เวทีเสวนาเรียกร้อง “ปลดล็อกเด็กเล็กจากเรียนหน้าจอ”

กทม.28 พ.ค.-เครือข่ายเล่นเปลี่ยนโลก เปิดเวทีเสวนา ชี้การเรียนออนไลน์  สร้างปัญหาซ้ำซ้อนให้กับเด็กเล็ก เสนอ 2 ข้อเรียกร้อง “คำนึงถึงสิทธิของเด็กในการเล่น–หนุนผู้ปกครอง ครู ชุมชน ออกแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมตามบริบทของท้องถิ่น”


เครือข่ายเล่นเปลี่ยนโลกประกอบด้วย มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน(สสย.) มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา กลุ่มwe are happy องค์กรสารธารณะประโยชน์  และกลุ่มไม้ขีดไฟ โดยการสนับสนุนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุภาพ (สสส.) จัดงานเสวนาออนไลน์ เรื่องปิดเมือง…ต้องไม่ปิดโลกการเรียนรู้ของเด็ก  ตอน “ปลดล็อกเด็กเล็กจากเรียนหน้าจอ”


นพ.ยงยุทธ์ วงศ์ภิรมย์ศาสนติ์  ที่ปรึกษาอาวุโสกรมสุขภาพจิต เครือข่ายเล่นเปลี่ยนโลก กล่าวว่า โรงเรียนต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง และให้มีชั่วโมงในชั้นเรียนให้น้อย เพื่อเป็นระบบป้องกันโควิด-19 ซึ่งจะเป็นโอกาสให้พ่อแม่ผู้ปกครองทบทวนตัวเองเข้ามารับผิดชอบการศึกษาของลูก แนวโน้มจะเป็นแบบนี้ สถานการณ์โควิดมีผลให้เด็กอยู่บ้านมากขึ้น บทบาทพ่อแม่มี 2แบบ 1.ดึงเด็กให้ไปทำกิจกรรม งานบ้าน งานครัว จะได้เรียนรู้ไปพร้อมกับมีประสบการณ์ติดตัวและความรับผิดชอบเมื่อโตขึ้น และการทำงานบ้านของเด็กผู้ชายจะเป็นการปลูกฝังเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ 2.การเล่นอิสระ เปิดพื้นที่ให้เด็กคิด เช่น ปั้น วาดรูป ศิลปะ มีการเคลื่อนไหวแล้วแต่ธรรมชาติจะสนใจอะไร โดยแบ่งสัดส่วน การจัดเวลาที่ดี จะได้ไม่ปล่อยให้อยู่หน้าจอทั้งวัน และ 3.เสริมสร้างการเรียนรู้เข้าไปทางอ้อม เช่น อ่านหนังสือตามวัยเด็ก เขียนไดอารี่ เข้าไปในบริบท คิด อ่าน เขียน ซึ่งจะเป็นการเพิ่มทักษะเรียนรู้ที่ดีขึ้น


“ประสพสุข โบราณมูล”ผู้ประสานงานเครือข่ายเล่นเปลี่ยนโลก กล่าวว่า กลุ่มน่าห่วงคือเด็กกลุ่มเปราะบาง โดยเฉลี่ยเด็กอยู่หน้าจออย่างน้อย 7 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งน่าเป็นห่วงมาก พ่อแม่ไม่รู้ เพราะห่วงเรื่องต้องเอาชีวิตให้รอด การทำมาหากิน โดยคิดว่าการอยู่หน้าจอจะได้ไม่ติดโรค เป็นปัญหาซ้อนเข้าไปอีกในปัญหาเดิมของกลุ่มนี้ โดยเฉพาะในชนบทที่มีความกังวลมากว่าลูกจะเรียนไม่ทัน ตนมองว่าผู้ใหญ่มุ่งเรื่องการเรียนรู้ที่มาจากความต้องการของผู้ใหญ่มากไปหรือเปล่า สำหรับเด็กช่วงปิดเทอมเป็นช่วง เวลาที่มีความสุข ควรได้เล่นอิสระควบคู่ไปกับการเรียนรู้วิถีชีวิตอย่างมีความสุขแบบที่ไม่มีในเรียนในห้องเรียน ถ้าลองคิดถึงวัยเด็กของตนเองก็จะเข้าใจ ยิ่งช่วงวิกฤติของโรคโควิด-19 เด็กยิ่งต้องได้เล่นเพื่อปลดปล่อยผ่อนคลายความตึงเครียด และเรียนรู้การจัดการกับวิกฤติ โดยมีครอบครัว ครู ชุมชน ร่วมสนับสนุนและพัฒนากระบวนการการเรียนรู้ และเปิดพื้นที่ส่วนกลางที่ปลอดภัยให้ได้เรียนรู้ ได้เล่น โดยออกแบบร่วมกัน ชุมชน รัฐ พ่อแม่ตามบริบทที่เหมาะสม โดยต้องเริ่มต้นทำความเข้าใจกับครอบครัว กลุ่มผู้ปกครองแนวคิดการเล่นที่เป็นธรรมชาติ 

“ทีมเล่นเปลี่ยนโลกส่งเสริมแนวคิดความเข้าใจเรื่องการเล่นอิสระให้กับครอบครัวโดยครู อาสามัครผู้ดูแลการเล่น ให้สามารสร้างมุมเล่น ส่งเสริมการเล่นและเรียนรู้ให้ลูกในบ้าน สร้างสนามเด็กเล่นเล็กในบริเวณบ้านได้ หรือ Play@Home เตรียมเสนอให้สนามเด็กเล่นเล็กๆให้เด็กได้ออกมาเล่นนอกบ้าน รวมทั้งเดลิเวอรี่ของเล่นส่งตรงไปให้ครอบครัว พร้อมเตรียมทำรถปันเล่น รถพุ่มพวงของเล่น ห้องสมุดของเล่น ตระกร้าหรรษา ลงไปในชุมชนพื้นที่ให้กับเด็กๆ” ผู้ประสานงานเครือข่ายเล่นเปลี่ยนโลก กล่าว  

ทั้งนี้ กลุ่มเครือข่ายฯ มีข้อเสนอด้านนโยบาย 1.ขอเรียกร้องให้คำนึงถึงสิทธิในการเล่นของเด็กเป็นสำคัญตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กข้อ 31) เด็กมีสิทธิจะมีเวลาพักและเวลาพักผ่อน ขอให้ช่วงปิดเทอม1เดือนเป็นเวลาของความสุขของเด็กที่จะได้เล่นและเรียนรู้ตามธรรมชาติและความต้องการตามวัยเด็ก กลุ่มเด็กปฐมวัยและอนุบาล ขอให้ยกเลิกการเรียนออนไลน์ และDLTV เน้นส่งเสริมการเล่นอิสระ โดยผู้ปกครอง ครอบครัว ออกแบบและจัดการเล่นตามบริบทของวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่น เด็กประถม เน้นส่งเสริมการเล่นและจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายที่มีเนื้อหาการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตตามบริบทของท้องถิ่น หรือวิชาที่เกี่ยวข้องกับทักษะชีวิตทางสังคมของเด็ก และช่วงสถานการณ์โรคระบาดไวรัส

2.ขอให้กระทรวงศึกษาธิการสนับสนุนให้ผู้ปกครอง ครูและชุมชนออกแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมตามบริบทของท้องถิ่น และสามารถทดแทนและหรือใช้เป็นชั่วโมงวิชาเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิต สนองนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ได้อย่างแท้จริง จัดทำเนื้อหาการสอนออนไลน์สำหรับผู้ปกครองโดยเฉพาะเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก ในเรื่องการเล่น แนวทางการเป็นผู้ดูแลการเล่น (Play worker) และจัดทำเนื้อหา และรูปแบบกิจกรรม การให้ความสำคัญกับการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต และการจัดการกับสถานการณ์วิกฤติในช่วงการระบาด ครอบครัว ครู ชุมชน ต้องให้โอกาสเด็กได้เล่น ภาครัฐต้องช่วยออกแบบ หาแนวทางสนับสนุน.-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ประหารชีวิตแอมไซยาไนด์

ศาลอาญาพิพากษาประหารชีวิต “แอม ไซยาไนด์”

ศาลอาญาพิพากษาประหารชีวิต “แอม ไซยาไนด์” ส่วนอดีตสามี คุก 1 ปี 4 เดือน “ทนายพัช” คุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา ชดใช้ ให้ผู้เสียหายกว่า 2 ล้านบาท

นายกฯ ถกตั้งนายพลตำรวจ 41 ตำแหน่ง ยันไม่มีการเมืองแทรก

นายกฯ ถกแต่งตั้งนายพลตำรวจ 41 ตำแหน่ง ยันไม่มีการเมืองแทรก ยึดตาม พ.ร.บ.ตำรวจ ฉบับใหม่ พลิกโผ ‘สยาม บุญสม’ ผงาดคุมนครบาล ‘สันติ ชัยนิรามัย’ นั่ง ผบช.ปส. ‘ไตรรงค์ ผิวพรรณ’ โยกคุมไซเบอร์ ‘ภาณุมาศ บุญญลักษม์’ ขึ้นเป็น ผบช.สตม.

ดีเอสไอพบเส้นเงินโอนจากแม่ถึงนักการเมือง ส. เกือบ 100 ล้าน

ดีเอสไอพบเส้นเงินโอนจากแม่ถึงนักการเมือง ส. เกือบ 100 ล้านบาท จำนวนนี้พบโอนจาก “บอสพอล-บอสปีเตอร์” ด้วย เร่งขยายผลมีบอสรายอื่นโอนเข้าบัญชีดังกล่าวอีกหรือไม่

ข่าวแนะนำ

คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญถกคำร้อง “ทักษิณ-เพื่อไทย” ล้มล้างฯ

จับตา ศาลรัฐธรรมนูญ “รับ/ไม่รับ” คำร้องปม “ทักษิณ-พรรคเพื่อไทย” ใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองหรือไม่

อุตุฯ เผยเหนือ-อีสาน อากาศเย็นในตอนเช้า ภาคใต้ฝนตกหนักบางแห่ง

กรมอุตุฯ เผยภาคเหนือ ภาคอีสาน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่วนภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

“เอวา” เสือโคร่งสายแบ๊ว ดาวรุ่งดวงใหม่

หน้าตาที่น่ารักบ้องแบ๊วเหมือนแมวตัวโต ตกหัวใจคนรักสัตว์กันไปเต็มๆ สำหรับน้องเอวา เสือโคร่งสายแบ๊วของเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี นอกจากหน้าตาน่ารักแล้วยังมีความสามารถหลายอย่าง จนกลายเป็นดาวรุ่งดวงใหม่ ที่ผู้คนแห่ไปชมความน่ารักกันอย่างคึกคัก คาดจะช่วยดึงนักท่องเที่ยวไปที่เชียงใหม่ไนท์ซาฟารีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ต้อนรับอบอุ่น “โอปอล” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 ถึงไทย

กลับถึงไทยแล้ว “โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 ปรากฏตัวในชุดไทย สวยสง่า แฟนนางงามต้อนรับอย่างอบอุ่น