กรุงเทพฯ 25 มิ.ย.- หอการค้าไทย-จีน เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนักธุรกิจชาวจีนโลก (World Chinese Entrepreneurs Convention: WCEC) ครั้งที่ 16 นักธุรกิจชาวจีนทั่วโลก ตบเท้าเข้าร่วมประชุมคับคั่ง
หอการค้าไทย-จีน เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนักธุรกิจชาวจีนโลก (World Chinese Entrepreneurs Convention: WCEC) ครั้งที่ 16 ภายใต้ธีม ร่วมสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ด้วยภูมิปัญญานักธุรกิจจีน ระหว่าง 24-26 มิถุนายน ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ การจัดประชุมครั้งนี้เป็นกิจกรรมแรกของ WCEC หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 และเป็นครั้งแรกในรอบ 28 ปี ของการจัดประชุมในประเทศไทย โดยพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ประธานองคมนตรี และนายเกา หยุนหลง รองประธานสภาที่ปรึกษาการเมืองแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และประธานคณะกรรมารบริหารสหพันธ์อุตสาหกรรมและการค้าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นประธานในพิธี โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย นักธุรกิจชาวจีน นักธุรกิจชาวจีนโพ้นทะเล จากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก รวมถึงนักธุรกิจชาวไทยเชื้อสายจีน รวมกว่า 3,000 คนเข้าร่วม
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะผู้แทนนายกรัฐมนตรีไทย กล่าวเปิดการประชุม ว่า การประชุมนักธุรกิจชาวจีนโลก (World Chinese Entrepreneurs Convention: WCEC) เป็นเวทีที่มีความสาคัญอย่างยิ่ง ของนักธุรกิจชาวจีนและนักธุรกิจชาวจีนโพ้นทะเลจากทั่วโลก ใช้เป็นโอกาสมาพบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลและโอกาสทางธุรกิจ การค้า การลงทุน รวมถึงการกระชับความสัมพันธ์และเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างกัน
นักธุรกิจเชื้อสายจีน และนักธุรกิจชาวจีนโพ้นทะเล ยังมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ที่เข้าไปพาพักอาศัย
และ ยังมีบทบาทในฐานะสะพานเชื่อมและสายใยเชื่อมสัมพันธ์ที่สำคัญระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีน กับภาคธุรกิจเอกชนในนานาประเทศ โดยปัจจุบันจีนก้าวขึ้นมาเป็นมหาอานาจทางเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก เป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก (มีประชากร 1,412 ล้านคน) เป็นผู้ส่งออกสินค้าอันดับ 1 และผู้นำเข้าสินค้าอันดับ 2 ของโลก ทำให้เศรษฐกิจจีนมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกและประเทศต่างๆ เป็นอย่างมาก
ตลอด 4 ปีที่ผ่านมารัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมพัฒนาการทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย และเห็นลู่ทางโอกาสทางธุรกิจการค้าการลงทุนกับต่างประเทศ ซึ่งสะท้อนจากนโยบาย และศักยภาพทางเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน ทั้งจาก
1) การขับเคลื่อนการค้าระหว่างประเทศของไทยภายใต้ความตกลง ทางการค้าที่ทันสมัย ซึ่งรวมถึง FTA อาเซียน-จีน และ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP (อาร์เซป) ตลอดจนการขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าในรูปแบบที่มีความยืดหยุ่น หรือ ที่เรียกว่า การเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Partnership) ที่ลงลึกสู่ตลาดเมืองรองของประเทศคู่ค้า ซึ่งเรียกให้เข้าใจง่ายๆ ว่า “Mini FTA” ปัจจุบันไทยได้ลงนาม Mini FTA ทั้งสิ้น จำนวน 7 ฉบับ ในจำนวนนั้นมี 3 ฉบับที่ลงนามกับจีนคือ มณฑลไห่หนาน มณฑลกานซู่ และเมืองเซินเจิ้น นอกนั้นคือ ญี่ปุ่น (เมืองโค ฟุ) เกาหลีใต้ (ได้แก่ เมืองปูซาน และจังหวัดคยองกี) อินเดีย (รัฐเตลังคา นา) ซึ่งล้วนเป็นกลไกสำคัญในการเร่งรัดและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าของไทยกับจีนและโลก ให้เติบโตยิ่งขึ้นไป และในเดือนสิงหาคมนี้ไทยจะลงนามกับมณฑลยูนาน ทั้งนี้ประเทศไทยยังอยู่ระหว่างกำลังเจรจาทำ FTA กับอีกหลายประเทศเทศทั้ง สหภาพยุโรป ยูเออี
รวมทั้งตุรกี หากทุกอยู่สำเร็จ จะส่งผลให้ไทยมี FTA กับต่างประเทศ 23 ฉบับ รวม 53 ประเทศ
นั่นหมายความว่า นักลงทุนที่มาลงทุนกับประเทศไทย จะได้รับประโยชน์จาก FTA ที่ไทยมีกับนานาประเทศ
2) จากการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ไทยแลนด์ 4.0 โดยเฉพาะการส่งเสริมการลงทุนในเขตพื้นที่ EEC ตลอดจนโอกาสการร่วมลงทุนกับไทย ในอุตสาหกรรมเป้าหมายในระเบียงเศรษฐกิจต่างๆ ในต่างประเทศ อันเกิดจากการกระจายการเจริญเติบโตภายใต้ความร่วมมือระหว่างประเทศ ที่สำคัญ อาทิ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” (Belt and Road Initiative: BRI)
นโยบายหลักทางด้านเศรษฐกิจของประเทศจะไม่เปลี่ยนแปลง ประเทศไทยยินดีต้อนรับการค้าการลงทุนจากต่างชาติ ประเทศไทยเป็น ประเทศที่มีเสถียรภาพทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม และมีโครงข่ายของ โครงสร้างพื้นฐานที่ครอบคลุมทั่วประเทศ และเชื่อมโยงไปยังประเทศ ต่างๆ ในภูมิภาค ดังนั้น นักลงทุนและนักธุรกิจต่างชาติที่เข้ามาลงทุน และทำธุรกิจการค้าในประเทศไทย จะได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบต่างๆ ของประเทศไทยอย่างเต็มที่
การจัดประชุมนักธุรกิจชาวจีนโลก ในครั้งนี้ เป็นโอกาสและเวลาที่เหมาะสม ประเทศต่างๆได้เปิดประเทศ เพื่อต้อนรับนักธุรกิจและ นักท่องเที่ยวจากต่างชาติ จึงมีความสะดวกและปลอดภัยในการเดินทาง ระหว่างประเทศ และประเทศไทย มีความพร้อมทุกๆด้าน เพื่อต้อนรับ แขกผู้มาเยือน
“ผมทราบว่า นอกจากการประชุมสัมนาที่สำคัญทางหอการค้าไทย-จีน ยังได้จัดโปรแกรมสันทนาการต่างๆให้กับ ผู้เข้าร่วมประชุม ทั้งการเดินทางศึกษาดูงานและศึกษาลู่ทางโอกาสทางธุรกิจ รวมถึงโปรแกรมท่องเที่ยวสถานที่สาคัญๆ ต่างๆ จึงเป็นโอกาสดีที่ ผู้เข้าร่วมโปรแกรมเหล่านั้น จะได้เห็นศักยภาพของประเทศไทย นอกเหนือจากการรับฟังข้อมูลและข้อคิดเห็นจากห้องประชุมสัมมนา” นายจุรินทร์กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมนักธุรกิจชาวจีนจากทั่วโลก (WCEC) ครั้งที่ 16 นอกจากนักธุรกิจกว่า 3000 คนเข้าร่วมประชุมแล้ว ยังมีครอบครัวหรือผู้ติดตามอีกไม่น้อยกว่า 4000 คน ร่วมเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย ทั้งก่อนประชุมและหลังประชุม ซึ่จะมีส่วนช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยด้วย .-สำนักข่าวไทย