พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เชื่อมไทย เชื่อมโลก ด้วย “เงินทุนค่าธรรมเนียมผ่านทาง”

24 มิ.ย. – หนึ่งใน “ทุนหมุนเวียน” ภายใต้การกำกับดูแลของระบบการบริหารทุนหมุนเวียนกลุ่มประเภทเพื่อการบริการ มีภารกิจ “พัฒนาโครงข่าย เชื่อมโยงระบบขนส่งสู่ภูมิภาค สร้างความประทับใจ สะดวก ปลอดภัย ด้วยนวัตกรรม” คือ “เงินทุนค่าธรรมเนียมผ่านทาง”


เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลาย ภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องก็ฟื้นตัวขึ้นตามลำดับ ทั้งจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงนักท่องเที่ยวชาวไทย เห็นได้จากภาพความหนาตาของนักท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวยอดฮิตต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำตก ภูเขา หรือ ทะเล

เอ่ยถึงทะเลแล้ว ก็อยากจะไปนั่งชิลริมทะเลพัทยา และทานอาหารทะเลสดๆ จากหมู่บ้านชาวประมงบางเสร่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ขึ้นมาทันที


จะช้าอยู่ทำไม ไปกันเลยค่ะ จากกรุงเทพฯ ถึงพัทยา และเดินทางต่อไปยังหมู่บ้านชาวประมงบางเสร่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ใช้เวลาไม่นานค่ะ เพราะใช้เส้นทางมอเตอร์เวย์ หรือ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 (กรุงเทพ-ชลบุรี-พัทยา-มาบตาพุด) ขับเรื่อยๆ ประมาณ 1.30 ชั่วโมง ก็ถึงพัทยาแล้ว และหากจะเดินทางต่อไปยังหมู่บ้านชาวประมงบางเสร่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ก็ใช้เวลาไม่นาน เพราะมีมอเตอร์เวย์ ส่วนต่อขยายสาย 7 ช่วงพัทยา-มาบตาพุด นั่นเองค่ะ

มอเตอร์เวย์ หรือ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 เป็นทางสายหลักที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาพื้นที่และการลงทุนภาคอุตสาหกรรมในบริเวณพื้นที่ภาคตะวันออก (ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง) ซึ่งเมื่อปี 2563 กรมทางหลวงได้เปิดให้บริการมอเตอร์เวย์ ส่วนต่อขยายสาย 7 ช่วงพัทยา-มาบตาพุด ให้เป็นเส้นทางคมนาคมสายใหม่ ซึ่งช่วยลดระยะเวลาเดินทาง เชื่อมต่อเข้าสู่พื้นที่ของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก EEC อีกทั้งยังเป็นโครงการที่เชื่อมต่อโครงข่ายการคมนาคมขนส่งในทุกระบบ ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และทางราง

นายภัทรเทพ ศิลปาจารย์ ผู้อำนวยการฝ่ายกำหนดกลยุทธ์และแผนงาน กองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง เล่าว่า ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 มีจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อเส้นทางสายชลบุรี – พัทยา บริเวณทางแยกต่างระดับมาบประชัน มุ่งไปทางทิศใต้ผ่าน อ.บางละมุง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ไปสิ้นสุดที่บริเวณบรรจบทางหลวงหมายเลข 3 เทศบาลเมืองมาบตาพุด อ.บ้านฉาง จ.ระยอง ระยะทางรวม 32 กม. ตลอดเส้นทางสามารถใช้ความเร็วได้สูงสุดถึง 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ช่วยลดระยะเวลาการเดินทางจากทางแยกต่างระดับมาบประชัน ถึงสนามบินอู่ตะเภาได้ถึง 30 นาที โดยตลอดแนวเส้นทาง มีด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง 3 แห่ง ได้แก่ ด่านฯ ห้วยใหญ่ เชื่อมสู่บ้านอำเภอเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี, ด่านฯ เขาชีโอน เชื่อมสู่ทางหลวงหมายเลข 331 อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี และด่านฯ อู่ตะเภา เชื่อมสู่ถนนสุขุมวิท อำเภอเมือง และ อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง


นอกจากเชื่อมโยงเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมแล้ว ยังเชื่อมโยงเขตพื้นที่ผลิตสินค้าการเกษตร สินค้าประมง เรียกว่าเป็นเส้นทางหลักที่มีความสำคัญต่อระบบคมนาคมขนส่งระหว่างภาคกลางและภาคตะวันออก โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่จะสามารถเชื่อมโยงไปสู่ประตูการค้าระหว่างประเทศ

“เส้นทางสายนี้ ช่วยขยายโอกาสการค้าการลงทุน กระจายรายได้สู่ท้องถิ่น โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าเกษตร ผลไม้ต่างๆ จากภาคตะวันออกเข้ากรุงเทพฯ ได้รวดเร็วขึ้น ทั้งยังส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่พัทยา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ที่สำคัญยังช่วยประหยัดเวลาสำหรับเดินทางไปยังสนามบินอู่ตะเภา และในอนาคต ยังมีโครงการ มอเตอร์เวย์สาย 7 ส่วนต่อขยายเชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งจะมีจุดสิ้นสุดโครงการที่แนวเขตทางเข้า-ออกสนามบินอู่ตะเภา ก็ยิ่งจะเพิ่มความสะดวก ย่นระยะเวลาให้แก่ผู้ที่จะเดินทางเข้า-ออกสนามบินอู่ตะเภาได้มากยิ่งขึ้น” นายภัทรเทพ กล่าว

ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 ส่วนต่อขยายช่วงพัทยา-มาบตาพุด เป็นหนึ่งในผลงานสำคัญของทุนหมุนเวียนค่าธรรมเนียมผ่านทาง ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2549 เพื่อนำเงินค่าธรรมเนียมผ่านทางไปใช้จ่ายบำรุงบูรณะสายทาง ที่มีการเก็บเงินค่าธรรมเนียมผ่านทาง ทั้งนี้ กองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง กรมทางหลวง เป็นผู้บริหารเงินทุนฯ อาศัยอำนาจตามประกาศกรมทางหลวง และกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรม ทั้งการศึกษาพัฒนา และบริหารจัดการโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ทั้งในส่วนของทางหลวงพิเศษและทางหลวงสัมปทาน บำรุงและรักษาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ดำเนินงานส่วนที่เกี่ยวกับการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนต์บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง เป็นต้น

แก้ปัญหาจราจรแออัดหน้าด่านเก็บเงินด้วย M-Flow
“ผู้ใช้รถยนต์ที่ขับขี่ผ่าน M-Flow ไม่ต้องหยุด หรือชะลอรถ สามารถใช้ความเร็วได้ถึง 120 กม./ชม. ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 510,000 ราย จำนวนรถทั้งหมดรวม 619,000 คัน”

อีก 1 ผลงานเด่นของเงินทุนหมุนเวียนธรรมเนียมค่าผ่านทาง คือ การอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ใช้ทางด้วย M-Flow หรือระบบจัดเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (Free Flow) เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบนมอเตอร์เวย์ โดยการใช้เทคโนโลยี AI มาพัฒนาระบบจัดเก็บค่าผ่านทางด้วยกล้องตรวจบันทึกภาพป้ายทะเบียนรถ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลแบบ Video Tolling แทนการเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติแบบระบบไม้กั้น ทําให้ผู้ใช้รถสามารถขับขี่ผ่านบริเวณด่านฯ โดยไม่ต้องหยุดหรือชะลอรถ สามารถใช้ความเร็วได้ถึง 120 กม./ชม. ระบายรถได้ 2,000 – 2,500 คัน/ชม./ช่องทาง รองรับการใช้งานกับรถยนต์ทุกประเภทที่ได้รับอนุญาตให้วิ่งบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหรือทางพิเศษ

โดยชำระค่าธรรมเนียมผ่านวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หลังการใช้บริการรวมไปถึงการชำระผ่านเว็บไซต์หรือโมบายแอปพลิเคชันของระบบ M-Flow ตลอดจนการชำระด้วยระบบ QR Code และการชำระผ่านระบบตัดเงินอัตโนมัติ

M-Flow เปิดให้ใช้บริการเต็มรูปแบบบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ตั้งแต่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 ประกอบไปด้วย ด่านฯ ทับช้าง 1 ด่านฯ ทับช้าง 2 ด่านฯ ธัญบุรี 1 และด่านฯ ธัญบุรี 2

“ด้วยความสะดวก รวดเร็ว ผู้ใช้รถยนต์ ไม่ต้องหยุดหรือชะลอรถ ทำให้มีผู้ใช้บริการ M-Flow เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 510,000 ราย จำนวนรถทั้งหมดรวม 619,000 คัน ทั้งภาคธุรกิจขนส่ง ประชาชน และนักท่องเที่ยว ซึ่งทางกองทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองได้เตรียมขยายผลไปใช้กับทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและทางพิเศษในเส้นทางอื่นๆ ต่อไป” นายภัทรเทพ กล่าว

ล่าสุด M-Flow ได้รับ 2 รางวัล จากเวที LINE THAILAND AWARDS 2022 ได้แก่ รางวัล Best Display Advertising of the Year in Public Sector สุดยอดองค์กรภาครัฐด้านโฆษณายอดเยี่ยมแห่งปี และรางวัล Best Smart Channel in Public Sector

นอกจากนี้ยังมีงานติดตั้งระบบแสดงระยะเวลาในการเดินทางอัตโนมัติ (Dynamic Travel Time Information System) ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้เส้นทางสามารถรับทราบข้อมูลได้อย่างทันท่วงที เพื่อเลือกเส้นทาง หลีกเลี่ยงสภาพจราจรที่ติดขัด

จะเห็นว่ากองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง มุ่งมั่นพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้มีความทันสมัย เพื่อให้สามารถสนับสนุนการบริหารจัดการ และการจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางบนโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง อันจะก่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยแก่ผู้รับบริการ เพื่อให้มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 20 ปี ปี (2559-2579) ที่กล่าวว่า “ปฏิรูปประเทศไทยสู่ดิจิทัลไทยแลนด์”

และนี่คือผลงานส่วนหนึ่งของการกำกับดูแลการบริหารทุนหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพเป็นกลไกในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เชื่อมไทย เชื่อมโลก เพื่อให้ไทยเป็นประตูการค้า การลงทุนและยุทธศาสตร์ทางโลจิสติกส์ ที่สำคัญของภูมิภาค.

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ประหารชีวิตแอมไซยาไนด์

ศาลอาญาพิพากษาประหารชีวิต “แอม ไซยาไนด์”

ศาลอาญาพิพากษาประหารชีวิต “แอม ไซยาไนด์” ส่วนอดีตสามี คุก 1 ปี 4 เดือน “ทนายพัช” คุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา ชดใช้ ให้ผู้เสียหายกว่า 2 ล้านบาท

นายกฯ ถกตั้งนายพลตำรวจ 41 ตำแหน่ง ยันไม่มีการเมืองแทรก

นายกฯ ถกแต่งตั้งนายพลตำรวจ 41 ตำแหน่ง ยันไม่มีการเมืองแทรก ยึดตาม พ.ร.บ.ตำรวจ ฉบับใหม่ พลิกโผ ‘สยาม บุญสม’ ผงาดคุมนครบาล ‘สันติ ชัยนิรามัย’ นั่ง ผบช.ปส. ‘ไตรรงค์ ผิวพรรณ’ โยกคุมไซเบอร์ ‘ภาณุมาศ บุญญลักษม์’ ขึ้นเป็น ผบช.สตม.

ดีเอสไอพบเส้นเงินโอนจากแม่ถึงนักการเมือง ส. เกือบ 100 ล้าน

ดีเอสไอพบเส้นเงินโอนจากแม่ถึงนักการเมือง ส. เกือบ 100 ล้านบาท จำนวนนี้พบโอนจาก “บอสพอล-บอสปีเตอร์” ด้วย เร่งขยายผลมีบอสรายอื่นโอนเข้าบัญชีดังกล่าวอีกหรือไม่

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เผยเหนือ-อีสาน อากาศเย็นในตอนเช้า ภาคใต้ฝนตกหนักบางแห่ง

กรมอุตุฯ เผยภาคเหนือ ภาคอีสาน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่วนภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

“เอวา” เสือโคร่งสายแบ๊ว ดาวรุ่งดวงใหม่

หน้าตาที่น่ารักบ้องแบ๊วเหมือนแมวตัวโต ตกหัวใจคนรักสัตว์กันไปเต็มๆ สำหรับน้องเอวา เสือโคร่งสายแบ๊วของเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี นอกจากหน้าตาน่ารักแล้วยังมีความสามารถหลายอย่าง จนกลายเป็นดาวรุ่งดวงใหม่ ที่ผู้คนแห่ไปชมความน่ารักกันอย่างคึกคัก คาดจะช่วยดึงนักท่องเที่ยวไปที่เชียงใหม่ไนท์ซาฟารีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ต้อนรับอบอุ่น “โอปอล” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 ถึงไทย

กลับถึงไทยแล้ว “โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 ปรากฏตัวในชุดไทย สวยสง่า แฟนนางงามต้อนรับอย่างอบอุ่น

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก