืองที่ยังไม่นิ่ง หลังมีการทยอยลาออกของรัฐมนตรี ที่สำคัญคือเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้น แต่ยังเชื่อว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคหลังจากนี้ จะดีขึ้นได้ จากนโยบายการคลังของรัฐบาล ทั้งงบลงทุน การใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน ดังนั้นหากเม็ดเงินลงไปในระบบเศรษฐกิจได้ ภายในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม อย่างน้อยเดือนละ 50,000 ล้านบาท เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ 


อย่างไรก็ตาม โดยทางศูนย์ฯคาดว่า เศรษฐกิจจะมีสัญญาณดีขึ้นตั้งแต่เดือนกรกฎาคม จากเม็ดเงินภาครัฐ ทั้งการจัดซื้อจัดจ้าง ภาคการเกษตรดีขึ้น จากฝนที่เริ่มตก บรรเทาสถานการณ์ภัยแล้ง คาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะโต 2.6%  ซึ่งต้องรอนโยบายเงินดิจิทัลวอลเล็ต ที่จะมีผลให้เศรษฐกิจไทยกระเตื้องขึ้น เพราะยังต้องรอความชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องการใช้เงิน รวมถึงความชัดเจนของการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศตั้งแต่เดือนตุลาคมด้วย เพราะจะมีผลให้ผู้ประกอบการ จะขึ้นราคาสินค้าและบริการ

นอกจากนี้ จากการคำนวณมีกลุ่มแรงงานที่ได้รับประโยชน์จากขึ้นค่าแรง 400 บาทประมาณ 7 ล้านคน และเฉลี่ยค่าแรงขั้นต่ำขณะนี้อยู่ที่ 360 บาท จะมีเงินเพิ่มเฉลี่ยเดือนละ 3,600 ล้านบาท รวมในไตรมาสสุดท้าย จะมีเงินเพิ่มประมาณ 10,000 ล้านบาท กระตุ้นเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ได้ 0.3-0.4% แต่ส่งผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจของทั้งปีเพียง 0.05% เท่านั้น แต่ในทางกลับกันหากผู้ประกอบการผลักภาระไปยังราคาสินค้า จากการประเมินคาดว่า ราคาสินค้าจะเพิ่มขึ้น 10-15% กระทบต่อกำลังซื้อของประชาชนทั่วประเทศ โดยเฉพาะกำลังแรงงานทั่วประเทศที่ 38 ล้านคน ซึ่งไม่ได้รับประโยชน์ตรงนี้ทุกคน กระทบต่อการบริโภคหดตัวลง ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในเชิงลบมากกว่าเชิงบวก คาดว่าจะฉุดเศรษฐกิจปีนี้ ให้หดตัวจากที่ควรจะเป็น ประมาณ 0.1-0.2% เป็นต้น .-514-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เชียงใหม่อากาศแปรปรวน เจอลมหนาว-ฝนตก 3 วันติด

ชาวเชียงใหม่เจอลมหนาวและฝนตกต่อเนื่อง 3 วันติด อุตุฯ ย้ำอากาศแปรปรวน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย ยังมีฝนตกและลมหนาว แนะรักษาสุขภาพ

“อัจฉริยะ” ยื่นสอบปม “ทนายตั้ม” ปูดข่าวผู้บริหารปลอมเอกสารขยายอายุเกษียณ

“อัจฉริยะ” ยื่นหนังสือตรวจสอบข้าราชการช่วยผู้บริหารรัฐวิสาหกิจปลอมเอกสารขยายอายุเกษียณ คาดอาจมีทนายดังเข้าไปเอี่ยว เสนอตำรวจให้สอบพยานรายสำคัญที่เป็นประโยชน์กับ “มาดามอ้อย”

“ทนายตั้ม” เครียดหนัก หลัง 3 บิ๊ก บช.ก. สอบปากคำ

“ทนายตั้ม” เครียดหนัก หลัง 3 บิ๊กสอบสวนกลาง สอบปากคำ นานกว่า 5 ชั่วโมง ขณะที่พนักงานสอบสวนเตรียมเข้าค้น “ษิทรา ลอว์ เฟิร์ม” เช้าพรุ่งนี้ หาหลักฐานเพิ่ม ก่อนฝากขังช่วงบ่าย ค้านประกันตัว

“บิ๊กอ้อ” เผย “ทนายตั้ม-ภรรยา” มีพฤติการณ์หนี-ยุ่งเหยิงพยานฯ

“บิ๊กอ้อ” ชี้ตำรวจต้องออกหมายจับ “ทนายตั้ม” เหตุพบพฤติการณ์เตรียมหลบหนีออกนอกประเทศ และยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน นอกจากนี้ยังมีคดีต่อเนื่อง 3 คดี เตรียมแจ้งข้อหาเพิ่ม

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เผย “เหนือ-อีสาน” อากาศเย็นตอนเช้า-ภาคใต้ฝนหนัก

กรมอุตุฯ เผย “เหนือ-อีสาน” อากาศเย็นในตอนเช้า เตือนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง พร้อมอัปเดตเส้นทางพายุ “หยินซิ่ง”

MOU44

MOU 44 ผลประโยชน์ชาติ กับ การเมือง ตอนที่ 1

ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา เรื่องเอ็มโอยู 44 และเส้นแบ่งอาณาเขตทางทะเล หรือเส้นเคลม กลายเป็นปมร้อน ท่ามกลางความกังวลถึงผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และสิทธิเหนือเกาะกูด ติดตามความเห็นและมุมมองจากผู้เกี่ยวข้องในรายงาน “ปมร้อน เอ็มโอยู 44 ผลประโยชน์ชาติ กับ การเมือง”

ทนายตั้ม

“ทนายตั้ม” สร้างตัวตนผ่านสื่อ หวังหาผลประโยชน์หรือไม่

หลังจากพนักงานสอบสวนควบคุมตัว “ทนายตั้ม” และภรรยา เข้าเรือนจำไปแล้ว มีคำถามตามมาว่า ทนายคนดังสร้างตัวตนจนโดดเด่นในสังคม เพื่อหาผลประโยชน์จากความน่าเชื่อถือที่สร้างไว้หรือไม่