สังศิต ชี้สินบนโรลส์รอยซ์ เป็นการฟอกเงินระดับประเทศ

19857419สำนักงาน กกต. 27 ม.ค.- “สังศิต” ชี้ ปัญหาสินบนโรลส์รอยซ์ เป็นการฟอกเงินระดับประเทศ  ไม่ใช่แค่เรื่องการคอรัปชั่น  ระบุไทยเป็นสมาชิกยูเอ็น และทำข้อตกลงความร่วมมือกำหนดมาตรฐานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน  ทำให้การฟอกเงินไม่มีอายุความ สามารถจัดการกับผู้ร่วมคอร์รัปชั่นในประเทศไทยได้  กรรมการ ปปช. โวย เอาข้อมูลมาเปิดเผยส่งผลต่อรูปคดี และทำให้ยากในการประสานข้อมูลต่างประเทศ และความไว้วางใจ


ผู้สื่อข่าวรายงานจากสำนักงาน กกต. ว่าเมื่อเวลา 9.00 น. สถาบันพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งระดับสูง (พตส.8)  จัดอภิปรายเรื่อง “คอร์รัปชั่นกับปัญหาในการพัฒนาประเทศ” โดยนายสังศิต  พิริยะรังสรรค์ สปท. และคณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต กล่าวว่า สถานการณ์โลกไปไกลกว่า  หัวข้อคอรัปชั่นมีผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างไร  เนื่องจากคอรัปชั่นเปลี่ยนแปลงความหมายในตัวเองไปตลอดเวลา   เพราะนักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐมีการเปลี่ยนรูปแบบตลอด   จนนิยามการคอรัปชั่นของยูเอ็นก็ยังต้องเปลี่ยน   ของไทยก็พยายามเปลี่ยนมาตรการรับมือ แต่ไม่ทัน  เพราะยังมีคนค้าน พ.ร.บ.ผลประโยชน์ทับซ้อนอยู่   ขณะที่โลกก้าวไปอีกก้าวไปถึงเรื่องการฟอกเงิน  เขามองว่าเงินสกปรกที่ได้มา  หากเข้ามาหมุนในระบบเศรษฐกิจจะถือเป็นการฟอกเงิน   หากทุจริตมาแล้วเก็บยังไม่ถือเป็นการฟอกเงิน

“เรื่องสินบนโรลส์รอยซ์กำลังทำให้เกิดความสะเทือนอย่างหนัก   ขอทำนายว่าหากสองสามเดือนข้างหน้าแก้ปัญหาไม่ตกจะเกิดปัญหามโหฬาร  คนไทยจะตกอยู่ในภาวะลำบาก เพราะมีข่าวว่าการทุจริตฉุดความเชื่อมั่น  ในขณะที่ยูเอ็นจับมือกันสู้ไม่ใช่แค่คอรัปชั่น  แต่เขาจะจับเรื่องการฟอกเงิน   ประเทศมหาอำนาจจะเริ่มควบคุมการให้สินบนประเทศต่าง ๆ โดยจะถือเป็นการฟอกเงิน”  นายสังศิตกล่าว


นายสังศิต  กล่าวว่า ที่เราเผชิญหน้าเรื่องสินบนโรลส์รอยซ์   ซึ่งต้นเรื่องเกิดขึ้นจากบริษัทแม่ที่อังกฤษ  กับบริษัทลูกด้านพลังงาน   ที่รัฐโอไฮโอสหรัฐ   อย่างที่ทราบข่าวว่าสินบนโรลส์รอยซ์ ขอยอมเสียค่าปรับ 170  ล้านดอลล่าร์ให้สหรัฐ และ 605 ล้านดอลล่าร์ให้อังกฤษ  และให้บราซิลอีก 25 ล้านดอลล่าร์  รวมว่า 800 ล้านดอลลาห์   ทั้งสองประเทศให้จับมือกันโดยมีเอกสารมัดราว 30 ล้านแผ่น  จนโรลส์รอยซ์ไม่สู้  แต่ประเทศไทยยังไม่ดำเนินการทำอะไรเลยทั้งที่มีเอกสาร  52 แผ่น  ที่เกี่ยวข้องกับ ปตท. และ ปตท.สผ.  กับ 40 แผ่นที่เกี่ยวข้องกับการบินไทย   เอกสารที่เกี่ยวข้องสรุปว่ามีการจ่ายเงินติดสินบนในสองหน่วยงาน   ถามว่าทำไมในต่างประเทศเขาจับได้  แต่ในประเทศไทยจับไม่ได้ต้องไปขอข้อมูลขอความร่วมมือ  เพราะสหรัฐมี 2 หน่วยงานตรวจสอบ  คือ กลต. เป็นหน่วยงานตรวจสอบบัญชี  และกระทรวงยุติธรรม  เป็นหน่วยงานยึดทรัพย์แยกจากกันเพื่อถ่วงดุล   แต่ของไทยพิลึก  คือ ป.ป.ง.  ทำทั้งตรวจสอบและอายัดทรัพย์   ทั้งที่การตรวจสอบการฟอกเงินต้องคำนึงถึงระบบการถ่วงดุล  อย่าให้องค์กรใดมีอำนาจเบ็ดเสร็จองค์กรเดียว

นายสังศิต  ยังกล่าวว่ากรณีของไทยมีส่วนเกี่ยวข้องกับสินบน 11 ล้านดอลล่าร์  จากสัญญาจ้าง 7 โครงการ  ถือเป็นหน่วยงานรัฐบาลและถูกตีความเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ   ปัญหาของเราคือเราเพิ่งแก้กฎหมาย ป.ป.ช.  ในยุครัฐบาลนี้ให้รวมเอกชนที่ให้สินบนมีความผิดทุจริตด้วย   จากเดิมเพียงนักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐเท่านั้น  ตรงนี้ยังมีความผิดปรกติในกฎหมาย ป.ป.ง. คือปี 2550  คณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงิน  หรือ องค์กร FATF ตรวจสอบ ป.ป.ง.  พบว่าทำไมมีเพียงองค์กรเดียวที่ใช้อำนาจ  และเสนอว่าควรให้ ป.ป.ช. ปปท. กับดีเอสไอ ร่วมบังคับใช้กฎหมายด้วย

นายสังคิต  กล่าวว่า คำถามที่ว่าบางคดีทั้งแพ่งและอาญาในกรณีสินบนโรลส์รอยซ์  ที่หมดอายุความจะไปดำเนินการอย่างไร   สำหรับประเทศไทยมีทางออก   คือ การที่เราเป็นสมาชิกยูเอ็น   ได้ทำข้อตกลงความร่วมมือกำหนดมาตรฐานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน    มีการระบุว่าการฟอกเงินไม่มีอายุความถ้าเราเอามาใช้ก็จะสามารถจัดการกับผู้ร่วมคอร์รัปชั่นในประเทศไทยได้    ทั้งนี้มาตรการที่เราไปตกลงกับยูเอ็นในปี 2549   ระบุว่าการจัดซื้อของรัฐ  และการจัดการเงินของรัฐบาลหากกระทำผิดถือเป็นการฟอกเงิน   ถามว่ากระบวนการที่ ปตท. และการบินไทยสำเร็จตามที่  FATF กำหนดหรือไม่  พบว่าองค์ประกอบสำเร็จทั้ง 3 ขั้นตอนตามกระบวนการฟอกเงิน   คือนำเข้าสู่ระบบการเมือง  มีการปิดบังอำพราง  และมีการนำเงินนี้กลับสู่ระบบเศรษฐกิจที่ถูกกฎหมาย   ถือว่าครบตามกรอบของ FATF  จึงเข้าข่ายกระบวนการฟอกเงิน


นายสังศิต  ยังกล่าวยืนยันว่ารัฐบาลไทยมีสิทธิ์ขอข้อมูลที่เกี่ยวข้องตามพันธกรณีอนุสัญญา FATF  โดยยังมีเงินอีกก้อนที่ส่งไปสิงคโปร์ที่เกี่ยวกับ ปตท. ปตท.สผ. และการบินไทย   ซึ่งมีเอเชียแปซิฟิกกรุ๊ป  หรือ  APG  ที่ก่อตั้งขึ้น  มีพันธกรณีที่สิงคโปร์ต้องเอาข้อมูลให้รัฐบาลไทย   ถ้าไม่ให้ทั้งสหรัฐและสิงคโปร์ก็มีความผิด   และตามข้อเสนอแนะ 40 ประการของ  FATF ระบุชัดว่าประเทศที่เป็นสมาชิกห้ามขัดขวางการขอข้อมูล   ดังนั้นถ้ารัฐบาลไทยขอ  ต้องให้  และข้อมูลการเงินระหว่างประเทศและในประเทศต้องเก็บไปอย่างน้อย 5 ปี   และประเทศไทยยังสามารถขอความช่วยเหลือทางกฎหมายจากสหรัฐฯ และหากไม่ขอจะถือว่ามีความผิดด้วยฐานช่วยปกป้องคนทุจริต

นายสังศิต   ยังกล่าวว่า  เรื่องนี้จะมีการตรวจสอบอีกครั้งว่ามีการทำตามข้อตกลงเสร็จสิ้นหรือไม่   ตอนนี้ ปปง. มีเวลาเหลือแค่ 27 สัปดาห์   หาก ปปง. ไม่ยอมทำ  จะเป็นเดิมพันของทั้งประเทศที่มีเจ้าหน้าที่ไทยรับผิดชอบอยู่คนเดียว   และสัปดาห์แรกของพฤษภาคมปีนี้   หาก ปปง. ไม่แก้ไขตามข้อเสนอแนะอันเกี่ยวเนื่องกับพันธสัญญาระหว่างประเทศดังกล่าว   สิ่งที่เกิดขึ้นคือจะมีการถูกลงโทษ   เพราะถือว่าระบบธนาคารไทยไม่โปร่งใส   กลายเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงสูงจากการฟอกเงิน  และจะถูกตัดออกจากประเทศร่วมค้าในระบบการเงิน   แปลว่าธนาคารไทยจะทำธุรกรรมกับหลายประเทศไม่ได้   ทำให้สถาบันการเงินไทยเกิดภาวะไม่มั่นคง  นี่คือมรสุทมใหญ่ที่สุดที่รัฐบาลนี้กำลังเผชิญในต้นพฤษภาคมนี้

“มีเจ้าหน้าที่เพียง 1 คน ที่กำลังตัดสินใจที่เกี่ยวพันกับชะตากรรมของประเทศ  ผมขอให้สัญญาณกับรัฐบาล  ขอให้นายกรัฐมนตรีรีบดำเนินการ   เพราะในปี 2559 ประเทศไทยถูกจัดลำดับความเสี่ยงที่ 156   อยู่ในความเสี่ยงอันดับ 4  ถือว่าอยู่ในช่วงอันตรายแล้ว   อยากฝากถึงรัฐบาลขอให้รีบจัดการให้ประเทศไทยก้าวพ้นมรสุม   จากภัยพิบัติทางการเงิน”  นายสังศิตกล่าว

อย่างไรก็ตามนายสังศิต  ให้สัมภาษณ์ว่า รัฐบาลจะต้องเอาคนผิดมาลงโทษให้ได้ และจะต้องมีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการฟอกเงิน โดยต้องเอา ป.ป.ช.  ปปท. และดีเอสไอ. เข้ามามีส่วนร่วมตามข้อเสนอของ FATF   ไม่ใช่เอา ป.ป.ท. ดีเอสไอ. ออกไปจากการตรวจสอบเหมือนเป็นอยู่ในปัจจุบัน และต้องมีการเปลี่ยนอำนาจของ ป.ป.ง. ใหม่  ให้มีอำนาจเฉพาะยึดทรัพย์และอายัดเท่านั้น  เพื่อให้มีการถ่วงดุลกันระหว่างองค์กร   ดังนั้นรัฐบาลควรใช้มาตรา 44 ในการแก้ไขกฎหมาย เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการฟอกเงินให้ทันสถานการณ์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในระหว่างฟังการอภิปราย  นายสุรศักดิ์  คิรีวิเชียร กรรมการ ป.ป.ช.   ผู้รับผิดชอบคดีโรสรอยส์  ในฐานะนักศึกษา พตส. 8  ได้ขอโอกาสในการชี้แจง    กล่าวว่าองค์กรตรวจสอบเดี๋ยวนี้มีภาระหน้าที่ตามกฎหมาย   สิ่งที่เจ้าหน้าที่แถลงนั้นเพียงบางส่วนในสำนวนการสอบสวนเปรียบเทียบปรับเท่านั้น   กฎหมายเขาให้เปรียบเทียบปรับได้   แต่ของไทยต้องไปขึ้นศาล   เอกสารต่าง ๆ มีกระบวนการที่เปิดเผยไม่ได้   เอกสารที่เอามาอ่านยังไม่รู้ว่าเป็นเอกสารทางการหรือไม่   บางทีก็เข้าสำนวนสอบสวนไม่ได้   ไม่ใช่ว่าสำนวนเหล่านี้ศาลไทยจะรับฟัง   ตนไม่สามารถนำข้อมูลมาเปิดเผยเพราะมีกฎหมายบังคับไว้  ที่ว่าจะขอข้อมูลยังต้องไปดูกฎหมาย  มันยังมีรายละเอียดมากมายที่คนมีหน้าที่เขาต้องอ่าน

นายสุรศักดิ์ ยังกล่าวด้วยว่า   การเอาคดีเหล่านี้มาพูด หรือมาเปิดเผย  มันจะทำให้อีกฝ่ายใช้โอกาสนี้เป็นช่องทางนำไปสู้คดีในชั้นศาล   การเปิดเผยข้อมูลเขามีกฎหมายและมีหน่วยงานที่รับผิดชอบ   เขายังไม่รู้เลยว่าในบ้านเรามีหน่วยงานไหนที่รับผิดชอบ ที่จะดำเนินการตรวจสอบ การที่จะขอเอกสารยังต้องให้กระทรวงการต่างประเทศรับรอง   การที่เรารับข้อมูลต่าง ๆ แล้วมาวิพากษ์วิจารณ์ก่อนหน่วยงานที่รับผิดชอบอาจไม่ถูกต้อง.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 เข้าพบนายกฯ

“โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 เข้าพบ “แพทองธาร” นายกฯ ชื่นชมเป็นคนเก่ง-มองโลกบวก เป็นหน้าตาของประเทศ นำเสนอวัฒนธรรม-ซอฟต์พาวเวอร์ ผ่านการประกวด พร้อมชวนร่วมงานรัฐบาล สร้างแรงบันดาลใจเด็กๆ ขณะที่ นายกฯ เขินถูกชมว่าตัวจริงสวย

ล้มล้างการปกครอง

ศาล รธน.มีมติเสียงข้างมากไม่รับคำร้อง “ทักษิณ-พท.” ล้มล้างการปกครอง

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมากไม่รับคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ขอให้ศาลวินิจฉัยว่า “ทักษิณ-พรรคเพื่อไทย” ล้มล้างการปกครอง

คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญถกคำร้อง “ทักษิณ-เพื่อไทย” ล้มล้างฯ

จับตา ศาลรัฐธรรมนูญ “รับ/ไม่รับ” คำร้องปม “ทักษิณ-พรรคเพื่อไทย” ใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองหรือไม่