“รื่นวดี” แจงชัด “ฟื้นฟูกิจการ-ล้มละลาย” ถนนคนละเส้น

กทม. 18 พ.ค.-“รื่นวดี สุวรรณมงคล” เขียนบทความอธิบายละเอียด เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ ถึงความหมายและประโยชน์ ใครสามารถยื่นคำขอฟื้นฟูกิจการได้บ้าง ย้ำชัดการฟื้นฟูกิจการไม่ใช่การล้มละลาย แต่เป็นการรักษาให้กิจการยังสามารถดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ Win-Win ทั้งเจ้าหนี้ ลูกหนี้ ผู้ถือหุ้น และสังคม


เฟซบุ๊ก สำนักงาน กลต. ได้เผยแพร่บทความเรื่อง การฟื้นฟูกิจการกับการล้มละลาย-ถนนคนละเส้นคนละสาย ของ นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และอดีตอธิบดีกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม (ก.ค.57-เม.ย. 62)

ไม่กี่วันที่ผ่านมา เชื่อว่าหลายๆ ท่านคงได้ยินคำว่า “การฟื้นฟูกิจการ” (Reorganization) ตามกฎหมายล้มละลาย แล้วอาจมีคำถามว่า การฟื้นฟูกิจการ มีความหมายและประโยชน์อย่างไร ใครสามารถยื่นคำขอฟื้นฟูกิจการได้บ้าง และที่สำคัญ การฟื้นฟูกิจการคือการล้มละลายหรือไม่ ในฐานะที่เคยเป็นอดีตเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กรมบังคับคดี และทำงานที่กรมบังคับคดีมาเป็นเวลา 4 ปี 9 เดือน เห็นว่าอาจเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย ที่ได้นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาแบ่งปันและแลกเปลี่ยนมุมมองระหว่างกัน ตามที่ได้รับโอกาสให้ทำหน้าที่ดังกล่าว


ก่อนที่จะลงรายละเอียด จะขอกล่าวให้ชัดเจนตั้งแต่ย่อหน้าแรกนี้เพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันเลยว่า การฟื้นฟูกิจการไม่ใช่การล้มละลายหรือการที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ สิ่งที่ทำให้หลาย ๆ ท่านอาจเข้าใจว่า การฟื้นฟูกิจการคือการล้มละลาย คิดว่า คงเป็นเพราะบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการ กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย จึงอาจทำให้บางท่านเข้าใจว่า การยื่นขอฟื้นฟูกิจการคือการยื่นขอล้มละลาย ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่หลายคนคงได้ยินคำว่า Chapter 11 การฟื้นฟูกิจการ ก็บัญญัติไว้ในกฎหมายล้มละลายเช่นเดียวกัน ดังนั้น การฟื้นฟูกิจการกับการล้มละลาย เป็นถนนคนละเส้นคนละสาย อย่างแน่นอน การฟื้นฟูกิจการถือเป็นการรักษาให้กิจการยังคงสามารถดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ หรือพูดง่าย ๆ ว่า ผู้ยื่นขอให้มีการฟื้นฟูกิจการต้องการรักษาความเป็นกิจการที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง (going concern) จะเปิดโอกาสให้มีการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ระหว่างเจ้าหนี้ทั้งหลายทั้งเจ้าหนี้ภายในและต่างประเทศ และที่ขาดไม่ได้คือ จะเปิดโอกาสให้มีการปรับปรุงโครงสร้างองค์กร กระบวนการทำงาน และแผนธุรกิจ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยอาจมีผู้บริหารมืออาชีพจากภายนอกบริษัทมาร่วมดำเนินการ ในขณะที่ การล้มละลายหรือการถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์นั้น จะไม่ได้เป็นการทำให้ธุรกิจดำเนินการได้ต่อเนื่อง แต่เป็นการมุ่งไปสู่กระบวนการค้นหาและรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อนำมาแบ่งให้กับเจ้าหนี้ โดยการยึดหรืออายัดและนำมาขายทอดตลาด และในขณะที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์นั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กรมบังคับคดี จะเป็นผู้ที่เข้ามาทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้

• การฟื้นฟูกิจการ เกิดขึ้นได้อย่างไร?


การฟื้นฟูกิจการจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการยื่นคำขอฟื้นฟูกิจการไปยังศาลล้มละลายกลาง คือ กฎหมายกำหนดให้ทั้งเจ้าหนี้หรือลูกหนี้สามารถยื่นคำร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้ เมื่อเข้าเงื่อนไขดังนี้ คือ (1) ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือลูกหนี้ไม่สามารถที่จะชำระหนี้ตามกำหนดได้ (inability to pay) (2) เป็นหนี้เจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนรวมกันเป็นจำนวนแน่นอนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท ในกรณีของธุรกิจขนาดใหญ่ หรือในกรณีที่เป็นธุรกิจขนาดกลางหรือขนาดเล็ก (SMEs) คือลูกหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดาไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท ลูกหนี้ที่เป็นคณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท หรือลูกหนี้ที่เป็นบริษัทจำกัดไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 10 ล้านบาท (3) หนี้จำนวนแน่นอนดังกล่าว จะถึงกำหนดชำระในทันทีหรือในอนาคตก็ได้ และ (4) มีเหตุอันสมควรและมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้

จะเห็นได้ว่า การยื่นขอฟื้นฟูกิจการของไทยตามที่ได้มีการแก้ไขปรับปรุงในปี 2559 ถือเป็นการเปิดโอกาสให้มีการเข้าไปฟื้นฟูกิจการเพื่อรักษาความอยู่รอดของธุรกิจได้เร็วยิ่งขึ้นกว่าเดิม คือ เมื่อพบว่าลูกหนี้ไม่สามารถที่จะชำระหนี้ได้ เช่นลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ภายในกำหนด และเมื่อได้รับหนังสือทวงถามจากเจ้าหนี้ให้ชำระหนี้ หรือลูกหนี้มีกระแสเงินสดไม่พอชำระหนี้ เป็นต้น เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ ก็สามารถยื่นคำขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลได้ โดยไม่ต้องรอจนถึงกรณีที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแบบเดิม ซึ่งหลักการที่แก้ไขปรับปรุงใหม่นี้ถือว่าสอดคล้องกับหลักสากล จึงเป็นการเปิดโอกาสเป็นครั้งแรกให้ธุรกิจขนาดกลางหรือขนาดเล็ก (SMEs) สามารถยื่นขอฟื้นฟูกิจการได้เช่นเดียวกับบริษัทขนาดใหญ่ อันเป็นการช่วยรักษาธุรกิจขนาดกลางหรือขนาดเล็ก (SMEs) ไม่ให้ถูกฟ้องล้มละลายแบบเดิม และที่สำคัญ จะช่วยรักษาการจ้างแรงงานของธุรกิจขนาดกลางหรือขนาดเล็ก (SMEs) ที่มีการจ้างแรงงานกว่า 12 ล้านราย และในปี 2561 ได้ปรับปรุงการยื่นขอฟื้นฟูกิจการบริษัทขนาดใหญ่ โดยเพิ่มเงื่อนไขในการยื่นขอฟื้นฟูกิจการให้มีกรณีไม่สามารถชำระหนี้ตามกำหนดได้ เงื่อนไขของการพิจารณาให้มีการฟื้นฟูกิจการได้หรือไม่ นอกจากการมีหนี้สินจำนวนแน่นอนแล้ว เงื่อนไขที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ต้องมีเหตุอันสมควรและมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้

• กระบวนการบริหารจัดการภายหลังที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำขอฟื้นฟูกิจการ

จุดนี้ ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการฟื้นฟูกิจการ คือ เมื่อศาลสั่งรับคำขอฟื้นฟูกิจการ สภาวะการพักการชำระหนี้หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า automatic stay เกิดขึ้นทันทีนับตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการไว้เพื่อพิจารณาจนถึงวันครบกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามแผน หรือวันที่ดำเนินการสำเร็จตามแผน หรือวันที่ศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอหรือจำหน่ายคดีหรือยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการหรือยกเลิกการฟื้นฟูกิจการหรือพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด

สภาวะการพักการชำระหนี้ นี้เอง ที่เป็นประโยชน์แก่ลูกหนี้และเป็นจุดแข็ง ทั้งนี้ เพื่อให้กิจการสามารถดำเนินการไปต่อได้และดูแลสภาพคล่อง (liquidity) ของธุรกิจ โดยไม่ต้องกังวลว่าธุรกิจหรือกิจการจะถูกเรียกให้ชำระหนี้หรือถูกฟ้องร้อง สภาวะการพักการชำระหนี้ หากกล่าวให้เห็นภาพ เสมือนหนึ่งธุรกิจหรือกิจการจะอยู่ภายใต้ร่มคันใหญ่ที่จะป้องกันการถูกฟ้องร้อง ถูกบังคับคดี ถูกบังคับชำระหนี้ ถูกงดให้บริการสาธารณูปโภคต่าง ๆ เป็นต้น อย่างไรก็ดี ประโยชน์ข้างต้นที่ลูกหนี้จะได้รับ ต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้ใช้สิทธิโดยสุจริต ไม่ได้อาศัยการพักชำระหนี้เป็นเหตุของการประวิงคดี ดังสุภาษิตกฎหมายที่ว่า “ผู้ที่มาพึ่งศาล จะต้องมาศาลด้วยมือสะอาด” (He who comes to equity must come with clean hands)

สำหรับหน้าที่ของลูกหนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวมีอย่างไรนั้น กฎหมายก็ได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าลูกหนี้ยังสามารถประกอบธุรกิจตามที่จำเป็นของธุรกิจเท่านั้น เพื่อให้การดำเนินการค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถดำเนินการต่อไปได้ ดังนั้น ลูกหนี้จะจำหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า ชำระหนี้ ก่อหนี้ หรือกระทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดภาระในทรัพย์สินไม่ได้ เว้นแต่ศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น

• ผู้ทำแผนและผู้บริหารแผน คือใคร?

ผู้ทำแผนและผู้บริหารแผน เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการและบริหารกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการ โดยต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด

ผู้ทำแผน หมายถึง ผู้จัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ โดยจะเป็นผู้ที่ศาลมีคำสั่งตั้งเพื่อจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ และเมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนแล้ว ให้อำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ และสิทธิตามกฎหมายของผู้ถือหุ้นของลูกหนี้ตกแก่ผู้ทำแผน ยกเว้นสิทธิที่จะได้รับเงินปันผล

ผู้ทำแผนต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎกระทรวงว่าด้วยการจดทะเบียนและการกำหนดคุณสมบัติผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ โดยต้องมีประสบการณ์ในการรับจัดกิจการและทรัพย์สินของผู้อื่น มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน หรือที่ปรึกษาทางบัญชี หรือที่ปรึกษาทางกฎหมาย ผู้บริหารของนิติบุคคลต้องมีจริยธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีหลักเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติงานที่รัดกุมและเชื่อถือได้ ทั้งนี้ ลูกหนี้อาจขอเป็นผู้ทำแผนเองก็ได้

ในการเสนอผู้ทำแผน กฎหมายกำหนดให้ทั้งลูกหนี้หรือเจ้าหนี้สามารถเสนอผู้ทำแผนได้ ซึ่งหากศาลเห็นว่าผู้ที่เสนอเป็นผู้ทำแผนยังไม่สมควรเป็นผู้ทำแผน หรือมีการคัดค้าน ศาลจะสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จัดประชุมเจ้าหนี้โดยเร็ว เพื่อให้เจ้าหนี้ได้ลงมติในการเลือกผู้ทำแผน และเมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้เลือกผู้ทำแผนได้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องรายงานศาลทราบเพื่อพิจารณามีคำสั่งต่อไป

นอกจากนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า หากยังไม่มีการตั้งผู้ทำแผน เมื่อศาลสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ กฎหมายกำหนดให้อำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของผู้บริหารของลูกหนี้สิ้นสุดลง และให้ศาลมีคำสั่งตั้งบุคคลใดหรือหลายคนหรือผู้บริหารของลูกหนี้เป็นผู้บริหารชั่วคราว โดยมีอำนาจหน้าที่จัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อไป ทั้งนี้ ภายใต้การกำกับดูแลของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จนกว่าจะมีการตั้งผู้ทำแผน

ผู้บริหารแผน หมายถึงผู้จัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการ กฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม ทำนองเดียวกับผู้ทำแผน เว้นแต่วัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ กำหนดให้เป็นที่ปรึกษาทางด้านการบริหารงาน

กฎหมายกำหนดให้สิทธิและอำนาจหน้าที่ของผู้ทำแผนโอนไปยังผู้บริหารแผน ตั้งแต่วันที่ผู้บริหารแผนได้รับทราบคำสั่งศาลที่เห็นชอบกับแผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งแผนฟื้นฟูกิจการที่เป็นความตกลงระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ เป็นแผนฟื้นฟูกิจการที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับแผน และศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้ว โดยกฎหมายกำหนดให้แผนฟื้นฟูกิจการมีรายละเอียดต่าง ๆ โดยเฉพาะหลักการและวิธีการฟื้นฟูกิจการ อันประกอบด้วย ขั้นตอนของการฟื้นฟูกิจการ การชำระหนี้ การยืดกำหนดเวลาชำระหนี้ การลดจำนวนหนี้ลง และการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ การลดทุนและเพิ่มทุน การก่อหนี้และระดมเงินทุน แหล่งเงินทุนและเงื่อนไขแห่งหนี้สินและเงินทุน การจัดการและการหาประโยชน์จากทรัพย์สินของลูกหนี้ และเงื่อนไขการจ่ายเงินปันผลและประโยชน์อื่นใด รวมทั้งแนวทางแก้ปัญหาในกรณีขาดสภาพคล่องชั่วคราวระหว่างการปฏิบัติตามแผน

ใครเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ

Win-Win ทุกฝ่าย คือ การเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ เห็นว่า จะเป็น win-win ทั้งเจ้าหนี้ ลูกหนี้ และผู้ถือหุ้น รวมทั้งสังคมด้วย เพราะยังสามารถรักษากิจการให้ดำเนินการได้ตามปกติอย่างต่อเนื่อง ลดความเสี่ยงต่อการถูกเลิกกิจการ และการถูกฟ้องล้มละลาย อันจะช่วยรักษาการจ้างงานและห่วงโซ่อุปทานต่าง ๆ ไว้ได้ และที่สำคัญ การฟื้นฟูกิจการจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้มากกว่าการล้มละลาย นอกจากนี้ การฟื้นฟูกิจการจะเป็นการเปิดโอกาสให้ธุรกิจสามารถปรับโครงสร้างองค์กร กระบวนการทำงาน และแผนการดำเนินธุรกิจด้วย

สำหรับสิทธิของเจ้าหนี้ กฎหมายกำหนดให้สิทธิของเจ้าหนี้ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันต้องได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน ซึ่งต่างกับการล้มละลายที่เจ้าหนี้ทุกรายจะได้รับส่วนเฉลี่ยในการชำระหนี้เท่ากัน

กิจการภายหลังจากการเข้าสู่การฟื้นฟูกิจการ ลูกหนี้จะกลับมาบริหารจัดการกิจการได้หรือไม่

การเข้ากระบวนการฟื้นฟูกิจการเปรียบเสมือนคนไข้ที่มีอาการป่วยเข้ารับการรักษาตัวเพื่อดูแลรักษาให้หายจากการเจ็บป่วย โดยปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ภายหลังจากนั้น เมื่อคนไข้หายป่วยและมีร่างกายที่แข็งแรงและทำอะไรได้ตามปกติ ที่ผ่านมา มีบริษัทหลายบริษัทที่เข้ากระบวนการฟื้นฟูกิจการ และเมื่อการฟื้นฟูกิจการได้ดำเนินการเป็นผลสำเร็จ ก็กลับมาเป็นบริษัทที่มีความเข้มแข็งและมีการเติบโต ทำนอง “ฟ้าหลังฝน” เมื่อศาลจะมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ ในกรณีที่ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า การฟื้นฟูกิจการได้ดำเนินการเป็นผลสำเร็จตามแผน ผู้บริหารของลูกหนี้จะกลับมามีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ตามเดิม และผู้ถือหุ้นของลูกหนี้กลับมีสิทธิตามกฎหมายต่อไป

การฟื้นฟูกิจการจึงเป็นทางเลือกหนึ่งของธุรกิจที่ประสบปัญหาการขาดสภาพคล่อง แต่มีเหตุผลความจำเป็นและมีช่องทางในการดำเนินธุรกิจต่อไป.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เปิดเนื้อหาหนังสือแจง UNSC กัมพูชาวางทุ่นระเบิด-เริ่มยิงก่อน

25 ก.ค.- เปิดเนื้อหาหนังสือจากผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติที่นิวยอร์ก เพื่อชี้แจงต่อประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ถึงสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา นายเชิดชาย ใช้ไววิทย์เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรไทย ประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ส่งหนังสือชี้แจงต่อประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ถึงสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา ระบุว่า ขอแจ้งให้ท่านและสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติทุกท่านทราบ ถึงสถานการณ์อันร้ายแรงที่ส่งผลกระทบต่ออธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของไทย อันเป็นผลจากการรุกรานทางทหารของประเทศกัมพูชา โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1.     เมื่อวันที่ 16 และ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 2025 ขณะที่เจ้าหน้าที่ทหารไทยกำลังลาดตระเวนตามเส้นทางปกติที่กำหนดไว้ ซึ่งอยู่ภายในอาณาเขตของประเทศไทย ทหารได้เหยียบทุ่นระเบิดชนิด PMN-2 ส่งผลให้ทหาร 2 นาย ได้รับบาดเจ็บอย่างสาหัสส่งผลถึงขั้นพิการถาวร ขณะที่ทหารนายอื่น ๆ ก็ได้รับบาดเจ็บสาหัส ทุ่นระเบิด PMN-2 ทั้งหมดที่พบอยู่ในสภาพใหม่ ยังมีเครื่องหมายที่มองเห็นได้ชัดเจน หลักฐานบ่งชี้ว่าทุ่นระเบิดเหล่านี้เพิ่งถูกวางใหม่ ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ไทยได้ยื่นรายงานประจำปีเกี่ยวกับความโปร่งใสในการดำเนินการตามพันธกรณีในอนุสัญญาดังกล่าว ตามมาตรา 7 ของอนุสัญญาฯ อย่างต่อเนื่อง รายงานดังกล่าวระบุว่าประเทศไทยได้ทำลายทุ่นระเบิดในคลังทั้งหมดแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 และต่อมา ได้ทำลายทุ่นระเบิดทั้งหมดที่เก็บไว้เพื่อการฝึกอบรมและการวิจัยในปี ค.ศ. […]

“ภูมิธรรม” เชื่อประชาชนคิดเหมือน “ทักษิณ” ขอให้กองทัพลบเหลี่ยม “ฮุนเซน”

ก.มหาดไทย 25 ก.ค.-“ภูมิธรรม” เชื่อประชาชนคิดเหมือน “ทักษิณ” ขอให้กองทัพลบเหลี่ยม “ฮุนเซน” ชี้รับฟังทุกความไม่พอใจ แต่ทุกอย่างเป็นไปตามยุทธวิธี ให้ทหารมีอิสระในการทำงาน มอง “ก่อแก้ว” ขอศาล รธน. คืนอำนาจให้ “แพทองธาร” เป็นความเห็นเหมือนประชาชนจำนวนมาก แต่ให้เป็นตามกระบวนการยุติธรรม นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาการนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ ระบุถึง อยากให้กองทัพสั่งสอนความเจ้าเล่ห์ของฮุนเซนก่อน ว่า ก็เหมือนประชาชนทั่วไป ที่เวลานี้มีความรู้สึกเช่นนั้น หลายคนแสดงความเห็นให้ทำแบบนู้นแบบนี้ เราก็รับฟังความห่วงใยความไม่พอใจที่เราถูกกระทำ ตนเข้าใจความรู้สึกเหล่านั้น และเห็นว่าเป็นจุดมุ่งหมายเดียวกัน เพราะเรื่องอธิปไตยของประเทศ การรุกล้ำเข้ามา กระทบประชาชนเรายอมไม่ได้ ซึ่งที่ผ่านมาทุกฝ่ายจะเห็นว่าเราประนีประนอม (Compromise) ให้มากที่สุด แต่เมื่อสิ่งดังกล่าวไม่เกิดขึ้น และเป็นปัญหา วันนี้จึงได้สั่งการให้ทหารมีอิสระในพื้นที่ โดยผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เป็นผู้คุมยุทธการ ปฏิบัติได้ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงได้มีการทำความเข้าใจกับ พลเอก ณัฐพล นาคพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีการโทรคุยกับผู้บัญชาการทหารสูงสุด […]

เข้าสู่วันที่ 2 กัมพูชาเปิดฉากตั้งแต่เช้ามืด ที่ปราสาทตาเมือนธม

สุรินทร์ 25 ก.ค.-เข้าสู่วันที่ 2 เหตุปะทะไทย-กัมพูชา เริ่มเปิดฉากยิงกันตั้งแต่เช้ามืด บริเวณปราสาทตาเมือนธม และปราสาทตาควาย อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ ขณะนี้เสียงยังดังต่อเนื่อง ก่อนขยายการสู้รบไปตลอดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ด้านอีสานใต้ อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เป็นพื้นที่แรกที่ฝ่ายกัมพูชาเปิดฉากยิงก่อนด้านปราสาทตาเมือนครับ เช้ามืดวันนี้ ราวตี 5 ครึ่ง ก็เริ่มปะทะกันอีก ขณะนี้ก็มีเสียงดังอย่างต่อเนื่อง เส้นทางจากอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เข้าสู่อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ แม้สายแล้ว ก็มีรถสัญจรไปมาค่อนข้างน้อย เนื่องจากเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยการสู้รบ โดยอำเภอพนมดงรักเป็นหนึ่งใน 4 อำเภอ ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ประกาศให้ผู้ที่ไม่มีความจำเป็นเข้าพื้นที่ร่วมกับอำเภอกาบเชิง บัวเชดและสังขะ โดยตลอดช่วงเช้าที่ผ่านมา ในพื้นที่ตามแนวชายแดนได้ยินเสียงการปะทะด้วยกระสุนปืนใหญ่ดังอย่างต่อเนื่อง ผู้นำหมู่บ้านบันทึกสถิติเฉพาะฝั่งไทยตอบโต้เกินกว่า 100 ลูกแล้ว บ้านหนองแรด ตำบลบักได อำเภอพนมดงรัก ที่จรวดหลายลำกล้อง BM 21 ตกเยอะสุด 10 ลูก วานนี้โดยรอบหมู่บ้าน โชคดีไม่ลงบ้านเรือน มีกระจกแตกเล็กน้อยจากแรงอัดลูกจรวดเท่านั้น วันนี้ ยังมีชาวบ้านอยู่นับร้อยคนหลบอยู่ในหลุมหลบภัย จากทั้งหมด […]

เปิดศูนย์พักพิงชั่วคราวรองรับประชาชนพื้นที่เสี่ยงภัยชายแดน

ศรีสะเกษ 24 ก.ค. – บรรยากาศคืนแรกที่ศูนย์อพยพฯ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ประชาชนต้องละทิ้งบ้านเรือนมาพักอาศัยชั่วคราว จากเหตุปะทะตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา นี่เป็นบรรยากาศค่ำคืนแรกที่ประชาชนในเขต อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ต้องออกมาพักอาศัยนอกบ้านเรือน ตั้งแต่เกิดเหตุกัมพูชายิงจรวดเข้าใส่เขตพักอาศัยของพลเรือน ซึ่งเป็นการละเมิดข้อตกลงระหว่างประเทศ ทำให้ตลอดทั้งวัน อ.กันทรลักษ์ มีการอพยพประชาชนแล้วมากกว่า 41,000 คน กระจายไปตามจุดต่างๆ โดยจุดนี้เป็นจุดที่น่าจะมีผู้อพยพมากที่สุด เพราะใกล้แนวชายแดนที่อยู่ในระยะปลอดภัยมากที่สุด คือ ประมาณ 40 กิโลเมตร จากแนวชายแดน มีประชาชนเข้ามาพักอาศัย 4,865 คน และยังมีจุดอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกระจายกันไป ผลจากสถานการณ์ตึงเครียดและพลเรือนตกเป็นเป้าของการโจมตี ทำให้หลายคนอยู่ในอาการเครียดและกังวล เจ้าหน้าที่ต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้กำลังใจเป็นระยะ รวมทั้งให้บริการยาและอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นเบื้องต้น พร้อมกันนี้ได้ย้ำให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของนายอนุพงศ์ สุขสมนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ที่ได้ฝากแจ้งประชาชนที่ยังลังเลไม่ยอมอพยพออกจากพื้นที่ เนื่องจากเป็นห่วงทรัพย์สินหรือสัตว์เลี้ยง ว่า ขณะนี้มีชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ผู้ใหญ่บ้าน และกำนัน ดูแลพื้นที่อย่างใกล้ชิดทุกหมู่บ้าน จึงขอให้ทุกคนให้ความร่วมมือ และออกมาจากพื้นที่เสี่ยงตามจุดนัดหมาย เพื่อความปลอดภัยของตนเองและครอบครัว. – สำนักข่าวไทย

ข่าวแนะนำ

“มาริษ” แจงย้ำเวทีโลกกัมพูชาเปิดฉากโจมตีก่อน UNSC แนะเจรจาสันติวิธี

กระทรวงการต่างประเทศ 26 ก.ค.- “มาริษ” เผยเวที UNSC ให้ไทยกัมพูชายับยั้งชั่งใจ เจรจา 2 ฝ่ายสันติวิธียุติขัดแย้ง ย้ำแจงเวทีโลกแล้วกัมพูชาละเมิดอธิปไตยไทย-เปิดฉากโจมตีก่อน บอกสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา ไม่ได้เป็นการคุกคามสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ สั่งกรมสนธิฯ พิจารณายื่นศาลอาญาโลกฟ้องเขมรฐานอาชญากรสงคราม นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แถลงผลการเดินทางเยือนสหรัฐอเมริกา เพื่อนำคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมเวทีหารือทางการเมืองระดับสูงว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน ประจำปี ค.ศ. 2025 (High-Level Political Forum on Sustainable Development 2025) หรือ HLPF2025 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์กว่า ในห้วงการประชุมดังกล่าว ตนเองได้ใช้โอกาสนี้ พบหารือกับผู้แทนระดับสูงจากสหประชาชาติ และผู้แทนระดับสูงประเทศต่าง ๆ เพื่อชี้แจงพัฒนาการชายแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งตนเองได้ยืนยันให้ทุกประเทศ และผู้แทนระดับสูงของสหประชาชาติได้รับทราบมาโดยตลอดการปฏิบัติภารกิจว่า การปะทะกันเมื่อช่วงเช้าวันที่ 24 กรกฎาคม ฝ่ายกัมพูชา เป็นผู้เริ่มโจมตีก่อน พร้อมแสดงความกังวล ต่อการโจมตีในสถานที่ที่ไม่ใช่เป้าหมายทางทหาร เช่น โรงพยาบาล ปั๊มน้ำมัน และร้านสะดวกซื้อ ซึ่งสะท้อนการโจมตีพื้นที่พลเรือนไทย […]

องคมนตรีมอบสิ่งของพระราชทาน ศูนย์อพยพ จ.ศรีสะเกษ

ศรีสะเกษ 26 ก.ค.- สถานการณ์สู้รบตามแนวชายแดนศรีสะเกษ ดุเดือดกว่าทุกวัน ขณะองคมนตรีมอบสิ่งของพระราชทานแก่ประชาชนที่ศูนย์อพยพ นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรีเดินทางมายังที่พักอาศัยของผู้อพยพ จ.ศรีสะเกษ มอบสิ่งของพระราชทานให้กับประชาชน พร้อมแจ้งให้ทราบถึงกระแสความห่วงใย หลังทราบข่าวประชาชนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ทรงมีความห่วงใยประชาชนและไม่ประสงค์ที่จะเห็นมีการบาดเจ็บล้มตายเพิ่มอีก อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สถานการณ์ยังไม่เรียบร้อย ขอให้ประชาชนอยู่ในพื้นที่อพยพไปอีกสักระยะ ขณะเดียวกัน พยาบาลจากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา ให้บริการตรวจดูแลสุขภาพเบื้องต้นและปฏิบัติการทางจิตรฉรีญาพร้อมมอบสิ่งของให้กับผู้อพยพหลังต้องจากบ้านมาวันนี้เป็นวันที่ 3 แล้ว ซึ่งตามหลักบางรายอาจเกิดความเครียดสะสมขึ้นได้ ปกติแล้วบริเวณศูนย์อพยพแห่งนี้ซึ่งห่างจากชายแดนประมาณ 40 กิโลเมตร จะไม่ได้ยินเสียงปืนใหญ่ แต่วันนี้แม้จะอยู่ที่ศูนย์อพยพก็สามารถได้ยินเสียงปืนใหญ่ดังขึ้น ไม่น้อยกว่า 9 นัดแล้วในขณะนี้ -สำนักข่าวไทย

เชิญธงชาติไทยขึ้นสู่ยอด “ภูมะเขือ” กองทัพยึดคืนพื้นที่เบ็ดเสร็จ

26 ก.ค.- ธงชาติไทยโบกสะบัด! ปักยอด “ภูมะเขือ” หลังทหารไทยเปิดปฏิบัติการเข้าตียึดพื้นที่คืนจากฝ่ายกัมพูชาสำเร็จช่วงเย็นวานนี้ กองทัพบกได้รับรายงานจากกองทัพภาคที่ 2 ว่า เมื่อเวลา 09.20 น. ได้มีการเชิญธงชาติไทยขึ้นสู่ยอดภูมะเขือ หลังจากที่ทหารไทยได้เปิดปฏิบัติการเข้าตียึดพื้นที่ภูมะเขือ ซึ่งเป็นบริเวณที่ฝ่ายทหารกัมพูชาได้วางกำลังไว้อย่างหนาแน่น และสามารถยึดพื้นที่ได้สำเร็จเมื่อช่วงเย็นของเมื่อวานนี้ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความพยายามจากฝ่ายกัมพูชาในการเข้าตีเพื่อแย่งยึดพื้นที่คืนอย่างต่อเนื่อง โดยได้มีการระดมยิงปืนใหญ่และเตรียมการจัดกำลังเข้าตีตอบโต้ฝ่ายไทย -สำนักข่าวไทย

นาวิกโยธินคุมพื้นที่ได้ทั้งหมด ตอบโต้ทหารกัมพูชาหนีกระเจิง

26 ก.ค.- เหตุปะทะชายแดนตราด ทหารนาวิกโยธิน ตอบโต้ทหารกัมพูชาหนีกระเจิง ถอยร่นออกจากพื้นที่อธิปไตยไทย ส่วนประชาชนอพยพไปที่ปลอดภัย เมื่อเวลา 07.30 น. วันที่ 26 ก.ค.69 รายงานข่าวจากหน่วยความมั่นคงจังหวัดตราด เปิดเผยว่าถึงสถานการณ์ บริเวณบ้านชำราก จ.ตราด ทหารกัมพูชา ได้วางกำลังรุกล้ำเขตแดนไทย 3 จุดเปิดฉากยิงทหารไทย เมื่อช่วงเช้ามืดที่ผ่านมา โดยกำลังทหารนาวิกโยธิน ได้เปิดยุทธการ “ตราดพิฆาตไพรี1” จนสามารถควบคุมพื้นที่ได้ทั้งหมด ผลักดันกำลังทหารกัมพูชา ออกนอกพื้นที่ ไม่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ส่วนประชาชนพื้นที่ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ได้อพยพไปพื้นที่ปลอดภัย ในอำเภอเมืองตราด ประมาณ 75 เปอร์เซนต์เมื่อวันที่ 24-25 ก.ค.68 -สำนักข่าวไทย