ยิ่งลักษณ์วอน อย่าโยงทักษิณ เกี่ยวข้องเหตุระเบิด

ศาลฎีกา16 มิ.ย.- “ยิ่งลักษณ์” ระบุ “ทักษิณ” ไม่สนับสนุนใช้ความรุนแรง วอนอย่าไปโยงเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิดโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ให้เจ้าหน้าที่สืบสวนให้เสร็จก่อน  ปัดตอบคำถาม 4 ข้อ ไม่อยากชี้นำ


ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี   ให้สัมภาษณ์ถึงการจับกุมผู้ต้องสงสัยเหตุระเบิดโรงพยาบาลพระมงกุฏฯ พบมี นาฬิการูปนายทักษิณภายในบ้านว่า  นายทักษิณ ชินวัตร  เป็นอดีตนายกรัฐมนตรี ต้องมีคนรู้จัก  รัก ชอบ  เป็นธรรมดา แต่นายทักษิณ ไม่สนับสนุนการใช้ความรุนแรง กรุณาอย่าเพิ่งเชื่อมโยง

“ขอให้เจ้าหน้าที่ได้สืบสวนและพิสูจน์หลักฐานให้สิ้นสุดก่อน  เชื่อว่าท่านเองไม่เคยสนับสนุนการใช้ความรุนแรง  และทางพรรคเพื่อไทยก็ได้ประนามผู้กระทำการดังกล่าวไปแล้ว”  น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าว


อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการตอบคำถาม 4 ข้อ ของนายกรัฐมนตรี ว่า ตนไม่อยากชี้นำ  เชื่อว่าประชาชนคงเข้าไปใช้สิทธิ์ในการตอบคำถาม   อยากให้ความเห็นเป็นกว้าง ๆ ว่า 4  คำถามนี้  เหมือนจะชี้นำบ้าง  แต่ก็อยากให้พี่น้องประชาชนให้ข้อมูลอย่างเต็มที่  เพื่อให้เราได้หาทางออกร่วมกัน   อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่  เจตนารมย์ของผู้ร่างบอกว่าเป็นฉบับปราบโกง   เชื่อว่าถ้ากลไกลของรัฐธรรมนูญทำงานได้สมบูรณ์ เราก็จะมีรัฐบาลที่มีธรรมาภิบาล  เราต้องช่วยกันแก้ปัญหา และขอให้กลไกเดินไปตามปกติ 

เมื่อถามย้ำว่าอดีตนายกรัฐมนตรีจะไปแสดงความคิดเห็นในฐานะประชาชนหรือไม่     น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ให้เป็นเรื่องของประชาชนดีกว่า   เพราะเกรงจะเป็นการชี้นำ  และคงไม่ตอบในแฟนเพจยิ่งลักษณ์  เนื่องจากเห็นว่าเค้าก็ไม่อยากให้เพจพูดเรื่องการเมืองอยู่แล้ว  

ส่วนกรณีการกดไลค์แฟนเพจ “น.ส.ยิ่งลักษณ์”   น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า  ต้องขอบคุณแฟนเพจ  รวมถึงพี่น้องประชาชน  ที่เข้ามาติดตาม  เราเปิดเพจมาประมาณ 7  ปี  เป็นความรักความผูกพันธ์ ที่มีต่อแฟนเพจและประชาชนชาวไทย    ลองเปิดดูก็จะเห็นว่าทุกคนเข้ามาพูดกันด้วยความรักความผูกพัน     ส่วนที่มีการจับกุมขบวนการกดไลค์   แล้วนำมาเชื่อมโยงกับแฟนเพจนั้น นางสาวยิ่งลักษณ์กล่าวว่า   อย่ามองแฟนเพจยิ่งลักษณ์เลย เดี๋ยวใครได้ยินก็จะเสียใจแย่  


ต่อข้อถามว่า สนช. ผ่านร่าง พ.ร.บ.พรรคการเมือง ควรเปิดพื้นที่ให้พรรคการเมืองแล้วหรือยัง  น.ส.ยิ่งลักษณ์เห็นว่า   การให้ทุกคนมีส่วนร่วมถือเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรจะเปิดพื้นที่กว้าง  ทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น  ส่วนการปลดล็อคให้พรรคการเมืองทำกิจกรรมได้นั้นขึ้นอยู่กับ คสช. ที่จะเป็นผู้พิจารณา  ในส่วนของพรรคการเมืองก็คงมีความต้องการ  อยากให้ฟังความคิดเห็นของพรรคการเมืองโดยตรงดีกว่า 

สำหรับการที่รัฐบาลออกมาตรา 44 เพื่อดำเนินการเรื่องรถไฟความเร็วสูงนั้น  อดีตนายกรัฐมนตรีเห็นว่า  ขณะนี้ยังไม่เห็นรายละเอียด   แต่อยากให้เร่งรัดพัฒนาในเรื่องการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน  ก็เป็นสิ่งจำเป็นในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้น   การใช้มาตรา 44 เป็นการเร่งด่วนเป็นสิ่งที่ดี  แต่อยากให้มีกระบวนการตรวจสอบที่โปร่งใส  และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ .-สำนักข่าวไทย   

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง