“ชาญศิลป์” เชื่อมั่นซีอีโอ ปตท.คนใหม่สานงานต่อไม่สะดุด

กรุงเทพฯ 22 เม.ย. – “ชาญศิลป์” พบสื่อ ก่อนอำลำตำแหน่งซีอีโอ ปตท.คนที่ 9 ระบุสิ่งที่เสียใจสุด คือ คดีทุจริตในองค์กร “ปาล์ม- โรลส์-รอยซ์” จะย้ำในบอร์ด 30 เม.ย.วางแนวทางป้องกันทุจริตในอนาคต เชื่อมั่นซีอีโอคนใหม่สานต่องานไม่สะดุด ย้ำ ปตท.สนับสนุนต้านโควิด-19 ทุกแนวทาง  


นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. เปิดใจก่อนอำลาตำแหน่งในวันที่ 12 พฤษภาคม ว่า สิ่งที่ภูมิใจมากที่สุด คือ การเป็นพนักงาน ปตท.มา 38 ปี  และร่วมทำงานด้านต่าง ๆ  ส่งผลให้ ปตท.แข็งแกร่ง ได้รับรางวัลจำนวนมาก แต่สิ่งที่รู้สึกเสียใจที่สุด คือ เรื่องทุจริต ที่มีอดีตพนักงานร่วมกับนักการเมืองบางคนและคนภายนอก เช่น คดีปาล์มน้ำมันในอินโดนีเซีย ,การจ่ายสินบนของบริษัท โรลส์-รอยซ์  ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนตรวจสอบของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. แม้ยังไม่มีการพิพากษา และมีผลที่ชัดเจน ก็เป็นบทเรียนที่ต้องระวังต่อไป โดยจะพูดเรื่องนี้ในการประชุมคณะกรรมการ ปตท.วันที่ 30 เมษายนนี้ ซึ่งจะเป็นนัดสุดท้ายที่เข้าร่วมประชุม

“ส่วนการส่งไม้ต่อให้กับนายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ซีอีโอ ปตท.คนใหม่ เชื่อมั่นงานไม่สะดุด เพราะ ปตท.ทำงานกันเป็นทีมเวิร์คอยู่แล้ว เชื่อว่าจะมาขับเคลื่อนสานต่อกลยุทธ์การลงทุนที่ได้กำหนดไว้ร่วมกันอยู่แล้ว โดยนับจากนี้ไปเทคโนโลยีดิจิทัลจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้น หลังโควิด-19 รวมทั้งธุรกิจไฟฟ้า ความมั่นคงของรัฐ เทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งมีแผนงานที่ทำร่วมกันไว้แล้ว” นายชาญศิลป์ กล่าว


นายชาญศิลป์ กล่าวว่า สถานการณ์โควิด-19 ทำให้เกิดพฤติกรรมใหม่ (New Normal) สำหรับการตัดสินใจซื้อสินค้าในอนาคต ซึ่งกลุ่ม ปตท.ต้องติดตามและปรับแผนให้เหมาะสมในอนาคต โดยพฤติกรรมใหม่ที่จะเกิดขึ้น คือ การใช้ระบบดิจิทัลมากขึ้นทั้งการทำงานที่บ้าน การสั่งซื้อสินค้า ประชาชนจะให้ความสนใจในการดูแลสุขภาพ  เวชศาสตร์แห่งการชะลอวัย สินค้าอาหาร การค้าปลีก ซึ่งสินค้าด้านสุขภาพ เช่น หน้ากากอนามัย ก็จะเป็นส่วนหนึ่งในสินค้าที่จำเป็นในการดำรงชีวิต

นายชาญศิลป์ กล่าวด้วยว่า ในช่วงการระบาดของโควิด-19 กลุ่ม ปตท.ได้ร่วมมือสู้ภัยโควิด-19  โดยดำเนินการหลายด้านอย่างเป็นรูปธรรม เช่น ระดมสรรพกำลังความเชี่ยวชาญทางวิศวกรรมและเทคโนโลยีให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการปฏิบัติงานแก่บุคลากรทางการแพทย์ ในด้านงานวิจัย พัฒนา จัดหา และผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้เพียงพอ มีงานสำคัญเร่งด่วน อาทิ การสนับสนุนเสื้อกาวน์แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ซึ่งผลิตจากเม็ดพลาสติกของกลุ่ม ปตท. พร้อมมอบผ้าสปันบอนด์เคลือบสารกันน้ำและสารคัดหลั่ง สำหรับผลิตเป็นชุดป้องกันส่วนบุคคล PPE การผลิตหมวกอัดอากาศความดันบวก PAPR การผลิตเตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเชื้อแบบแรงดันลบ เพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของเชื้อ การพัฒนาห้องตรวจวินิจฉัยโรคแบบป้องกันเชื้อ การผลิตกล่องป้องกันเชื้อฟุ้งกระจาย สำหรับกระทำหัตถการของบุคลากรทางการแพทย์ การผลิตและสนับสนุน Face Shield และการร่วมสนับสนุนของภาคีเครือข่าย การมอบแอลกอฮอล์ และกลุ่ม ปตท.ยังอยู่ระหว่างพัฒนาอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการสนับสนุนภารกิจของบุคลากรทางการแพทย์และดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 


ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานดังกล่าวสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี กลุ่ม ปตท.จึงตั้ง “คณะกรรมการกิจการเพื่อสังคม กลุ่ม ปตท. เพื่อสู้ภัย COVID-19” เพื่อผลักดันการดำเนินงานสำคัญครั้งนี้เป็นการแสดงถึงความมุ่งมั่นและร่วมกันดำเนินภารกิจให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติจริงสามารถเห็นผลเป็นรูปธรรมต่อไป. -สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สามีเข้าเกียร์ค้างไว้ สตาร์ทรถพุ่งชนภรรยาดับ

สลด! สามีขับรถใส่เกียร์ค้างไว้ สตาร์ทรถพุ่งชนภรรยาเสียชีวิตในบ้านพักย่านวิภาวดี ตำรวจยังไม่ปักใจเชื่อคำให้การเบื้องต้น นำตัวสอบปากคำอย่างละเอียดอีกครั้ง

คุมฝากขัง “เอ็ม เอกชาติ” เจ้าตัวปิดปากเงียบ

ตร.ไซเบอร์คุมตัว “เอ็ม เอกชาติ” ฝากขัง เจ้าตัวปิดปากเงียบ ไม่ตอบคำถามสื่อ ด้านตำรวจพบเส้นทางการเงินจากเว็บพนัน กว่า 30 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ออกแล้ว! ผลตรวจเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่ม พบไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น

ผลตรวจตัวอย่างเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่มจากแผ่นดินไหว พบได้มาตรฐาน 15 ชิ้น ไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น ยังไม่สรุปเป็นสาเหตุตึกถล่ม ชี้ต้องดูหลายองค์ประกอบ

ครบ 72 ชม. ตึก สตง.ถล่ม ไม่หยุดค้นหาผู้รอดชีวิต

ปฏิบัติการค้นหาผู้รอดชีวิตจากเหตุตึก สตง.พังถล่ม แม้เวลาผ่านมาครบ 72 ชั่วโมงแล้ว แต่เจ้าหน้าที่้ทุกฝ่ายยังไม่ละความพยายามในการค้นหาผู้รอดชีวิต หวังมีปาฏิหาริย์

นายกฯ สั่งลดขั้นตอนแจ้งเตือนภัย ลั่นยังไม่ได้ SMS แผ่นดินไหว

นายกฯ ลั่น จนถึงวันนี้ก็ยังไม่ได้รับ SMS เตือนแผ่นดินไหว สั่งลดขั้นตอนแจ้งเตือน “กรมอุตุฯ ไป ปภ. เข้าเครือข่ายมือถือ” ไม่ต้องผ่าน กสทช. ระหว่าง รอ Cell Broadcast เต็มระบบ ก.ค.นี้