ชัวร์ก่อนแชร์ : ตั้ง อ.กระแสสินธุ์ เป็นจังหวัดที่ 78 ของไทย จริงหรือ ?

11 กรกฎาคม 2566


🎯 ตามที่มีการแชร์ข้อความ จัดตั้ง อ.กระแสสินธุ์ เป็นจังหวัดที่ 78 ของไทย จริงหรือ ?

 📌 บทสรุป :  ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ


  • จ.สงขลา ไม่มีแนวคิดจัดตั้งจ.กระแสสินธุ์แต่อย่างใด 
  • อ.กระแสสินธุ์มีพื้นที่ขนาดเล็ก และ รายได้เฉลี่ยไม่ถึงเกณฑ์จัดตั้งเป็นจังหวัด

 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เว็บไซต์ข่าวจริงประเทศไทย ยืนยันว่า เรื่องนี้ไม่จริงแต่อย่างใด ข้อมูลชุดนี้ เริ่มแพร่กระจายในช่วง เดือนกรกฎาคม 2562 ในกลุ่มฟซบุ๊ก “คนใต้ใจเต็ม” และกลับมาส่งต่อกันอีกครั้งใน เดือน กรกฎาคม 2566

👉  ศูนย์ประสานข่าวกรองแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย  จ.สงขลา ชี้แจงข้อเท็จจริง ดังนี้
1. พื้นที่ จ.สงขลา ไม่ปรากฏ ว่ามีแนวความคิดการจัดตั้งจังหวัดกระแสสินธุ์แต่อย่างใด โดยในห้วงที่ผ่านมามีปรากฏแนวความคิดการจัดตั้งจังหวัดนาทวี เท่านั้น
2. อ.กระแสสินธุ์ ยังไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะจัดตั้งเป็นจังหวัดได้ เนื่องจากมีพื้นที่ขนาดเล็กและรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรในพื้นที่อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ
3. ปัจจุบัน พื้นที่ อ.กระแสสินธุ์ กำลังดำเนินโครงการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลาเชื่อมระหว่าง อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา กับ อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง เพื่อประโยชน์ทางการคมนาคมและเศรษฐกิจ 

👉 ข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งจังหวัดใหม่มีการส่งต่อกันมาตลอด จากฐานข้อมูล ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ พบว่า มีการแชร์ข้อมูลที่คล้ายกัน ตั้งแต่ เดือน มีนาคม 2561 เกี่ยวกับการตั้งจังหวัดใหม่ 7 จังหวัด รวมเป็น 83 จังหวัด

👉 จนถึงปัจจุบัน (กรกฎาคม 2566) ยังมีประชาชนเข้ามาสอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวกับศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

👉 สำหรับกรณีนี้ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ได้ตรวจสอบกับ กรมการปกครอง ยืนยันว่า ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌

👉 การจัดตั้งจังหวัดใหม่ในประเทศไทยนั้น ต้องตรงกับหลักเกณฑ์ตามมติคณะรัฐมนตรี  และมีกระบวนการหลายขั้นตอน ทั้ง การเสนอเรื่องไปยังจังหวัด จากนั้นต้องมีการตั้งเรื่องมายังกระทรวงมหาดไทย เพื่อทำแบบสอบถามไปยังประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และส่วนราชการต่าง ๆ ว่าเห็นชอบหรือไม่ หากส่วนใหญ่เห็นด้วยถือว่าผ่านเกณฑ์ ทางกระทรวงมหาดไทยจะเสนอต่อที่ประชุม ครม.  เมื่อ ครม.พิจารณาเห็นชอบก็ต้องส่งเรื่องเข้ามาสู่สภาผู้แทนราษฎร เพื่อเสนอเป็นกฎหมาย พ.ร.บ.จัดตั้งจังหวัดต่อไป

👉 สำหรับหลักเกณฑ์ในการพิจารณาจังหวัดใหม่ ตามมติคณะรัฐมนตรี 8 ธันวาคม 2524 มี ดังนี้ 

  1. เนื้อที่และสภาพภูมิศาสตร์ จังหวัดที่จะแบ่งแยกควรมีเนื้อที่ประมาณ 10,000 ตร.ก.ม.ขึ้นไป และเมื่อแยกไปตั้งเป็นจังหวัดใหม่แล้วจังหวัดเดิมควรมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 5,000 ตร.ก.ม. จังหวัดตั้งใหม่ควรมีเนื้อที่ 5,000 ตร.ก.ม.ขึ้นไป
  2. จำนวนอำเภอและกิ่งอำเภอในเขตการปกครอง จังหวัดที่จะแบ่งแยกควรมีอำเภอในเขตการปกครองจำนวนไม่น้อยกว่า 12 อำเภอ และกิ่งอำเภอ และเมื่อแยกไปตั้งเป็นจังหวัดใหม่แล้ว จังหวัดเดิมควรมีอำเภอและกิ่งอำเภอในเขตการปกครองไม่น้อยกว่า 6 อำเภอและกิ่งอำเภอ ส่วนจังหวัดที่ตั้งใหม่ควรมีอำเภอและกิ่งอำเภอไม่น้อยกว่า 6 อำเภอและกิ่งอำเภอ
  3. จำนวนประชากร จังหวัดที่จะแบ่งแยกควรมีจำนวนประชากรไม่น้อยกว่า 600,000 คน และเมื่อแยกไปแล้ว จังหวัดเดิมควรมีจำนวนประชากรไม่น้อยกว่า 300,000 คน จังหวัดตั้งใหม่ควรมีประชากรไม่น้อยกว่า 300,000 คน
  4. ลักษณะพิเศษของจังหวัด
  5. ผลดีในการให้บริการประชาชน
  6. ปัจจัยเกี่ยวกับสถานที่ราชการที่มีอยู่แล้วและความพร้อมในด้านอื่น
  7. ปัจจัยเกี่ยวกับอัตรากำลังเจ้าหน้าที่
  8. ความคิดเห็นของประชาชนและจังหวัด
  9. รายได้ของจังหวัดเดิม เช่น ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีสรรพากร เป็นต้น มีจำนวนไม่น้อยกว่า 5,000,000 บาท และเมื่อแยกไปจัดตั้งจังหวัดใหม่แล้วจังหวัดเดิมควรมีรายได้คงเหลือไม่น้อยกว่า 2,500,000 บาท ส่วนรายได้ของจังหวัดใหม่ก็ควรมีจำนวนไม่น้อยกว่า 2,500,000 บาทเช่นกัน
  10. หลักเกณฑ์อื่น ๆ เช่น เหตุผลทางประวัติศาสตร์ การเมือง และวัฒนธรรมของท้องถิ่นและนโยบายของรัฐบาล เป็นต้น

    ❌ดังนั้นข้อความที่แชร์กันนี้ ไม่เป็นความจริง งดส่งต่อข้อมูลที่สร้างความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง❌

11 กรกฎาคม  2566
ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์
สำนักข่าวไทย อสมท
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์ และ เสาวภาคย์ รัตนพงศ์

อ้างอิง : หลักเกณฑ์การตั้งจังหวัดใหม่


ข้อความที่แชร์กันเรื่อง อ.กระแสสินธุ์เป็นจังหวัดที่ 78 ของประเทศไทย
จัดตั้งจังหวัด
’กระแสสินธ์ุ’
เป็นจังหวัดที่ 15 
ของภาคใต้ หรือจังหวัดที่ 78 ของประเทศ
จังหวัดกระแสสินธุ์ จังหวัดที่ 78
โครงการพัฒนาพื้นที่แหลมทองแห่งเมืองสองเล
ตลอดระยะเวลามากกว่า 60 ปี ที่พื้นที่ทางภาคใต้ ไม่ได้มีการเพิ่มจังหวัดใหม่ ในขณะที่ภูมิภาคอื่นมีการเปลี่ยนแปลงมาตลอด ทำให้พื้นที่บางอำเภอในภาคใต้ ความเจริญรุ่งเรือง และความเป็นอยู่ของประชากรในพื้นที่กลับถดถอยลงอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ประชากรในพื้นที่ต้องอพยพถิ่นฐานไปทำมาหากินที่อื่นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ความเป็นจริงพื้นที่ดังกล่าวเคยมีความรุ่งเรืองมาก่อนในอดีต และมีศักยภาพพอที่จะพัฒนาให้กลับมาเจริญรุ่งเรือง และมีศักยภาพทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยต่อไป จึงมีแผนพัฒนาพื้นที่บางอำเภอในภาคใต้ดังนี้


1. รวบรวมพื้นที่ที่อยู่ในบริเวณของทะเลสาบสงขลาและทะเลอ่าวไทย จำนวน 8 อำเภอ เช่น  อำเภอสิงหนคร อำเภอสทิงพระ อำเภอกระแสสินธ์ุ อำเภอระโนด อำเภอหัวไทร อำเภอปากพนัง อำเภอเชียรใหญ่ และ อำเภอชะอวด (เหตุผลที่ต้องมีอำเภอชะอวดเพราะต้องการทางรถไฟ เพื่อพัฒนาเป็นสถานีชุมทางรถไฟของจังหวัด) จาก 8 อำเภอ ซึ่งมีพื้นที่รวมกันประมาณ 3,188 ตารางกิโลเมตร มีประชากรในพื้นที่ ประมาณ 509,147คน (ขนาดใกล้เคียงกับ จังหวัดพัทลุง พื้นที่ 3,425 ตร กม.ประชากร 524.857 คน) การรวม 8 อำเภอเพื่อจัดตั้งเป็น จังหวัดใหม่ เป็นจังหวัดที่ 15 ของภาคใต้ จังหวัดที่ 78 ของประเทศไทย เป็นจังหวัดแรกที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 10 และขอพระบรมราชานุญาต ขอชื่อพระราชทาน จากพระองค์ท่าน

2. ทำการเวณคืนที่ดินเพื่อตัดถนน ขนาด 12 เลน ในอนาคต แต่เริ่มสร้างก่อน 4 เลน เชื่อมระหว่าง อำเภอควนขนุน จากสะพานลอยฟ้า ทะเลน้อย พุ่งตรงผ่านทุ่งนาอำเภอระโนดไปทางทิศตะวันออกเพื่อไปเชื่อมยังสายเดิมเลียบทะเลอ่าวไทย ตรงบริเวณวัดปากระวะ หรือใกล้เคียง ซึ่งเป็นจุดระหว่างกลางระหว่างอำเภอระโนดกับอำเภอหัวไทร

3. ทำการเวรคืนที่ดิน เพื่อสร้างถนน 12 เลนในอนาคต โดยสร้างก่อน 4 เลน เชื่อมระหว่างอำเภอระโนด ถึง อำเภอเชียรใหญ่ เพื่อเชื่อมกับสายเก่า สงขลา นครศรีธรรมราช บริเวณตัวอำเภอเชียรใหญ่โดยผ่านทุ่งนา อำเภอระโนด อำเภอหัวไทร อำเภอเชียรใหญ่ และ ทำเส้นทางแยกเพื่อเช่ือมต่อไปยังชุมชน อำเภอชะอวด โดยตัดผ่านทุ่งนา อำเภอชะอวด เพื่อเชื่อมต่อไปยังสถานีรถไฟ ที่จะพัฒนาเป็นสถานีชุมทางรถไฟของจังหวัด

4. จัดตั้งมหาวิทยาลัยประมงแห่งชาติ ซึ่งสามารถเป็นมหาวิทยาลัยประมงหลักทั้งทางนำ้จืดและนำ้เค็ม เนื่องจากเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีพื้นที่จำนวนมากติดทั้งทะเลนำ้จืดและ ทะเลนำ้เค็ม จึงต้องการพัฒนาคนในพื้นที่ให้มีความชำนาญเฉพาะทาง ในด้านการประมงทั้งนำ้จืดและนำ้เค็ม และเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางประมง เพื่อรองรับการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์นำ้แห่งชาติ เพื่อการส่งออกไปยังจังหวัดอื่นๆและต่างประเทศ

5. ขุดลอกทะเลสาปสงขลา และคลองสำคัญในพื้นที่ เพื่อสานต่อโครงการพระราชดำริ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ได้มีการขุดคลองระบายนำ้ขนาดใหญ่พร้อมสร้างประตูระบายนำ้ไว้ที่ อำเภอหัวไทร ปากพนัง และ เพื่อใช้ทะเลสาปสงขลาเป็นที่เพาะพันธุ์สัตว์น้ำและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ในขณะเดียวกัน ผลประโยชน์ที่ได้จากการขุดลอกทะเลสาปคือ ดินและทรายนำ้จืดจำนวนมหาศาล( ดินจากท้องทะเลสาปเป็นดินปนทราย มีความหนาแน่นสูง เหมาะในการใช้เพื่อถมที่ได้เป็นอย่างดี) ซึ่งสามารถเอาดินที่ขุดขึ้นมาใช้เพื่อถมพื้นที่ก่อสร้างสนามบิน ศาลากลางจังหวัด และหน่วยงานราชการอื่น ซึ่งช่วยให้ประหยัดงบประมาณในการก่อสร้างได้เป็นอย่างมาก 

6. ปรับปรุงสถานีรถไฟ อำเภอชะอวด เป็นสถานีชุมทางรถไฟขนาดใหญ่ ประจำจังหวัด เพื่อการขนส่งสินค้า และ รองรับรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่จะมีในอนาคต

7. วางผังเมืองใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นเมืองยุคใหม่จริงๆ เนื่องจากพื้นที่เดิมส่วนใหญ่เป็นไร่นา ง่ายที่จะแบ่งโซนอย่างชัดเจน ซึ่งมีการจัดพื้นที่ในส่วนงานราชการ งานสาธารณสุข งานชลประทาน พื้นที่เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา การขนส่ง และ ส่วนที่อยู่อาศัยใหม่ สำหรับพื้นที่ดั้งเดิมให้อนุรักษ์ไว้เป็นที่ท่องเที่ยวเพื่อชมความเป็นอยู่แบบบ้านเมืองยุดเดิมๆ ที่ส่วนใหญ่ใช้การคมนาคมทางนำ้

8. ในอนาคต สร้างสนามบินภายในประเทศ บริเวณตำบลตะเครียะ หรือ ใกล้เคียง บริเวณริมทะเลสาบสงขลา เพื่อความสะดวกในการบิน ตามมาตรฐานสนามบินทั่วโลกที่มักสร้างริมทะเล สนามบินภายในประเทศแห่งนี้ใช้เพื่อรองรับผู้โดยสารของคนในพื้นที่จังหวัดที่จัดตั้งใหม่และจังหวัดพัทลุง และพื้นที่ใกล้เคียง เพราะจุดก่อสร้างสนามบินนี้อยู่ระหว่างกลางของสนามบินหาดใหญ่และนครศรีธรรมราช

เหตุผลและประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในการแบ่งพื้นที่ของ 8 อำเภอเพื่อจัดตั้งเป็นจังหวัดใหม่ เป็นจังหวัดที่ 15 ของภาคใต้

1.พื้นที่ดังกล่าวเป็นชัยภูมิที่เป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนจังหวัดอื่นๆคือพื้นที่ดังกล่าวติดทะเลทั้งสองด้านคือติดทะเลนำ้จืดขนาดใหญ่ และคิดทะเลนำ้เค็มฝั่งอ่าวไทยที่มีชายหาดที่ยาวที่สุดในประเทศไทย จากหลายๆรัฐบาลที่ผ่านมาอาจให้ความสำคัญกับพื้นที่ดังกล่าวน้อยทั้งๆที่จากภูมิประเทศที่แตกต่าง น่าจะใช้ความแตกต่างในชัยภูมิ เพื่อพัฒนาให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจได้

2.พื้นที่ส่วนใหญ่ยังเป็นเกษตรกรรมง่ายในการเวรคืน ง่ายต่อการวางผังเมือง ง่ายในการพัฒนา และ สามารถพัฒนาให้เป็นจังหวัดอย่างด้านการวางผังเมืองและโครงสร้างสาธารณูปโภคที่ดี ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มที่ดินในทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี 

3.พื้นที่ดังกล่าวอยู่ห่างไกลจากตัวจังหวัด ห่างไกลจากความเจริญรุ่งเรือง บ้านเมืองพัฒนาไปอย่างมากแต่พื้นที่ดังกล่าวพัฒนาน้อยลง ทำให้ประชาชนในพื้นที่ต้องอพยพไปทำมาหากินที่อื่น เหลือแต่พื้นที่ส่วนใหญ่ทำเกษตรกรรม ทั้งที่บางอำเภอในพื้นที่ดังกล่าวเมื่อก่อนเคยเจริญรุ่งเรือง เป็นแหล่งทำรายได้ให้กับจังหวัด แต่ปัจจุบันจนภาวะเศรษฐกิจของประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวกลับย่ำแย่ลง ปีแล้วปีเล่า ไม่เห็นหนทางที่จะกลับมาเจริญรุ่งเรืองเหมือนเดิมอีกเลย

4.พื้นที่ดังกล่าวมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือมีทะเลสาปนำ้จืด และทะเลนำ้เค็ม ขบาบทั้งสองด้าน จึงเหมาะที่จะพัฒนาเป็นเมืองท่องเที่ยว สามารถจัดกิจกรรม หรือ กีฬาทางนำ้ได้หลายอย่าง มีเกาะแก่งที่สวยงามในทะเลสาป มีชายหาดทรายขาวที่สวยงามและยาวกว่า 100 กิโลเมตรที่สามารถพัฒนาได้ ปัจจุบันไม่มีคนมาท่องเที่ยวเพราะการเดินทางที่ไกลมากร่วม 200 กิโลเมตร ใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมงจากสนามบินจากตัวจังหวัด 

5.พื้นที่ดังกล่าวราคาที่ดินยังตำ่มากเหมาะที่จะพัฒนา และ ใช้เงินในการเวรคืนต่ำ คุ้มค่ากับการลงทุนของรัฐที่สามารถเพิ่มมูลค่าเพิ่มของที่ดินให้สูงขึ้นอีกหลายเท่าตัว ทำให้เกิดแรงกระตุ้นการลงทุน เพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจ และเป็นการดึงดูดให้ประชาชนพื้นที่ใกล้เคียง หรือที่อื่นย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่จังหวัดใหม่นี้เพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นการกระจายของประชากร และเพิ่มโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆให้เกิดขึ้นอีกอีกมาย
ข้อความที่แชร์กันเรื่อง “ประกาศ เช้านี้ ชาวไทยตื่นขึ้นมา มี 83 จังหวัด แล้วจ้า!
    จังหวัดใหม่ มาอีก 7 จังหวัด ทราบหรือยังครับ เรามีจังหวัด รวมทั้งหมด 83 จังหวัด ในประเทศไทยแล้ว  เพราะมีการจัดตั้งจังหวัดใหม่อีก 7 จังหวัด เพิ่มผู้บริหารอีก 7 คน และตำแหน่งต่าง ๆ ตามหน่วยงาน
1. จังหวัดบัวใหญ่ แยกมาจาก นครราชสีมา มี 8 อำเภอ 
อ.บัวใหญ่
อ.คง
อ.ประทาย
อ.โนนแดง
อ.บ้านเหลื่อม 
อ.แก้งสนามนาง
อ.สีดา  
อ.บัวลาย
2. จังหวัดเดชอุดม แยกมาจากอุบลราชธานี มี 5 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ 
อ.เดชอุดม
อ.บุณฑริก
อ.นาจะหลวย
อ.น้ำยืน
อ.ทุ่งศรีอุดม
กิ่ง อ.น้ำขุ่น 
กิ่ง อ.นาเยีย
 3. จังหวัดกันทรลักษณ์ แยกออกมาจากศรีสะเกษ มี 6 อำเภอ 3 กิ่งอำเภอ 
อ.กันทรลักษ์
อ.ขุนหาญ
อ.เบญจลักษ์
อ.ศรีรัตนะ
อ.ไพรบึง
อ.โนนคูณ
กิ่ง อ.เขาพระวิหาร
กิ่ง อ.ศรีเมืองทอง 
กิ่ง อ.ทับทิมสยาม
4. จังหวัดชุมแพ แยกมาจาก ขอนแก่น มี 6 อำเภอ 
อ.ชุมแพ
อ.ภูเวียง
อ.สีชมพู
อ.หนองนาคำ
อ.ภูผาม่าน และ 
อ.ภูเขียว ของ    จ.ชัยภูมิ 
มาจัดตั้งเป็น จ.ชุมแพ
5. จังหวัดนางรอง แยกมาจาก บุรีรัมย์  มี 10 อำเภอ 
อ.นางรอง
อ.ชำนิ
อ.หนองหงส์
อ.บ้านกรวด
อ.เฉลิมพระเกียรติ
อ.โนนสุวรรณ
อ.ปะคำ
อ.หนองกี่ 
อ.ละหานทราย 
อ.โนนดินแดง
6. จังหวัด นาทวี แยกมาจาก สงขลา มี 8 อำเภอ
อ.นาทวี
อ.จะนะ
อ.เทพา
อ.สะบ้าย้อย
อ.คลองหอยโข่ง
อ.สะเดา
อ.นาหม่อม
อ.หาดใหญ่
7. จังหวัดท่าศาลา แยกจากนครศรีธรรมราช มี 6  อำเภอ
อ. ท่าศาลา
อ. พรหมคีรี
อ. นพพิตำ
อ. สิชล
อ. ขนอม
อ. ดอนสัก  (สุราษฎร์ธานี) 
จำกันไว้ดี ๆ คงเริ่มเปลี่ยนแผนที่ เปลี่ยนชื่อป้ายกันเร็ว ๆ นี้ “

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สาวซิ่งรถหรูชน 3 แม่ลูกเสียชีวิต เข้ามอบตัว

สาวขับรถหรู ชน 3 แม่ลูกเสียชีวิตที่ชุมพร เข้ามอบตัวกับตำรวจแล้ว อ้างยืมรถเพื่อนมาขับ ศาลให้ประกันตัววงเงิน 1 แสนบาท

สงขลาประกาศเขตภัยพิบัติแล้วทุกอำเภอ เร่งช่วยน้ำท่วมวิกฤติ

ผู้ว่าฯ สงขลา ลงนามประกาศให้ทั้ง 16 อำเภอ เป็นเขตพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินอุทกภัยและวาตภัย เพื่อเร่งรัดให้ความช่วยเหลือประชาชน บรรเทาความเดือดร้อน โดย อ.จะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย ยังมีระดับน้ำท่วมเพิ่มสูงขึ้น

ข่าวแนะนำ

นายกฯ สั่งระดมช่วยน้ำท่วมใต้-เร่งเยียวยา

นายกฯ สั่งระดมช่วยเหลือน้ำท่วมใต้-เร่งมาตรการเยียวยา เผย ครม.เห็นชอบ 39 โครงการฟื้นฟูพื้นที่อุทกภัย เชียงใหม่-เชียงราย 641 ล้านบาท

เตรียมรื้อถอนคานถล่ม ถ.พระราม 2-กู้ร่างผู้สูญหาย

ช่วงบ่ายนี้ (29 พ.ย.) จนท.กรมทางหลวง สภาวิศวกรรมสถาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมนำรถเครนรื้อถอนเหล็กถักที่ถล่มบน ถ.พระราม 2 โดย ปภ.สมุทรสาคร ไม่มั่นใจว่าการดำเนินการจะจบภายในวันเสาร์-อาทิตย์นี้หรือไม่

คานถล่มพระราม2

ตร.ทางหลวง แนะเลี่ยงถนนพระราม 2 หลังการจราจรเข้าขั้นวิกฤต

ตำรวจทางหลวง เผยการจราจรถนนพระราม 2 เข้าขั้นวิกฤต แนะเส้นทางเลี่ยงทั้งขาเข้าและขาออกกรุงเทพมหานคร ยังไม่ชัดเปิดการจราจรได้ตามปกติเมื่อใด

คานถล่มพระราม2

“สุริยะ” สั่งผู้รับเหมาหยุดก่อสร้าง ถ.พระราม 2 ตัดสิทธิรับงาน 2 ปี

“สุริยะ” รมว.คมนาคม เผยเย็นวันนี้เตรียมกลับไปตรวจสอบสาเหตุคานเหล็กก่อสร้างบนถนนพระราม 2 ถล่ม สั่งการผู้รับเหมาหยุดก่อสร้าง รวมทั้งตัดสิทธิรับงาน 2 ปี และขอให้เพิ่มความเข้มงวดมาตรการลดชั้นผู้รับเหมา เพื่อลดจำนวนอุบัติเหตุ