วุฒิสภาเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.งบ 65

รัฐสภา 30 ส.ค.-วุฒิสภามีมติเอกฉันท์เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.งบ 65 ด้าน รมว.คลัง ยันจัดสรรงบฯ คุ้มค่า เกิดประโยชน์สุดสุดต่อประชาชน ภายใต้การแพร่ระบาดของโควิด


การประชุมวุฒิสภาวันนี้(30ส.ค.) มีพล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ทำหน้าที่ป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบระมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2565 วงเงิน 3.1 ล้านล้านบาท ที่ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว นายอาคม เติมวิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวรายงานว่า การจัดทำงบประมาณมีหลักการและแนวทางดำเนินการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ แผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แผนการปฏิรูปประเทศและนโยบายของรัฐบาล

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน แผนปฏิบัติราชการของกระทรวงรวมทั้งการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวทางในการจัดสรรงบฯ โดยคำนึงถึงความจำเป็นและภารกิจของหน่วยรับงบประมาณ การมีส่วนร่วมของประชาชน และอยู่บนพื้นฐานของประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนให้ความสำคัญกับประชาชนทุกกลุ่ม กระจายงบฯ อย่างเป็นธรรม มีความคุ้มค่าไม่ซ้ำซ้อนและเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อประชาชน โดยจะดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ รวมทั้งระเบียบ กฎหมายและมติ ครม.ที่เกี่ยวข้อง


“ขอขอบคุณสมาชิกวุฒิสภาทุกคนที่จะพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบฯ 65 นี้ และสำหรับข้อคิด ข้อเสนอแนะ และความห่วงใย รัฐบาลจะขอรับไว้ด้วยความขอบคุณและจะได้นำไปประกอบการพิจารณาปรับปรุงการดำเนินการของหน่วยรับงบประมาณ เพื่อให้การจัดสรรงบฯมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน” นายอาคม กล่าว

นายกูรดิสถ์ จันทร์ศรีชวาลา ส.ว. อภิปรายเสนอความเห็นไปยังรัฐบาลเพื่อเร่งแก้ปัญหาผลกระทบจากโควิด-19 ว่า 1.รัฐบาลต้องเตรียมวัคซีน เข็มที่ 4 ให้กับประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ซึ่งมีจำนวน 58 ล้านคน ในปี 2565 โดยรัฐบาลต้องเตรียมวัคซีนอย่างน้อย 232 ล้านโดส ปัจจุบันรัฐบาลมีสัญญาซื้อวัคซีน 130 ล้านโดส ยังขาดอีก 102 ล้านโดส ดังนั้นรัฐบาลต้องเร่งทำสัญญานำเข้าและประกาศความพร้อมฉีดวัคซีนในปี 2565 ทั้งนี้ตนไม่ใช่หมอ หรือนักวิทยาศาสตร์ แต่ชำนาญบริหารความเสี่ยง ดังนั้นต้องเตรียมวัคฉีนเข็ม 4 ไว้เพราะโควิด-19 จะอยู่ไปอีกนาน โดยต้องเตรียมวัคซีน ปี 2566 จำนวน 1 เข็ม และ ปี 2567 อีก 1 เข็ม 2.รัฐบาลต้อง เตรียมพัฒนาวัคซีนในประเทศ โดยสนับสนุนบริษัทเอกชน และสถาบันที่ทำวิจัยที่มีศักยภาพ เพื่อลดภาระนำเข้าวัคซีนจากต่างประเทศ และ3.ต้องพัฒนาวัคซีนทั้งเชื้อเป็นและเชื้อตาย

นายกูรดิสถ์ กล่าวว่า รัฐบาลต้องใช้งบประมาณเพื่อเตรียมการประมาณ 7.5 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นเพื่อใช้ในระยะสั้น จำนวน 3.3 หมื่นล้านบาท ระยะปานกลาง คือ ปี 2566 และปี 2567 จำนวน 3.7 หมื่นล้านบาท และระยะยาว เพื่อสนับสนุนวิจัย เพิ่มศักภาพ รวม 5,000 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลไม่ต้องของบเพิ่มหรือขอวงเงินกู้ แต่ควรให้กระทรวงสาธารณสุขนำเงินนอกงบประมาณที่มีกว่า 2 แสนล้านบาท แต่พบการใช้เงินปีละ 200 ล้านบาทเท่านั้น ออกมาใช้เพื่อแบ่งเบาภาระเงินกู้และป้องกันระบบสาธารณสุข เศรษฐกิจ และสุขภาพของประชาชน ดังนั้น ในภาวะสงครามกระทรวงสาธารณสุขต้องเป็นแนวหน้านำกระสุนทางการคลังออกมาใช้ ซึ่งการใช้เงิน 7.5หมื่นล้านบาท เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เมื่อเทียบกับความเสียหายที่เกิดขึ้น ทั้งในระบบเศรษฐกิจที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินว่า จากการล็อกดาวน์ทำให้รายได้หายไป หรือหลุมรายได้ 2.6 ล้านล้านบาท ดังนั้นเงินลงทุนคิดเป็น 2.9% จากหลุมรายได้ การลงทุนดังกล่าวถือว่าคุ้มครองความเสี่ยง สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแก้ป้ญหาระยะสั้นเพื่อวางแผนสำหรับอนาคต


“ผมเชื่อว่าการเปิดประเทศภายใน 120 วันตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ประกาศนั้นสามารถทำได้ หากเร่งฉีดวัคซีนได้ 5 -6 แสนโดสต่อวัน ซึ่งข้อเสนอของผมคือวิธีที่ไม่ต้องกลับมาปิดประเทศอีก ดังนั้นรัฐบาลต้องแสดงภาพที่ชัดเจนว่าประชาชนมีภูมิคุ้มกันเต็มที่ในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อให้นักธุรกิจรายใหญ่ รายเล็ก และนักลงทุนต่างชาติมีความมั่นใจ ขณะเดียวกันภาคครัวเรือนมีแผนใช้เงินออมด้วยความมั่นใจ จะช่วยให้การใช้จ่ายครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกันนักท่องเที่ยวจะได้วางแผนกลับมาท่องเที่ยว ทำให้เกิดรายได้จากการบริการการท่องเที่ยวที่ช่วยเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง และงบประมาณปี 2565 มีเสถียรภาพ”นายกูรดิสถ์ กล่าว

พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช สมาชิกวุฒิสภา กล่าวว่า การจัดสรรงบประมาณให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ยังไม่มีความเป็นธรรมเท่าที่ควร งบประมาณที่ได้รับเมื่อเฉลี่ยแล้วถือว่าได้รับจัดสรรน้อย นอกจากนี้ ที่ผ่านมารัฐบาลยังมีนโยบายผ่อนปรนภาษีท้องที่ ทั้งการปรับลดและขยายเวลาชำระภาษี ในปี 2564 ทำให้ อปท. มีงบประมาณในการบริหารงานไม่เพียงพอ การแก้ไขปัญหาของประชาชนมีความล่าช้า โดยเฉพาะปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่เป็นปัญหาเร่งด่วน จึงขอให้รัฐบาลทบทวนการจัดสรรงบประมาณให้กับ อปท.เพิ่ม เพื่อให้การแก้ไขปัญหาของประชาชนทั่วถึงและเป็นธรรม ลดความเลื่อมล้ำในพื้นที่

นายอนุศักดิ์ คงมาลัย สมาชิกวุฒิสภา เห็นว่า การจัดสรรงบประมาณให้กับกลุ่มจังหวัดไม่มีการจัดลำดับความสำคัญของโครงการเท่าที่ควร ทำให้งบประมาณในบางปีมีการเบิกจ่ายไม่เต็มประสิทธิภาพ ขาดการบูรณาการร่วมกันอย่างเป็นระบบ จึงขอให้มีการทบทวนทิศทางการจัดสรรงบประมาณให้ทั่วถึง สอดคล้องกับแผนพัฒนหลักาประเทศ และให้ยึดปัญหาของพื้นที่เป็นในการจัดทำโครงการ อีกทั้งต้องส่งแผนการเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาของประชาชนให้รวดเร็ว และขอให้นำพัฒนาตำบลที่จัดทำขึ้นโดยภาคประชาชน มาประกอบการจัดทำโครงการของภาครัฐด้วย

ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 วงเงินงบประมาณจำนวน 3.1 ล้านล้านบาท ด้วยคะแนนเสียง 200 เสียง ไม่เห็นด้วย ไม่มี งดออกเสียง 3 เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง ไม่มี.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

Jeju Air CEO apologises for plane crash at airport in South Korea

ซีอีโอเชจูแอร์ขอขมาผู้เสียชีวิตจากเหตุเครื่องบินชน

โซล 29 ธ.ค.- ประธานเจ้าหน้าที่บริหารหรือซีอีโอ (CEO) ของสายการบินเชจูแอร์ (Jeju AIr) ขอขมาต่อผู้เสียชีวิตจากเหตุเครื่องบินชนรั้วกั้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติมูอัน ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตล่าสุดอยู่ที่ 124 คน จากจำนวนคนบนเครื่องบินทั้งหมด 181 คน นายคิม อีแบ ซีอีโอเชจูแอร์ แถลงต่อสื่อสั้น ๆ ว่า ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งและขอขมาต่อผู้โดยสารที่เสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุครั้งนี้ รวมถึงครอบครัว บริษัทจะแก้ไขสถานการณ์อย่างรวดเร็วและให้ความช่วยเหลือครอบครัวของผู้โดยสาร นอกจากนี้จะพยายามอย่างเต็มที่ในการหาสาเหตุร่วมกับรัฐบาล นายคิม กล่าวว่า บริษัทให้บริการเครื่องบินลำนี้โดยได้มีการซ่อมบำรุงตามปกติ และไม่พบสัญญาณใด ๆ ว่าเครื่องบินมีความผิดปกติ เชจูแอร์เป็นสายการบินต้นทุนต่ำของเกาหลีใต้ที่ตั้งขึ้นในปี 2548 ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศไปยังญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และไทย และมีเที่ยวบินในประเทศจำนวนมาก ด้านโบอิง บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินของสหรัฐ แถลงว่า กำลังประสานกับเชจูแอร์ กรณีเครื่องบินโบอิง 737-800 แบบ 2 เครื่องยนต์ เที่ยวบิน 7ซี2216 (7C2216) ชนที่ท่าอากาศยานทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาหลีใต้ และพร้อมให้ความช่วยเหลือสายการบิน ขณะที่กระทรวงคมนาคมของเกาหลีใต้ ระบุว่า เครื่องบินลำนี้ผลิตในปี 2552 […]

ข่าวแห่งปี 2567 : สุดอาลัย…ดาวลับฟ้า ปี 2567

ตลอดปี 2567 นับเป็นปีที่สูญเสียบุคคลมีชื่อเสียง ทั้งในแวดวงบันเทิง ศิลปินแห่งชาติ และวงการสื่อสารมวลชน ที่มีคุณูปการต่อประเทศชาติ

นายกฯ เสียใจ “เจจูแอร์” ไถลออกรันเวย์ สั่งตรวจสอบช่วยเหลือหากมีคนไทย

นายกฯ แสดงความเสียใจเหตุเครื่องบินสายการบินเจจูแอร์ ไถลออกรันเวย์ไฟลุกท่วม พร้อมสั่งตรวจสอบช่วยเหลือหากมีคนไทย