ลุยพัฒนาท่าเรือกรุงเทพ (คลองเตย) 2.3 พันไร่ หวังใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

“คมนาคม” ขานรับข้อสั่งการ “นายกฯ“ ลุยพัฒนาท่าเรือกรุงเทพ (คลองเตย) 2.3 พันไร่ หวังใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผุด Smart Port ยกระดับเมือง พร้อมสั่งการ “การท่าเรือฯ” ศึกษาแผนให้เหมาะสม คาดได้ข้อสรุปภายใน 1 ปี พร้อมตั้งคณะอนุกรรมการ 4 ชุด ถกวางแผนแนวทางการพัฒนา ด้าน “จุลพันธ์” ย้ำชัด! การพัฒนาท่าเรือคลองเตย ไม่เกี่ยวข้องกับ “เอ็นเตอร์เทนเมนท์ คอมเพล็กซ์”

กทท. เปิด “ธุรกิจใหม่ท่าเรือกรุงเทพ

กรุงเทพฯ 10 ม.ค.-การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดธุรกิจใหม่ “New Business Model of Bangkok Port” พร้อมลงนาม MOU กับ 2 บริษัทคู่ค้า เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางด้านโลจิสติกส์และการขนส่งระหว่างประเทศ ตอบสนองความต้องการของผู้นำเข้า-ส่งออก เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก 

กรมวิชาการเกษตรเข้มมาตรการนำเข้าวัตถุอันตรายผ่านด่านตรวจพืชท่าเรือกรุงเทพ

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร สั่งเข้มงวดมาตรการนำเข้าวัตถุอันตรายผ่านด่านตรวจพืชท่าเรือกรุงเทพ สั่งพักใบอนุญาต-ดำเนินคดีผู้ประกอบการ 2 ราย ลักลอบนำเข้าไกลโฟเซต รวม 2 แสนลิตร มูลค่าเสียหาย 25 ล้านบาท สั่งขยายเวลาตรวจเข้มวัตถุอันตรายอีก 60 วัน ถึง 15 ก.ย.66

กทท.ศึกษาพื้นที่ตั้งท่าเทียบเรือสำราญ

กรุงเทพฯ  17 พ.ค. – กทท.สนับสนุนนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ำ เดินหน้าศึกษาความเป็นไปได้ตั้งท่าเทียบเรือสำราญที่ท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบัง มั่นใจไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางเรือของอาเซียน เรือเอกสุทธินันท์ หัตถวงษ์ ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยว่า ตามที่ กทท.และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาประชุมหารือเกี่ยวกับการบริการท่าเทียบเรือสำราญที่ท่าเรือกรุงเทพ (ทกท.) และ ท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) ล่าสุด กทท.ได้จ้างกิจการค้าร่วมดับบลิวอี แอนด์ เอ็นเอเอ ศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นในการจัดตั้งท่าเทียบเรือท่องเที่ยวรองรับเรือสำราญ (Cruise Terminal) ภายในพื้นที่ท่าเรือทั้ง 2 แห่ง รวมทั้งพื้นที่อื่นในเขตกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง เพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ำ โดยผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางน้ำในภูมิภาคอาเซียน ช่วยสร้างรายได้และกระตุ้นเศรษฐกิจและรองรับการให้บริการและอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวสอดคล้องกับรูปแบบการเดินทางโดยเรือสำราญ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการคัดเลือกพื้นที่ที่มีความเป็นไปได้ คาดว่าจะทราบพื้นที่เป้าหมายภายในปี 2561 สำหรับแผนการจัดตั้งท่าเทียบเรือสำราญดังกล่าว ถือเป็นส่วนหนึ่งในการขยายกิจการท่าเรือและธุรกิจใหม่ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสนับสนุนนโยบายระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ในการขับเคลื่อนและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศและรองรับการขยายตัวของธุรกิจท่องเที่ยวทางเรือระยะยาว การส่งเสริมของรัฐบาลในการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวทางน้ำ และการเพิ่มท่าเทียบเรือสำราญให้สามารถรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่ ทั้งในรูปแบบของท่าเรือหลัก (Home Port) และท่าเรือแวะพัก (Port of Call) นั้น ปัจจุบัน ทลฉ. มีท่าเทียบเรือ A1 […]

...