เปิดผลวิจัยล่าสุดที่น่ากังวลขณะโลกประชุมโลกร้อน

firefighters handle wild fire

บากู 12 พ.ย. – รอยเตอร์เปิดเผยผลการวิจัยด้านสภาพอากาศล่าสุดที่น่ากังวล ในขณะที่การประชุมโลกร้อนสมัยล่าสุดเปิดฉากขึ้นที่อาเซอร์ไบจาน เมื่อวานนี้


การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 29 หรือคอป 29 (COP29) ที่กรุงบากูของอาเซอร์ไบจาน ประเทศริมทะเลแคสเปียนที่อยู่ระหว่างเอเชียกับยุโรป จะดำเนินไปจนถึงวันที่ 22 พฤศจิกายน ส่งท้ายปี 2567 ที่โลกทำสถิติร้อนที่สุดครั้งใหม่ รอยเตอร์รายงานอ้างนักวิทยาศาสตร์ว่า มีหลักฐานยืนยันว่า ภาวะโลกร้อนและผลกระทบกำลังส่งผลเร็วกว่าที่คาดการณ์กัน พร้อมกับยกตัวอย่างผลการวิจัยด้านสภาพอากาศล่าสุดที่น่ากังวลหลายประการดังต่อไปนี้

World leaders gather for family photo at COP29

1.โลกอาจร้อนขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสแล้ว


แวดวงนักวิทยาศาสตร์กำหนดเกณฑ์ให้ประชาคมโลกต้องควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสจากยุคก่อนอุตสาหกรรม ไม่เช่นนั้นจะเสี่ยงเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรงและไม่สามารถแก้ไขได้ ล่าสุดกลุ่มนักวิจัยได้ออกคำแนะนำในรายงานการศึกษาที่เผยแพร่ 1 วันก่อนเปิดการประชุมคอป 29 ว่า โลกอาจมีอุณหภูมิสูงขึ้นเกินจากเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว โดยอ้างอิงจากการวิเคราะห์ก๊าซในชั้นบรรยากาศอายุ 2,000 ปีที่ถูกดูดซับอยู่ในแกนน้ำแข็งของแอนตาร์กติกที่อยู่ใต้สุดของโลก ครอบคลุมช่วงเวลาก่อนหน้ายุคก่อนอุตสาหกรรม คือก่อนปี ค.ศ.1750 ไปอีกมาก และหากใช้อุณหภูมิปี ค.ศ.1850-1900 ที่นักวิทยาศาสตร์มักใช้เป็นเกณฑ์ในการเปรียบเทียบกับอุณหภูมิในปัจจุบัน ถือว่าขณะนี้โลกร้อนขึ้นเกือบ 1.3 องศาเซลเซียสแล้ว

2.เฮอริเคนเพิ่มพลัง

กระแสน้ำในมหาสมุทรที่อุ่นขึ้นนอกจากทำให้พายุที่พัดผ่านทวีความรุนแรงขึ้นแล้ว ยังทำให้พายุทวีความรุนแรงเร็วขึ้นอีกด้วย เช่น เฮอริเคนมิลตันที่ใช้เวลาเพียง 1 วันขณะเคลื่อนตัวเหนืออ่าวเม็กซิโกเมื่อเดือนตุลาคม ทวีกำลังแรงขึ้นจากพายุโซนร้อนกลายเป็นเฮอริเคนรุนแรงที่สุดเป็นอันดับ 2 ของอ่าวเม็กซิโก และพัดถล่มฝั่งตะวันตกของรัฐฟลอริดาของสหรัฐ ขณะที่อากาศที่อุ่นขึ้นจะทำให้เกิดความชื้นมากขึ้น เป็นเหตุให้พายุพัดพาเอาฝนปริมาณมากไปตกกระหน่ำในพื้นที่ที่พัดผ่าน ดังที่เฮอริเคนเฮลีนทำให้หลายพื้นที่ในสหรัฐเกิดน้ำท่วมใหญ่ในเดือนกันยายน


Milton's wrath along Florida barrier island
ความเสียหายจากเฮอริเคนมิลตัน

3.การเสียชีวิตจากไฟป่า

ภาวะโลกร้อนกำลังทำให้ทางน้ำเหือดแห้งและดูดซับเอาความชื้นไปจากผืนป่า กลายเป็นภาวะที่เอื้อต่อการเกิดไฟป่าที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีความร้อนมากขึ้น ไล่ตั้งแต่ฝั่งตะวันตกของสหรัฐและแคนาดาไปจนถึงตอนใต้ของยุโรปและตะวันออกสุดของรัสเซีย ก่อให้เกิดหมอกควันที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ผลการวิจัยที่เผยแพร่เมื่อเดือนตุลาคมคำนวณว่า ยอดผู้เสียชีวิตจากควันไฟป่าในช่วงคริสต์ทศวรรษหลังปี 2010 ราวร้อยละ 13 หรือราว 12,000 คน อาจเป็นผลจากไฟป่าที่เกิดขึ้นเพราะภาวะโลกร้อน

4.ปะการังฟอกขาว

ขณะนี้ปะการังโลกราว 1 ใน 4 เกิดภาวะฟอกขาวแล้ว ถือว่ามากที่สุดเท่าที่เคยมีมา นักวิทยาศาสตร์วิตกว่า ปะการังโลกอาจเลยจุดที่ไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้อีกแล้ว

coral reef bleaching

5.สัญญาณเตือนภัยจากป่าแอมะซอน

ป่าแอมะซอนส่วนที่อยู่ในบราซิลตกอยู่ในภาวะแห้งแล้งเลวร้ายที่สุดและกินวงกว้างมากที่สุดนับตั้งแต่มีการบันทึกข้อมูลในปี 2493 น้ำในแม่น้ำปีนี้แตะระดับต่ำที่สุด และป่าถูกทำลายจากไฟป่า เพิ่มความกังวลมากยิ่งขึ้นไปจากที่มีผลการศึกษาเมื่อต้นปีนี้ว่า ภายในปี 2593 พื้นที่ป่าแอมะซอนราวร้อยละ 10-47 จะเผชิญแรงกดดันจากความร้อนและภัยแล้งรวมกัน อันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยอื่น ๆ เป็นเหตุให้ป่าไม่สามารถสร้างความชื้นให้แก่ต้นไม้ได้อย่างเพียงพอ จนถึงขั้นที่ระบบนิเวศอาจแปรสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรม

major Amazon tributary hits record low in Brazil
แม่น้ำสายหนึ่งในป่าแอมะซอน

6.ภูเขาไฟปะทุมากขึ้น

นักภูเขาไฟวิทยาเกรงว่า ภาวะโลกร้อนอาจทำให้ภูเขาไฟปะทุถี่ขึ้น เช่น ที่ไอซ์แลนด์ ภูเขาไฟดูเหมือนจะตอบสนองต่อการที่ธารน้ำแข็งละลายเร็วขึ้น เพราะเมื่อน้ำแข็งละลาย เปลือกโลกและเนื้อโลกจะมีแรงกดลดลง อาจทำให้หินหนืดหรือแมกมาใต้เปลือกโลกเกิดความแปรปรวนและมีการสะสมตัวมากขึ้น เพิ่มแรงกดภายในโลกจนกระทั่งภูเขาไฟเกิดการปะทุขึ้น ปัจจุบันมีภูเขาไฟที่มีความเสี่ยงลักษณะนี้ประมาณ 245 ลูก เพราะตั้งอยู่ใกล้หรือใต้ธารน้ำแข็ง

Iceland's volcanoes
ภูเขาไฟที่ไอซ์แลนด์

7.สายธารลำเลียงน้ำในมหาสมุทรแอตแลนติกไหลช้าลง

นักวิทยาศาสตร์เตือนว่า มหาสมุทรแอตแลนติกที่อุ่นขึ้นอาจเร่งให้สายธารลำเลียงน้ำในมหาสมุทรแอตแลนติก (AMOC) พังลงได้ สายธารนี้ลำเลียงกระแสน้ำอุ่นจากเขตร้อนไปยังแอตแลนติกตอนเหนือ ช่วยให้ฤดูหนาวของยุโรปไม่หนาวจัดมากเกินไปมาตลอดหลายศตวรรษ ผลการวิจัยในปี 2561 พบว่า สายธารนี้ไหลช้าลงราวร้อยละ 15 นับจากปี 2493 และเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้มีงานวิจัยเตือนว่า สายธารนี้อาจไหลช้าลงมากกว่าที่คิดกันก่อนหน้านี้.-814.-สำนักข่าวไทย  

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

หนุ่มพาลูก-เมียกลับจากฉลองวันเกิด รถยางระเบิดเสียหลักชนเสาไฟ ดับ 3 สาหัส 2

พ่อแม่ลูก 5 คน กลับจากฉลองวันเกิด รถกระบะยางระเบิดเสียหลักหมุนชนอัดเสาไฟฟ้า พ่อและแม่พร้อมลูกคนโตเสียชีวิตคาที่ ส่วนลูกคนกลางและคนเล็กอาการสาหัส

สุดโหด! ไล่แทงหนุ่มดับปมขัดแย้งยาเสพติด

วงจรปิดจับภาพชัด คนร้ายวิ่งข้ามถนนไล่แทงหนุ่มเสียชีวิต ชาวบ้านแตกตื่น ขณะที่ตำรวจรวบตัวทันควัน คาดปมขัดแย้งยาเสพติด

กยศ.เปิดทางปรับลดยอดหักเงินเดือน พ.ค.-มิ.ย.68

กยศ. เปิดทางปรับลดยอดหักเงินเดือน ช่วยเหลือชั่วคราว พ.ค.-มิ.ย.68 ให้นายจ้างลดยอดการหักเงินเดือน ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อเริ่มผ่อนชำระใหม่เป็นรายเดือนในอัตราลดลง

ข่าวแนะนำ

เคลียร์พื้นที่ตึก สตง.ถล่มครบ ไม่พบร่างผู้เสียชีวิตเพิ่ม

ผอ.สปภ. เผยเคลียร์พื้นที่ครบ ไม่พบร่างผู้เสียชีวิตเพิ่ม ส่วนผู้ประสบภัยที่เหลือ 7 ราย ต้องรอนิติเวชรายงานผลการพิสูจน์ชิ้นส่วนกว่าร้อยชิ้น ยืนยันคืนพื้นที่ตามกำหนด 15 พ.ค.นี้ และทางตำรวจจะอายัดพื้นที่เพื่อสอบสวนหาสาเหตุต่อ

รมว.สธ. ขออย่าตื่นตระหนกโควิด-19 กลับมาระบาดหนัก

“สมศักดิ์” ขออย่าตื่นตระหนกโควิด-19 กลับมาระบาดหนัก ชี้ปัจจุบันกลายเป็นโรคประจำถิ่น ติดง่าย แต่อาการรุนแรงน้อย เผยผู้ติดเชื้อรายใหม่เริ่มลดลงแล้ว แนะปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด เตือนหากเสี่ยง ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา

เตือนอีสาน ระวังพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนองลูกเห็บตก

กรมอุตุฯ เตือนอีสาน ระวังพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่า ส่วนภาคอื่นๆ จะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป ภาคใต้ฝนเพิ่มขึ้น ตกหนักบางแห่ง

นักวิชาการ ชี้ข่าวลบไม่กระทบคะแนนเสียง สท.ธัญบุรี

การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล และนายกเทศมนตรี วันอาทิตย์ที่ 11 พ.ค.นี้ นับว่าแข่งขันกันดุเดือด นักวิชาการ และประชาชนมองอย่างไร ลองไปไล่เรียงกัน