11 กรกฎาคม 2566
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล
บทสรุป :
เป็นการรีทัชภาพถ่ายพื้นทะเลลึกเพื่อสร้างความเข้าใจผิด
ข้อมูลที่ถูกแชร์ :
มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ โดยอ้างว่า จอยวิดีโอเกมที่ใช้ควบคุมทิศทางของยานดำน้ำ Titan ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ เนื่องจากมีรูปถ่ายที่พบว่าจอยวิดีโอเกมจมอยู่ใต้น้ำในสภาพไม่เสียหาย แม้ตัวยานดำน้ำ Titan จะระเบิดจากแรงดันน้ำใต้ท้องทะเลระดับ 3,800 เมตรไปแล้วก็ตาม
FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :
จากการตรวจสอบโดย Reuters Fact Check ยืนยันว่า ภาพจอยวิดีโอเกมที่ถูกแชร์ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับยานดำน้ำ Titan แต่อย่างใด
ภาพจอยวิดีโอเกมที่พบใต้ท้องทะเล ได้รับการยืนยันว่าเกิดจากการแต่งภาพด้วยกระบวนการดิจิทัล โดยนำภาพพื้นทะเลของจริงมาดัดแปลงให้เกิดความเข้าใจผิด
จากการตรวจสอบพบว่า ภาพพื้นทะเลที่ถูกนำมาดัดแปลง มาจากภาพในรายงานของสำนักข่าว BBC เมื่อปี 2020 เกี่ยวกับผลกระทบของพื้นทะเลที่เกิดจากการทำเหมืองแร่ใต้ทะเลลึก ในภาพแสดงร่องทรายเป็นทางยาวที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ตั้งแต่ปี 1989 และถูกบันทึกภาพเอาไว้เมื่อปี 2015 โดย GEOMAR ศูนย์วิจัยทางทะเลจากประเทศเยอรมนี
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter