ชัวร์ก่อนแชร์: ยอดเสียชีวิตโควิด-19 ในสหรัฐฯ จงใจทำให้สูงเกินจริง จริงหรือ?

14 มีนาคม 2566
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : Science Feedback (สหรัฐอเมริกา)
แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล


ประเภทข่าวปลอม : ข้อมูลเท็จ

บทสรุป:


  1. ข้อมูลทางการแพทย์ยืนยันว่ารายงานการเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19 น้อยกว่าความเป็นจริง
  2. เครื่องช่วยหายใจไม่ใช่สาเหตุให้ผู้ป่วยโควิด-19 เสียชีวิต
  3. ไม่พบหลักฐานว่าโรงพยาบาลในสหรัฐฯ เพิ่มยอดผู้ป่วยโควิด-19 เพื่อหวังเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล

ข้อมูลที่ถูกแชร์:

มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทางเว็บไซต์ในสหรัฐอเมริกา โดย Epoch Times เว็บไซต์ที่มีประวัติเผยแพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับโควิด-19 ได้ตีพิมพ์บทความของ โจเซฟ เมอร์โคลา ผู้ที่ศูนย์ Center for Countering Digital Hate ยกให้เป็นผู้เผยแพร่ข้อมูลเท็จเพื่อการต่อต้านวัคซีนที่เลวร้ายที่สุด โดยเขาแสดงความเห็นว่ายอดการเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19 สูงเกินความเป็นจริง เพราะแพทย์จงใจรวมการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อที่มีโรคประจำตัวให้มีสาเหตุการตายจากการติดเชื้อโควิด-19 ทั้งหมด โดยตั้งข้อสังเกตว่าสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด-19 ส่วนใหญ่ มาจากการทำงานที่บกพร่องของเครื่องช่วยหายใจ และมีความพยายามของโรงพยาบาลในสหรัฐฯ เพื่อเพิ่มยอดผู้ป่วยโควิด-19 เนื่องจากจะได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐฯ มากกว่าการรักษาผู้ป่วยทั่วไป

FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:

จากการตรวจสอบโดย Science Feedback พบว่าข้ออ้างดังกล่าวไม่เป็นความจริง และสามารถแยกเป็นประเด็นได้ดังนี้


  1. การแจ้งยอดผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด 19 สูงเกินความเป็นจริง (ข้อมูลเท็จ)

ข้ออ้างของ โจเซฟ เมอร์โคลา นำมาจากคลิปวิดีโอ Freedom of information revelation โดย จอห์น แคมป์เบล อดีตพยาบาลเวชปฏิบัติที่อ้างว่า ยอดผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19 ในสหราชอาณาจักรสูงเกินความเป็นจริง เนื่องจากผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19 ที่มีโรคประจำตัวจะถูกนับว่าเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19 ทั้งหมด ซึ่งจอห์น แคมป์เบลและโจเซฟ เมอร์โคลาต่างมองว่า ผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19 โดยไม่มีปัจจัยเสริมอื่น ๆ เท่านั้น ที่ควรจัดว่าเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19 ส่วนผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ที่มีโรคประจำตัว ไม่ควรจัดอยู่ในกลุ่มผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อเชื้อโควิด-19

แต่การอ้างดังกล่าวขาดซึ่งเหตุและผล เพราะผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19 ที่มีโรคประจำตัวส่วนใหญ่ อาจไม่ต้องจากไปหากพวกเขาไม่ติดเชื้อโควิด-19 ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะป่วยหนักหรือเสียชีวิตหากติดเชื้อโควิด-19 ดังนั้นผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19 และมีโรคเบาหวานเป็นโรคประจำตัว จะมีสาเหตุการเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19 ไม่ใช่เพราะเป็นโรคเบาหวาน

ในความเป็นจริงแล้ว วงการแพทย์ทั่วโลกต่างประเมินว่ายอดผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ถูกรายงานต่ำกว่าความเป็นจริง โดยผู้เชี่ยวชาญในสหรัฐฯ ประเมินว่า ยอดผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19 ในสหรัฐฯ สูงกว่ารายงานอย่างเป็นทางการประมาณ 20% ส่วนผลวิจัยในอินเดียที่เผยแพร่ทางวารสาร Science ประเมินว่า ยอดผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19 ในอินเดียที่สำรวจจนถึงเดือนกันยายนปี 2021 สูงกว่ารายงานอย่างเป็นทางการ 6-7 เท่า

  1. ผู้ป่วยจากการติดเชื้อโควิด-19 เสียชีวิตเป็นจำนวนมากเพราะเครื่องช่วยหายใจทำงานบกพร่อง (ข้อมูลเท็จ)

โจเซฟ เมอร์โคลา อ้างบทความจากเว็บไซต์ข่าวสุขภาพ STAT News เมื่อวันที่ 8 เมษายนปี 2020 ที่พบว่าผู้ป่วยจากการติดเชื้อโควิด-19 ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจในโรงพยาบาลในนครนิวยอร์กซิตี้เสียชีวิตถึง 80%

อย่างไรก็ดี รายงานของ STAT News ไม่ได้บอกว่าผู้ป่วยจากการติดเชื้อโควิด-19 เสียชีวิตเพราะการใช้เครื่องช่วยหายใจ แต่รายงานว่า เมื่อแพทย์มีความเข้าใจเกี่ยวกับโควิด-19 มากขึ้น จึงลงความเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องให้ผู้ป่วยจากการติดเชื้อโควิด-19 ที่มีค่าออกซิเจนในกระแสเลือดในระดับ 93% ใช้เครื่องช่วยหายใจเสมอไป และมีการกำหนดค่าออกซิเจนในกระแสเลือดที่เหมาะสมต่อการใช้เครื่องช่วยหายใจให้ต่ำลงกว่าเดิม

แม้ในรายงานข่าวจะกล่าวถึงประเด็นที่พบว่า เครื่องช่วยหายใจไม่มีผลต่อการยื้อชีวิตของผู้จากการติดเชื้อป่วยโควิด-19 ระยะสุดท้าย และอาจส่งผลเสียต่อผู้ป่วยบางราย แต่ในรายงานข่าวไม่ได้บอกว่าเครื่องช่วยหายใจคือสาเหตุของการเสียชีวิตของผู้ป่วยจากการติดเชื้อโควิด-19 แต่อย่างใด

ข้ออ้างที่บอกว่า ผู้ป่วยจากการติดเชื้อโควิด-19 ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจในโรงพยาบาลในนครนิวยอร์กซิตี้เสียชีวิตถึง 80% นำมาจากงานวิจัยที่เผยแพร่ทางวารสารงานวิจัย JAMA เมื่อวันที่ 22 เมษายนปี 2020 ที่พบว่าผู้ป่วยจากการติดเชื้อโควิด-19 ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจในโรงพยาบาล Northwell Health ในนครนิวยอร์กซิตี้เสียชีวิตถึง 88%

อย่างไรก็ดี หลังงานวิจัยเผยแพร่ไปเพียง 2 วัน ก็มีการแก้ไขจำนวนผู้เสียชีวิตที่ใช้เครื่องช่วยหายใจจาก 88% เหลือเพียง 24.5%

สอดคล้องกับงานวิจัยที่เผยแพร่ทางวารสารงานวิจัย ATS เมื่อเดือนเมษายนปี 2020 ที่พบว่าผู้ป่วยจากการติดเชื้อโควิด-19 ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจในโรงพยาบาล Massachusetts General Hospital ในเมืองบอสตันเสียชีวิตไม่ถึง 17%

แม้เครื่องช่วยหายใจจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยชีวิตผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่สามารถหายใจด้วยตัวเองได้ แต่หน้าที่ของเครื่องช่วยหายใจคือการช่วยให้ผู้ป่วยมีออกซิเจนเพียงพอระหว่างการรักษาตัว ไม่ได้มีหน้าที่ช่วยให้ผู้ป่วยหายจากการติดเชื้อโควิด-19

  1. โรงพยาบาลพยายามเพิ่มยอดผู้ป่วยโควิด-19 เพื่อหวังเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล (ทำให้เข้าใจผิด)

โจเซฟ เมอร์โคลา อ้างว่าโรงพยาบาลหลายแห่งในสหรัฐฯ พยายามเพิ่มยอดการตรวจหาเชื้อโควิด-19, ยอดการพบเชื้อโควิด-19, ยอดการรับผู้ป่วยโควิด-19, ยอดการใช้ยารักษาผู้ป่วยโควิด-19, ยอดการใช้เครื่องช่วยหายใจ และยอดการเสียชีวิตจากโควิด-19 เพื่อหวังเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐฯ

ศูนย์บริการด้านประกันสุขภาพของสหรัฐ (CMS) จะจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 มากกว่าผู้ป่วยอื่น ๆ ประมาณ 20% และให้เงินช่วยเหลือผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจมากกว่าผู้ป่วยทั่วไปถึง 3 เท่า และยังสนับสนุนค่าใช้จ่ายสำหรับยารักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) ทั้ง Remdesivir, Molnupiravir, Baricitinib, Paxlovid รวมถึงพลาสม่าจากผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19

แม้จะเป็นจริงที่ว่า โรงพยาบาลในสหรัฐฯ จะทำเงินจากระบบประกันสุขภาพได้มากกว่า หากรักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 แต่ไม่หลักฐานว่ามีโรงพยาบาลบิดเบือนยอดผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ให้สูงเกินจริงเพื่อหวังกำไร เพราะการรายงานยอดผู้ป่วยและเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19 มีการตรวจสอบอย่างเข้มงวด นอกจากนี้ ยังคาดว่ายอดผู้ป่วยจากการติดเชื้อโควิด-19 ในสหรัฐฯ ต่ำกว่าความเป็นจริงจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น การไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจหาเชื้อ

ข้อมูลอ้างอิง:

https://healthfeedback.org/claimreview/claim-covid-19-deaths-vastly-overcounted-baseless-evidence-suggests-the-opposite-joseph-mercola-epoch-times/

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ยึดรถบอสดิไคอน

ตำรวจยึดรถ “บอสพอล-บอสกันต์” เพิ่มเติมรวม 4 คัน

ตำรวจยึดรถ “บอสพอล-บอสกันต์” เพิ่มเติมรวม 4 คัน ขณะที่พนักงานสอบสวนชุดเล็กประชุมสรุปรายงานผลการสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เตรียมรายงานคณะทำงานชุดใหญ่พรุ่งนี้

ระเบิดสะพานโจร

“ระเบิดสะพานโจร” ทำลายสายส่งเคเบิลขนาดใหญ่ ลักลอบพาดสายบนสะพานข้ามโขง

กสทช. จับมือตำรวจ สานต่อยุทธการ “ระเบิดสะพานโจร” ทำลายสายส่งเคเบิลขนาดใหญ่ ลักลอบพาดสายบนสะพานข้ามโขง อย่างอุกอาจ เอื้อแก๊งคอลเซ็นเตอร์

ว.วชิรเมธี

พระพยอมชี้ ท่าน ว.วชิรเมธี นั่งบนหิมะ ไม่ผิดวินัยสงฆ์

เพจดังลงภาพท่าน ว.วชิรเมธี นั่งสมาธิบนหิมะที่ญี่ปุ่น ด้านพระพยอมชี้ ไม่ผิดวินัยสงฆ์ คิดว่าท่าน ว.วชิรเมธี คงอยากทดสอบความอดทน

ข่าวแนะนำ

ทิ้งบอมบ์กลางเมืองปัตตานี-ไร้เจ็บ

ป่วนปัตตานี! ชุดอีโอดีเข้าทำลายระเบิด 2 ลูก หลังคนร้ายเตรียมใช้ก่อเหตุที่ร้านสะดวกซื้อ แต่เจอด่านตรวจเข้มจึงทิ้งริมถนนก่อนบึ้ม 1 ลูก

นายกฯ นำ ครม.วางพวงมาลา เนื่องในวันปิยมหาราช

นายกฯ นำ ครม.วางพวงมาลา “วันปิยมหาราช” น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ หน่วยงานรัฐ-เอกชน สถานศึกษา เข้าร่วมถวายบังคมพร้อมเพรียง