เกษตรฯ เร่งสางปัญหาทุจริตใน กยท.

กรุงเทพฯ 11 ก.พ. – รมว.เกษตรฯ สั่งตรวจสอบข้อร้องเรียนการทุจริตใน กยท. ย้ำฟันไม่เลี้ยงทุกกรณี เร่งสางทั้งปัญหาภาคเอกชนค้างชำระหนี้ กยท. บริหารบริษัทร่วมทุนที่ยังมีปัญหายางค้างสตอก และการจัดซื้อปุ๋ยราคาสูงเกินจริง


นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า จะติดตามข้อร้องเรียนการทุจริตในการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ทุกกรณี โดยจะไม่ปล่อยให้ผู้กระผิดลอยนวล ตั้งแต่เข้ามากำกับดูแล กยท.มีกลุ่มเกษตรกรเรียกร้องให้ดำเนินการเรื่องการซื้อขายยางพาราระหว่าง กยท.กับบริษัท โอเรียนน่า เวิลด์ รับเบอร์ จำกัด ที่ยังค้างชำระหนี้ กยท.กว่า 94 ล้านบาท 


นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย  ระบุว่า หน่วยธุรกิจของ กยท. หรือบียู ซึ่งมีหน้าที่ซื้อยางชี้นำตลาดกลางเพื่อยกระดับราคายางแต่ละวันให้สูงขึ้นตามนโยบายรักษาเสถียรภาพราคายาง เมื่อซื้อแล้วต้องหาพันธมิตรขายยาง ซึ่งได้รับการแนะนำจากบริษัทเอเชีย รับเบอร์ (ประเทศไทย) ให้นำบริษัท โอเรียนน่า เวิลด์ รับเบอร์ เข้ามาเป็นคู่ค้า เพื่อรับซื้อยางพาราที่บียูประมูลมาได้ไปขายอีกทอดหนึ่ง

สำหรับกระบวนการซื้อขาย ก่อนที่ กยท.จะเข้าไปประมูลยางตลาดกลาง บียูจะติดต่อบริษัทคู่ค้าว่า สามารถรับซื้อยางราคาที่เข้าไปประมูลได้หรือไม่ หากคู่ค้ายินดีรับซื้อราคาดังกล่าว กยท.จะเข้าไปประมูลยางในตลาดกลาง เมื่อประมูลได้จะติดต่อบริษัทที่จะรับซื้อ ส่งใบสั่งซื้อแล้ว กยท.จึงส่งเอกสารยืนยันราคา พร้อมใบแจ้งหนี้ให้แก่บริษัทคู่ค้า จากนั้นส่งใบขนส่งสินค้าให้แก่สำนักงานตลาดกลางยางพาราที่ประมูลได้ ซึ่งพบว่าบริษัทคู่ค้าไม่ปฏิบัติตามสัญญา ทั้งนี้ กยท.มีใบแจ้งหนี้ 29 ฉบับ ซึ่งในสัญญาซื้อขายระะบุให้บริษัทชำระมัดจำล่วงหน้า 10% ในวันส่งมอบยาง ส่วนที่เหลือ 90% ต้องชำระภายใน 30 วัน หลังรับมอบยาง ที่ผ่านมา กยท.แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบพบว่าบริษัทไม่ปฏิบัติตามสัญญา โดยชำระค่ายางมาเพียง 21 ล้านบาท จึงยังมีหนี้ค้างชำระสะสม 94 ล้านบาท 


ด้านนายประพันธ์ บุณยเกียรติ ประธานบอร์ด กยท. ได้รับเรื่องเพื่อตรวจสอบเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2563 โดยสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางฯ ตั้งข้อสังเกตว่า กยท.ละเลยทำให้มีการปฏิบัติผิดระเบียบซํ้า ๆ สัญญาถึง 29 ฉบับและชำระไม่ตรงตามสัญญา อีกทั้งก่อความเสียหายต่อเงินเงินที่เก็บจากการส่งออกยางและหักจากเกษตรกร 2 บาทต่อกิโลกรัม (Cess) ข้อร้องเรียนเรื่องทุจริตอีกประการ คือ การที่ กยท. ตั้งบริษัท ร่วมทุนยางพาราไทย จำกัด กับบริษัทผู้ค้ายางพาราใหญ่ 5 แห่ง ได้แก่ บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) บริษัท เซาท์แลนด์รับเบอร์ บริษัท ไทยฮั้วยางพารา บริษัท วงศ์บัณฑิต และบริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์คอร์ปอเรชั่น ซึ่งออกทุนรายละ 200 ล้านบาท รวมทุนจดทะเบียน 1,200 ล้านบาท ซึ่งบอร์ด กยท. ชุดก่อนพิจารณาแล้วเห็นว่าการไปร่วมลงทุนเป็นการปฏิบัติตามมติคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) 

ทั้งนี้ นายจิตติน วิเศษสมบัติ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ กยท. (สร.กยท.) กล่าวว่า ตาม พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 มาตรา 65 การร่วมทุนตั้งบริษัทต้องให้ที่ประชุม ครม.พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนที่จะดำเนินการ ไม่ใช่แค่รับทราบ มองว่าเป็นความผิดของนายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการ กยท. ซึ่งต่อมามีคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีให้นายธีธัช ไปปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่ของรัฐประจำสำนักนายกรัฐมนตรีตามกรอบอัตรากำลังชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ โดยยังไม่พ้นจากตำแหน่งเดิมจนกว่าจะมีคำสั่งเป็นประการอื่น

ทั้งนี้ ประธานสมาคมสมาพันธ์ชาวสวนยางฯ ระบุว่า ผลการพิจารณาของบอร์ด กยท. ชุดที่หมดวาระไปชี้ว่า นายธีธัช ไม่มีความผิดเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ ควรตั้งคณะกรรมการกลางตรวจสอบ ไม่ใช่บอร์ด กยท. ตรวจสอบเอง เพราะไม่มีความชอบธรรม โดยเรื่องนี้พบความเสียหายชัดเจนจากที่ราคายางแผ่นรมควันช่วงก่อนประกาศขายยางเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2559 อยู่ที่กิโลกรัมละ 81 บาท ต่อมามีกระบวนการทุบราคายางจนตกต่ำลงมาก ทำให้ไม่สามารถขายยางได้ จึงยังคงมียางค้างในสตอก 310,000 ตัน ถือว่าเป็นการบริหารงานที่ล้มเหลว 

นอกจากนี้ ยังเรียกร้องให้ตรวจสอบการซื้อขายปุ๋ยเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2560 ที่พบพิรุธว่ามีการทุจริตเนื่องจากการประกาศประมูลใช้ระยะเวลาเพียง 5 วัน โดยคร่อมวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เหลือวันทำการเพียง 3 วัน ทำให้มีผู้ประมูลน้อย และผ่านคุณสมบัติปุ๋ยเคมี 5 ราย และปุ๋ยอินทรีย์ 6 ราย โดยผู้เข้าประมูลทั้งหมดชนะการประมูลทุกราย โดยปุ๋ยเคมีที่ประมูลได้ราคาสูงกว่าท้องตลาด โดยเฉพาะปุ๋ยอินทรีย์ราคาแพงผิดปกติ ตั้งข้อสงสัยว่าเหตุใด กยท.จึงตั้งราคากลางสูงมาก ซึ่งเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อผู้ประมูล โดยสมาคมสมาพันธ์ชาวสวนยางฯ ส่งหลักฐานกองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ(บก.ปปป.) กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) ตรวจสอบแล้ว แต่เรียกร้องให้รัฐมนตรีเกษตรฯ เร่งสางปัญหาที่เกิดขึ้นให้เกิดความโปร่งใส เพื่อเกษตรกรจะได้มั่นใจในการบริหารงานของ กยท.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ข่าวแห่งปี 2567 : รวมฉ้อโกง “ดารา-คนดัง” ไม่รอด

ตลอดปี 2567 ยังมีผู้คนตกเป็นเหยื่อของกลโกง มิจฉาชีพ ที่มาในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการลงทุนรูปแบบใหม่ๆ บางคนถึงขั้นสิ้นเนื้อประดาตัว และที่น่าตกใจเริ่มมีคนดังเข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีมากขึ้น

หมอชิต 2 คึกคัก ประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาฉลองปีใหม่

บรรยากาศการเดินทางหมอชิต 2 คึกคัก ประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาและท่องเที่ยวในช่วงหยุดยาวปีใหม่ ด้าน รฟท. คาดผู้โดยสารเดินทางขาออกวันนี้ 1 แสนคน

รถเริ่มแน่น! สายเหนือ-อีสาน การจราจรชะลอตัว

ประชาชนทยอยเดินทางกลับภูมิลำเนา หยุดยาวปีใหม่ ถ.พหลโยธิน มุ่งหน้าสายอีสาน รถแน่น ส่วนถนนสายเอเชีย ขึ้นเหนือ รถเคลื่อนตัวได้ช้า