ตรวจรหัสพันธุกรรม ES ในเด็กป่วยลมชักไม่ตอบสนองการรักษา

กทม. 12 มี.ค.- กระทรวงสาธารณสุข เผยผลวิจัยของ HITAP พบการตรวจรหัสพันธุกรรม ES ในผู้ป่วยเด็กโรคลมชักที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง รวดเร็ว มากกว่าวิธีมาตรฐานที่ตรวจให้แน่ชัดได้ไม่ถึง 50% และมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ประหยัดงบประมาณหลักประกันสุขภาพฯ ใน 5 ปีข้างหน้า 18-36 ล้านบาท ควรบรรจุเป็นสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพฯ


นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ หัวหน้าที่ปรึกษาระดับกระทรวง (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า โรคลมชักที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา สามารถพบได้ถึง 1 ใน 3 ของผู้ป่วยโรคลมชักทั้งหมด สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากพันธุกรรม ซึ่งการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีมาตรฐานที่กำหนดไว้ในชุดสิทธิประโยชน์ของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) เช่น การตรวจภาพรังสีวินิจฉัย การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง เป็นต้น ช่วยให้วินิจฉัยโรคได้แน่ชัดไม่ถึง 50% ส่งผลให้แพทย์วินิจฉัยได้ยากและผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้องล่าช้า ทำให้มีผลต่อพัฒนาการและคุณภาพชีวิตของเด็ก และครอบครัวยังเกิดความกังวลต่อการมีบุตรคนถัดไป ทั้งนี้ ปัจจุบันมีการนำการตรวจรหัสพันธุกรรม Exome Sequencing (ES) คือการตรวจยีนทั้งหมดในคราวเดียว มาใช้ในการวินิจฉัยโรคที่มีสาเหตุทางพันธุกรรม ดังนั้น โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) จึงทำการศึกษาความคุ้มค่าของการตรวจรหัสพันธุกรรม ES ในเด็กที่เป็นโรคลมชักรุนแรง โดยเปรียบเทียบสถานการณ์ระหว่างการตรวจรหัสพันธุกรรม ES หากได้รับการบรรจุในสิทธิประโยชน์ กับการวินิจฉัยด้วยวิธีมาตรฐาน แล้วประเมินผลกระทบด้านงบประมาณในระยะเวลา 5 ปี และความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์จากการใช้แบบจำลอง Decision tree และ Markov เพื่อประเมินต้นทุนและผลลัพธ์ในรูปของปีสุขภาวะ

นพ.รุ่งเรือง กล่าวต่อว่า ผลจากการวิจัยพบว่า การตรวจรหัสพันธุกรรม ES ในผู้ป่วยเด็กโรคลมชักที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา มีเกณฑ์ความคุ้มค่า 160,000 บาทต่อปีสุขภาวะ และมีต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่ม 36,252 บาทต่อปีสุขภาวะ ช่วยประหยัดภาระงบประมาณของระบบหลักประกันสุขภาพฯ ประมาณ 18-36 ล้านบาทในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า จากจำนวนผู้ป่วย 285-569 รายต่อปี ซึ่งเป็นผลจากการตรวจพบสาเหตุของโรคและให้การรักษาที่เหมาะสม ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาผู้ป่วย ดังนั้น การตรวจรหัสพันธุกรรม ES ในผู้ป่วยเด็กโรคลมชักที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา จึงเป็นวิธีที่มีความคุ้มค่า เพราะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง รวดเร็วมากขึ้น ลดการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ไม่จำเป็นและให้การรักษาที่เหมาะสมกับโรค ซึ่งอาจนำไปสู่การรักษาที่หายขาดในผู้ป่วยบางกลุ่ม รวมถึงมีการให้คำปรึกษาทางเวชพันธุศาสตร์ซึ่งจะช่วยในการวางแผนครอบครัวและการตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดในครรภ์ถัดไปได้


“ที่ผ่านมาระบบหลักประกันสุขภาพในประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งประเทศไทย ยังไม่ชดเชยค่าใช้จ่ายในการตรวจทางพันธุกรรมด้วยเทคโนโลยี ES ทำให้ผู้ป่วยต้องแบกรับค่าใช้จ่ายเองหรือเข้าไม่ถึงบริการ ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า บริการดังกล่าวเป็นสิ่งที่เหมาะสมและควรได้รับการบรรจุเป็นสิทธิประโยชน์ในระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย” นพ.รุ่งเรืองกล่าว .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ตึกถล่มพบเสียชีวิตเพิ่ม

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่าง

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ในพื้นที่โซน B และโซน C มีซากอาคารถล่มทับร่างอยู่ ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่างและค้นหาผู้สูญหายใต้ซากอาคารต่อเนื่อง

ชายวัย 50 ไหว้ขอโทษ ไม่มีเจตนากุเรื่องเมียท้อง 4 เดือน ติดใต้ซากตึก สตง.

ชายวัย 50 ปี ยกมือไหว้ขอโทษ ไม่มีเจตนากุเรื่องภรรยาท้อง 4 เดือน ติดใต้ซากอาคาร สตง.ถล่ม ด้านรอง ผบช.น. เตือนอย่าใช้โอกาสที่มีผู้ประสบเหตุสร้างความสงสารหลอกเอาทรัพย์สิน มีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน

ออกแล้ว! ผลตรวจเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่ม พบไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น

ผลตรวจตัวอย่างเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่มจากแผ่นดินไหว พบได้มาตรฐาน 15 ชิ้น ไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น ยังไม่สรุปเป็นสาเหตุตึกถล่ม ชี้ต้องดูหลายองค์ประกอบ

ข่าวแนะนำ

พ่อขอของขวัญวันเกิดให้ลูกชายรอดชีวิตจากตึก สตง.ถล่ม

พ่อของหนุ่มขอนแก่น วัย 35 ปี หนึ่งในผู้สูญหายจากอาคาร สตง.ถล่ม ขอของขวัญวันเกิดให้ลูกชายรอดชีวิต ส่วนหนุ่มช่างประปา วัย 32 ปี เหยื่อตึก สตง.ถล่ม เผาแล้ว แม่ยังทำใจไม่ได้ สะอื้นไห้หน้าเมรุ

“ชัชชาติ” เผยเตรียมกู้ 5 ร่างที่พบ-ขนย้ายชิ้นส่วนอาคารแล้ว 100 ตัน

ผู้ว่าฯ กทม. เผยเตรียมกู้ 5 ร่าง จาก 14 ร่างที่พบ ขนย้ายชิ้นส่วนอาคารแล้ว 100 ตัน ยันไม่ขีดเส้นตายหยุดช่วยเหลือ ปรับแผนเพิ่มการรื้อถอนด้วยเครื่องจักรหนักควบคู่ไปมากขึ้น