“จุรินทร์” ประชุมดูแลสินค้าอุปโภคบริโภค รับมือโควิด-19

กรุงเทพฯ 7 มี.ค. – จุรินทร์ รุก ประชุมดูแลสินค้าอุปโภคบริโภค ร่วมมือผู้ประกอบการทั้งระบบ รับมือโควิด-19


นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประชุมร่วมกับผู้ประกอบการที่เกี่ยวกับสินค้าอุปโภคบริโภค เพื่อทำงานเชิงรุกและรับมือในสถานการณ์ Covid-19 โดยใช้เวลาประชุมตั้งแต่เวลา 14.00 น.-17.00 น. มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 43 ราย ประกอบด้วย สมาคม จำนวน 9 สมาคม (สมาคมผู้ค้าปลีกไทย สมาคมการค้าส่ง-ปลีกไทย สมาคม ผู้ผลิตอาหารสาเร็จรูป สมาคมผู้ประกอบการข้าวถุง สมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ สมาคมผู้ผลิตไก่ เพื่อส่งออกไทย สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ สมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยา แผนปัจจุบัน และสมาคมผู้วิจัยและผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์) ผู้ประกอบการสินค้าอุปโภคบริโภค จำนวน 22 ราย (หมวดของใช้ประจาวัน 5 ราย หมวดอาหารและเครื่องดื่ม/ผลิตภัณฑ์นม 14 ราย ยาและเวชภัณฑ์/เจลล้างมือ 9 ราย) ห้างสรรพสินค้า จำนวน 6 ราย


ทั้งนี้ ภายหลังการประชุม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า วันนี้มี 2 เรื่องด้วยกันเรื่องแรก คือ เรื่องที่ผมได้ขอให้ทางกรมการค้าภายในเชิญผู้ประกอบการมาหารือเพื่อให้กรมการค้าภายในติดตามสถานการณ์สินค้าอุปโภคบริโภคในสถานการณ์ที่เรากำลังเผชิญกับปัญหา COVID-19 ในขณะนี้เพื่อเตรียมการรองรับมาตรการอื่นๆของรัฐบาลที่มีแนวโน้มในการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจำนวนหนึ่งจากพี่น้องประชาชนในกลุ่มที่มีความจำเป็นต้องได้รับการเติมเม็ดเงินเข้าไปซึ่งจะเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในวันอังคารที่จะถึงนี้ซึ่งอาจจะทำให้ความต้องการสินค้าบริโภคเพิ่มขึ้น

สำหรับการหารือในวันนี้มีการหารือ ข้าวถุง เจลล้างมือ อาหารสำเร็จรูปและสินค้าอื่นๆเช่น สบู่เหลว กระดาษทิชชู เป็นต้นเพื่อให้แต่ละกลุ่มผู้ผลิตช่วยรายงานสถานการณ์ ซึ่งทำให้ได้เห็นภาพรวมว่าสำหรับอาหารสำเร็จรูปนั้นมีแนวโน้มยอดขายออนไลน์มีเพิ่มขึ้นและได้รับแจ้งว่ากำลังการผลิตณปัจจุบันนี้ยังอยู่ประมาณร้อยละ 70 ซึ่งยังสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้อีกร้อยละ 30 โดยประมาณ


ด้าน ดร.ระพีพัชญ์ ธนถาวรกิตติ์ นายกผู้ประกอบการข้าวถุงไทยรายงานว่าขอยืนยันว่าในภาวะ COVID-19 ที่เข้ามาในบ้านเราเราสามารถผลิตสินค้าป้อนให้กับตลาดได้ ขอให้พี่น้องประชาชนมั่นใจได้ว่าข้าวสารจะไม่ขาด

นางณัฏฐินี เนตรอำไพ ผู้จัดการอาวุโสส่วนองค์กรและสื่อมวลชนสัมพันธ์บริษัทยูนิลิเวอร์ รายงานว่าอยากให้พี่น้องประชาชนมั่นใจว่ายูนิลิเวอร์อยู่คู่กับสังคมไทยมานานและฝ่าฟันวิกฤติมารวมกันและกำลังจะร่วมฝ่าฟันวิกฤติตกาล COVID-19 ร่วมกับประเทศไทย ในส่วนอาหารสำเร็จรูป รวมทั้งของสบู่น้ำยาซักผ้าหรือสินค้าที่จำเป็นสำหรับการฆ่าเชื้อทางยูนิลิเวอร์ได้เตรียมพร้อมในการขยายการผลิตเพื่อสนองตอบความต้องการของประชาชนเรียบร้อยแล้ว

นางพิชชาภรณ์ อาชชวงศ์ทิพย์ สมาคมผู้ประกอบการอาหารสำเร็จรูปแจ้งว่าปัจจุบันยังมีกำลังการผลิตเหลืออยู่อีกร้อยละ 30 ประชาชนจึงไม่ต้องเป็นห่วงถึงปัญหาการขาดแคลนอาหาร

ดร.สัมฤทธิ์ ยิบยินธรรม บริษัท ริเวอร์ โปร พัลพ์แอนด์เปเปอร์ ผู้ผลิตกระดาษทิชชูรายงานว่าปริมาณความสามารถในการผลิตกระดาษทิชชูของประเทศไทยยังมีเพียงพอเหลือเฟือดังนั้นการขาดแคลนจึงยังไม่น่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้แต่เราอาจจะยังเห็นว่าสินค้ามีการพร่องไปจากชั้นวางของเนื่องจากสินค้าทิชชู่ใช้เนื้อที่ในการวางเยอะหากทางห้างเติมสินค้าไม่ทันอาจจะดูเหมือนของขาดแต่ในความเป็นจริงยังมีปริมาณเหลือเฟือ

ทั้งนี้ผู้แทนจากยูนิลีเวอร์ ยืนยันว่า พร้อมในการออกผลิตภัณฑ์เจลล้างมือขนาดเล็กเพื่อประชาชนสามารถพกพานำไปใช้ได้และพร้อมในการหาบรรจุภัณฑ์และวัตถุดิบมาผลิตเพิ่มเติมจึงขอให้ประชาชนมั่นใจในส่วนของสบู่เหลวยูนิลิเวอร์ได้ขยายกำลังการผลิตเรียบร้อยแล้วซึ่งมีอยู่หลายแบนรวมทั้งผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีสารต่อต้านแบคทีเรียโดยมีการขยายกำลังการผลิต เพิ่มขึ้นถึงหนึ่งเท่าตัว

ดร.ฉัตรชัย ดวงรัตนพันธ์ ที่ปรึกษาสมาคมค้าปลีกไทย รายงานว่าร้านค้าปีกไทยยืนยันว่าสินค้ายังไม่ขาดตอนและยังสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้อีกทำให้การขาดแคลนที่เหมือนกับการขาดแคนตอนน้ำท่วมเมื่อปี 2554 ยังไม่น่าจะเกิดขึ้นเนื่องจากเราไม่ได้ประสบกับปัญหาการขนส่งจึงเชื่อว่าสินค้าสามารถถูกขนส่งมายังมือพี่น้องประชาชนได้อย่างไม่มีปัญหาซึ่ง ขณะนี้สินค้าก็ยังมีพร้อมโดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภคตามบ้าน ขอให้ประชาชนไม่ต้องเป็นห่วง

นายสมชาย พรรัตนเจริญ ผู้แทนจากสมาคมค้าส่งค้าปลีกไทย ยืนยันว่าสินค้าไม่ขาดแคลน และมีสินค้าเต็มอยู่ทุกที่

จากนั้นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวต่อว่า สำหรับในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ขอเรียนให้ทราบว่ากระทรวงจะติดตามสถานการณ์โดยใกล้ชิดและจะประสานงานกับผู้ผลิตผู้ค้าสมาคมต่างๆที่เกี่ยวข้องตลอดเวลาโดยกรมการค้าภายในจะเป็นหน่วยงานหลักในการคลี่คลายสถานการณ์และประสานงาน ส่วนเรื่องที่สองคือเรื่องหน้ากากอนามัยขอเรียนให้ทราบว่าขณะนี้สถานการณ์การผลิตหน้ากากอนามัยที่มีสีเขียวที่เราใช้กันอยู่เราสามารถผลิตได้เดือนละ 36,000,000 ชิ้น ต่อเดือนอย่างที่เคยเรียนให้ทราบโดยมีผู้ผลิตรวมกัน 11 โรงงาน หากมาทอนเป็นวันจะเป็นวันละ 1.2 ล้านชิ้น ซึ่งตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคมเป็นต้นมาศูนย์บริหารจัดการหน้ากากอนามัยโดยมีผู้แทนกระทรวงสาธารณสุขคือนายแพทย์สุรโชค ต่างวิวัฒน์ได้มาร่วมบริหารจัดการกับอธิบดีกรมการค้าภายในนายวิชัย โภชนกิจ โดยมีมติให้จัดสรรหน้ากากอนามัยให้สถานพยาบาลหรือบุคลากรทางการแพทย์หรือผู้ป่วยเป็นลำดับต้น ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงมากที่สุด ขอย้ำว่าสำหรับสถานพยาบาลทั่วประเทศทุกประเภทจะได้รับการจัดสรรวันละ 700,000 ชิ้นโดยให้รองเลขาธิกา อย นายแพทย์สุรโชค ต่างวิวัฒน์เป็นผู้บริหารจัดการหลักในการจัดสรรหน้ากากอนามัยไปสู่สถานพยาบาลทั่วประเทศและในส่วนอีก 500,000 ชิ้นอธิบดีกรมการค้าภายในจะเป็นผู้บริหารจัดการในการจัดสรรและกระจายผ่านช่องทางต่างๆไปสู่ประชาชนกลุ่มอื่นๆ โดยตัวเลขในการกระจาย 700,000 ชิ้นได้ถูกกระจายไปองค์การเภสัชกรรม 430,000 ชิ้นสถานพยาบาลเอกชน 140,000 ชิ้นโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยเช่นโรงพยาบาลศิริราชรามาธิบดีเป็นต้น 60,000 ชิ้นและโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานครและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 70,000 ชิ้นรวมแล้วเป็น 700,000 ชิ้นซึ่งเมื่อวานทราบว่าผู้ผลิตหน้ากากอนามัยขนาดใหญ่ได้ส่งโรงพยาบาลศิริราช 60,000 ชิ้นและโรงพยาบาลเอกชนหลายโรง เช่นโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ บางแค โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ประชาชื่น โรงพยาบาลวิภาราม โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอลเซ็นเตอร์ โรงพยาบาลพระรามเก้า สำนักอนามัยกรุงเทพมหานครและโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์เป็นต้น

สำหรับตัวเลขในวันที่ 7 มีนาคมศูนย์กระจายหน้ากากได้ตกลงว่าจะได้กระจายตัวเลขหน้ากากที่ใกล้เคียงกับของเดิมคือสำหรับองค์การเภสัช 430,000 ชิ้นโรงพยาบาลเอกชนรวมทั้งคลินิกเอกชนด้วย 140,000 ชิ้นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย 60,000 ชิ้นโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานครอีก 55000 ชิ้น เช่น

โรงพยาบาลวิภารามโรงพยาบาลมหาชัยแม่กลอง โรงพยาบาลเพชรรัตน์ เพชรบุรี โรงพยาบาลซานเปาโลหัวหิน และโรงพยาบาลศิริราชได้รับอีก 30,000 ชิ้นโรงพยาบาลวชิรพยาบาล โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ เป็นต้น

และจะทยอยจัดสรรอีกเป็นลำดับโดยจะมีการประชุมศูนย์กระจายหน้ากากทุกวันซึ่งจากวันนี้ท่านอธิบดีกรมการค้าภายในและรองเลขาธิการ อย รวมทั้งสมาคมโรงพยาบาลเอกชนและอื่นๆรวมทั้งองค์การเภสัชกรรมก็จะประชุมร่วมกั

นอกจากนี้ยังขอเรียนให้ทราบอีกประเด็นหนึ่งว่าขณะนี้ได้มีประกาศคณะกรรมาธิการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการสามฉบับซึ่งนายจุรินทร์เป็นผู้ลงนามในฐานะประธานสำนักกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการสามฉบับที่ว่านั้นประกอบด้วยฉบับที่หนึ่งได้กำหนดเนื้อหาให้ผู้ผลิตผู้นำเข้าหรือผู้ส่งออกหรือผู้ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายหน้ากากอนามัยจะต้องแจ้งข้อมูลมายังกรมการค้าภายในซึ่งเป็นเลขานุการคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการทุกวัน

สำหรับประกาศฉบับที่สองมีเนื้อหาหลักในการให้จำหน่ายหน้ากากอนามัยในราคาไม่เกินชิ้นละ 2.50 บาทและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคมเป็นต้นไป ยกเว้นหน้ากากอนามัยที่ผลิตจาก 11 โรงงานที่ว่าที่อาจมีต้นทุนในการผลิตแตกต่างกันเนื่องจากก่อนหน้านี้กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงพาณิชย์ได้นำมาบริหารจัดการแค่ครึ่งเดียวคือ 600,000 ชิ้นที่เหลืออีก 600,000 ชิ้นโรงงานนำไปจัดจำหน่ายเอง ซึ่งจะให้เวลาถึงวันอาทิตย์นี้ และตั้งแต่วันจันทร์ที่เก้ามีนาคมเป็นต้นไปจะต้องจำหน่ายในราคา 2.50 บาททั่วประเทศ สำหรับหน้ากากทางเลือกหนือหน้ากากอนามัยนำเข้า ได้กำหนดราคาขายสูงสุดจะต้องไม่เกินไปกว่าต้นทุนนำเข้าหรือต้นทุนการผลิตบวกกับราคาที่ผู้นำเข้าหรือผู้ผลิตขายให้กับผู้ค้าส่งได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของต้นทุนการผลิตหรือนำเข้าและเมื่อถึงมือผู้ค้าส่งแล้วผู้ค้าส่งจะขายไปยังผู้ค้าปลีกก็จะบวกไปได้ไม่เกินอีกร้อยละ 10 เช่นเดียวกัน ซึ่งร้อยละ 10 ที่ว่ารวมถึงค่าบริหารจัดการ ค่าขนส่ง ค่าตอบแทนและอื่นๆแล้ว สำหรับผู้ค้าปลีกจะสามารถบวกเพิ่มไปอีกไม่เกินร้อยละ 23 ซึ่งได้รวมค่าบริหารจัดการ ค่าขนส่ง ค่าตอบแทนและต้นทุนอื่นๆแล้ว ซึ่งเมื่อรวมทุกขั้นตอนทั้งหมดแล้วจะต้องไม่เกินร้อยละ 60 ยกตัวอย่างเช่นเมื่อต้นทุน 1 บาทก็จะนำไปขายถึงมือผู้บริโภคได้ไม่เกิน 1.60 บาท

และประกาศฉบับที่สามคือประกาศเรื่องเจลล้างมือซึ่งขณะนี้เป็นสินค้าควบคุมแล้วซึ่งมีเนื้อหาสำคัญก็คือการควบคุมราคาห้ามขายสูงกว่าราคาที่ได้แจ้งไว้ในปัจจุบันที่ได้แจ้งไว้ก่อนหน้านี้แล้วและหากมีการเปลี่ยนแปลงจะต้องได้รับอนุญาตก่อน ซึ่งนโยบายปัจจุบันคือไม่อนุญาตเพื่อไม่ให้สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้บริโภค ทั้งหมดนี้ไม่รวมหน้ากากทางเลือกที่เรียกว่าหน้ากากผ้าซึ่งรัฐบาลกำลังส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปผลิตใช้ได้เองและรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณให้ 225 ล้านบาทแก่กระทรวงมหาดไทยในการผลิตหน้ากากผ้า 50,000,000 ชิ้นที่จะไม่รวมอยู่ในประกาศสามฉบับนี้เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายชัดเจนในการส่งเสริมให้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่ถูกผลิตวันละ 1,200,000 ชิ้นได้นำไปใช้กับบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงที่สุดก่อน สำหรับประชาชนทั่วไปขอให้ใช้เท่าที่จำเป็นและให้ใช้หน้ากากผ้าซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้รับรองแล้วว่าสามารถนำมาใช้ได้

หากมีผู้ใดขายเกินราคาที่กำหนดไว้จะถูกข้อหาขายเกินราคามีโทษจำคุกห้าปีปรับไม่เกิน 100,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับหรือหากค้าในราคาสูงเกินควรจะถูกข้อหาจำคุกเจ็ดปีปรับ 140,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับแล้วแต่กรณีแล้วซึ่งจะมีการดำเนินคดีโดยเคร่งครัดต่อไปโดยมีผลการดำเนินคดีจนกระทั่งถึงเมื่อวานมีการดำเนินคดีไปแล้วจำนวน 89 ราย ทั่วประเทศในข้อหาฉวยโอกาสทางการค้า และบิดเบือนตลาด ทั้งการกักตุน ปล่อยของน้อยกว่าปกติ หรือ ไม่ปิดป้ายแสดงราคาสินค้า มีเจตนาจะขายราคาเกินกว่าปกติ.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

เกาะติดทุกโหมดการเดินทางเทศกาลปีใหม่ 2568

เกาะติดทุกโหมดการเดินทางขาออกเทศกาลปีใหม่ 2568 ถนนทุกสาย และระบบขนส่งสาธารณะทุกโหมด มีประชาชนทะลักเดินทางตั้งแต่เย็นวานนี้ (27 ธ.ค.) ภาพรวมเป็นอย่างไร พูดคุยกับนายวิทยา ยาม่วง รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะ ผอ.ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม.

หยุดยาววันแรก การจราจรขาออก กทม. มุ่งสู่อีสานเริ่มแน่น

เริ่มหยุดยาววันแรก การจราจรบนท้องถนนขาออกกรุงเทพฯ มุ่งสู่อีสานเริ่มแน่นตั้งแต่เมื่อคืน เช้านี้ ถนนมิตรภาพ ช่วง ต.กลางดง อ.ปากช่อง ชะลอเคลื่อนตัวไปได้เรื่อยๆ ส่วนถนนพหลโยธิน ขาเข้าหนองแค รถเริ่มแน่น