ศลต.ตร.ปรับแผนอำนวยการจราจร รับเลือกตั้ง 14 พ.ค.

กรุงเทพฯ 9 พ.ค. – ศลต.ตร.ปรับแผนอำนวยการจราจร รับเลือกตั้ง 14 พ.ค.66 ตำรวจพร้อมดูแล จับตาความเคลื่อนไหว เฝ้าระวังการซื้อเสียง-ก่อกวน พื้นที่แข่งขันสูง


วันนี้ (9 พฤษภาคม 2566) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) มอบหมายศูนย์อำนวยการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยการจัดการเลือกตั้ง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศลต.ตร.) ภายใต้อำนวยการของ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร./ผอ.ศลต.ตร. ร่วมในภารกิจการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ในด้านการรักษาความปลอดภัย การรักษาความสงบเรียบร้อย และการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

พล.ต.ท.นิธิธร จินตกานนท์ ผู้บัญชาการประจำสำนักงาน ผบ.ตร. ทำหน้าที่โฆษก ศลต.ตร. เปิดเผยว่า ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วประเทศ ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย ศลต.ตร. ได้เตรียมกำลังตำรวจกว่า 145,000 นาย เพื่อดูแลความปลอดภัย สืบสวนหาข่าว รักษาความสงบเรียบร้อย และอำนวยการจราจร โดยที่ประชุม ศลต.ตร.ได้สรุปผลการปฏิบัติ ปัญหา ข้อขัดข้องต่างๆ จากการเลือกตั้งล่วงหน้าที่ผ่านมา


“ผบ.ตร. และ ผอ.ศลต.ตร. สั่งการให้นำปัญหาข้อขัดข้องต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวันที่ 7 พฤษภาคม 2566 มาปรับใช้ในการปฏิบัติในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 โดยเฉพาะเรื่องการจัดการจราจร ในจุดที่มีประชาชนไปลงคะแนนเลือกตั้งจำนวนมาก ให้หัวหน้าสถานีตำรวจอำนวยการการบริการจัดการจราจร และประสานงานเรื่องจุดจอดรถ พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบโดยทั่วกัน และให้ตรวจสอบสภาพภูมิอากาศในวัน เวลาดังกล่าว เพื่อกำหนดแผนการจราจร การรักษาความปลอดภัย และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน โดยให้ประสานผู้จัดสถานที่เลือกตั้ง จัดพัดลมระบายอากาศ เพื่อระบายความร้อนให้เพียงพอรองรับสถาพอากาศที่ร้อนจัดด้วย” โฆษก ศลต.ตร. กล่าว

พล.ต.ท.นิธิธร กล่าวด้วยว่า ศลต.ตร.ได้ติดตามสถานการณ์ต่างๆ ที่กระทบต่อความสงบเรียบร้อย และการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง อาทิ เฝ้าระวังการซื้อเสียง โดยเฉพาะในคืนวันที่ 13 พฤษภาคม 2566 หรือคืนหมาหอน เร่งประชาสัมพันธ์การกระทำความผิดกฎหมายเลือกตั้ง โดยเฉพาะการถ่ายรูปบัตรเลือกตั้งที่ลงคะแนนแล้ว การฉีก ทำลายบัตรเลือกตั้ง รวมทั้งติดตามความเคลื่อนไหวเฝ้าระวังกลุ่มผู้ไม่หวังดีก่อกวนการหาเสียงในช่วงโค้งสุดท้าย ทั้งนี้ ผบ.ตร. กำชับให้เฝ้าระวังเป็นพิเศษในพื้นที่ที่มีการแข่งขันสูง และให้ระดมกวาดล้างอาชญากรรมทั่วประเทศอย่างเข้มข้นช่วงก่อนเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม ศลต.ตร.ประชุมติดตามสถานการณ์ทั่วประเทศที่กระทบต่อการเลือกตั้งทุกวัน เพื่อให้การดูแลความปลอดภัย รักษาความสงบเรียบร้อยในการจัดการเลือกตั้งเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความเชื่อมั่นให้แก่พี่น้องประชาชน

ทั้งนี้ หากประชาชนมีเบาะแส ข้อมูล สามารถส่งมาได้ที่เฟซบุ๊กศูนย์โซเชียลมีเดีย ศปก.ตร. หรือสามารถแจ้งตำรวจได้ที่สถานีตำรวจนครบาล สถานีตำรวจภูธรทุกแห่ง หรือโทร.191 หรือ 1599 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือแจ้งสายด่วน กกต. 1444. – สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง